ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาสติปัฏฐานสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 94:
ในเรื่องบรรพะไหนเหมาะกะสมถยานิก บรรพะไหนเหมาะกะวิปัสสนายานิกนี้ มีอย่างน้อย 3 นัยที่อาจารย์กรรมฐานจะต้องใช้ในการพิจารณาเลือกกรรมฐานให้ลูกศิษย์:
#'''นัยของมหาอรรถกถา''' ท่านมองว่าอารมณ์กรรมฐานในบรรพะไหนสามารถทำให้บรรลุโลกิยอัปปนาได้, บรรพะนั้นเหมาะกะสมถยานิก. นอกนั้นเหมาะกะวิปัสสนายานิก. อย่างไรก็ตาม มหาอรรถกถามองว่าอิริยาบถบรรพะและสัมปชัญญะบรรพะใช้ประกอบกับบรรพะอื่นๆ ไม่ใช่อารมณ์ที่ต้องท่องจำเพื่อนำมาใช้ทำวิปัสสนากรรมฐานโดยตรง เพราะอิริยาบถใหญ่น้อยเป็นอสัมมสนรูป (รูปที่ไม่เหมาะทำวิปัสสนา), แต่จัดว่าเหมาะกับวิปัสสนายานิกเพราะอสัมโมหสัมปชัญญะในสัมปชัญญบรรพะนั้นใช้ศัพท์ว่า ปชานาติ, ซึ่งเป็นศัพท์เดียวกับวิปัสสนาบรรพะส่วนใหญ่ มหาอรรถกถาจึงอธิบาย 2 บรรพะนี้ โดยใช้เนื้อหาในวิปัสสนาบรรพะอื่นมาทำ[[ฆนะ|ฆน]]วินิพโภคะ 2 บรรพะนี้เพื่อให้ได้นามรูปปรมัตถ์มาทำวิปัสสนา.
#'''นัยของพระมหาสิวเถระ''' ท่านมองสีวถิกบรรพะว่าเป็นอาทีนวานุปัสสนา จึงเหมาะกะวิปัสสนายานิก ส่วนมหาอรรถกถามองว่า สีวถิกาสามารถใช้ทำโลกิยอัปปนาได้ จึงเหมาะกับสมถยานิก ทั้งสองมติถูกต้องทั้งคู่ คือ มติของมหาอรรถกถา อาจารย์กรรมฐานจะใช้สำหรับเลือกบรรพะที่เหมาะสมกะลูกศิษย์ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า สามารถข้ามลำดับสูตรได้, ส่วนมติของพระมหาสิวะ จะใช้เมื่อลูกศิษย์มีปัญญินทรีย์อ่อนหัด ต้องปฏิบัติไล่ลำดับตั้งแต่อานาปานบรรพะมา ดังนั้น เมื่อปัญญินทรีย์อ่อนหัดเริ่มแก่กล้าจากการทำทิฏฐิวิสุทธิด้วยธาตุมนสิการในปฏิกูลมาแล้วใน 2 บรรพะก่อน ก็ให้นำขึ้นสู่อาทีนวานุปัสสนาด้วยนวสีวถิกาตามนัยยะของพระมหาสิวะ. อนึ่ง พระมหาสิวะกล่าวว่า อิริยาบถและสัมปชัญญบรรพะสามารถเอามาท่องจำเพื่อใช้ทำวิปัสสนาได้ โดยการแยกบัญญัติจากปรมัตถ์ ตรงนี้ท่านกล่าวตามอรรถกถาสัมปชัญญบรรพะ หัวข้ออสัมโมหสัมปชัญญะ จึงไม่ได้ขัดแย้งกับมหาอรรถกถา แต่เป็นการอธิบายให้เห็นภาพว่าที่มหาอรรถกถากล่าวไว้ว่า "2 บรพบรรพะนี้เหมาะสำหรับวิปัสสนายานิก"นั้น เป็นอย่างไรเท่านั้นเอง.
'''นัยของเนตติปกรณ์'''
#[[s:เนตติ นยสมุฏฐาน#สีหวิกีฬิตนัย|สีหวิกีฬิตนัย]] จะลำดับข้อปฏิบัติให้สอดคล้องกะอัธยาศัยของสีหะคือครูผู้สอน ในนยสมุฏฐานจึงแสดงองค์สภาวะธรรมข้อที่เท่ากันแม้ต่างหมวดไว้เท่ากัน.