ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เดวส์เอกส์มาคีนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับปรุงบางส่วน
บรรทัด 6:
 
==ต้นกำเนิดของสำนวน==
สำนวนละติน "เดวส์เอกส์มาคีนา" ประกอบด้วยคำว่า "เดวส์ (Deus)" หมายถึง "เทพเจ้า", "เอกส์ (ex)" หมายถึง "จาก" และ "มาคีนา (machina)" หมายถึง "เครื่องมือ, นั่งร้าน, กลไก" อันเป็น[[คำยืม]]จาก[[ภาษากรีก]] กลวิธีนี้ได้รับการกล่าวถึงโดย[[โฮเรซ]] (Horace) กวีชาวโรมัน ใน ''[[Ars Poetica]]'' (บรรทัดที่ 191–2) โดยโฮเรซได้แนะนำนักกวีว่าพวกเขาไม่ควรหันหา "เทพเจ้าจักรกล" ในการคลายปมเนื้อเรื่อง "นอกเสียแต่ว่าความยุ่งยากนั้นควรค่าแก่การช่วยเหลือจากเทพเจ้า" (''nec deus intersit, nisi dignus uindice nodus inciderit; nec quarta loqui persona laboret'').<ref>[http://www.poetryfoundation.org/learning/essay/237830?page=3 ''Ars Poetica'' by Horace]</ref> ในกรณีนี้ โฮเรซอ้างอิงถึงวิธีปฏิบัติใน[[ละครโศกนาฏกรรมกรีก]] (Greek tragedy)]] ที่ซึ่งนักแสดงที่ได้รับบทบาทเป็นเทพเจ้าจะถูกนำขึ้นเวทีด้วยเครื่องจักร ซึ่งเป็นกลไกที่สามารถยกนักแสดงขึ้นหรือลงผ่านประตูกลบนเวทีได้
 
==วิธีการใช้ในสมัยโบราณ==
กว่าครึ่งของ[[ละครโศกนาฏกรรม]]ของ[[ยูริพิเดส]] (Euripides) ใช้กลวิธีเดวส์เอกส์มาคีนาในการคลี่คลายปมปัญหา ซึ่งทำให้นักวิจารณ์หลายคนอ้างว่ายูริพิเดสเป็นผู้ให้กำเนิดกลวิธีนี้ขึ้น แม้ว่า[[เอสคิลัส]] (Aeschylus) นักเขียนโศกนาฏกรรมชาวกรีก จะใช้กลวิธีที่คล้ายกันในบทละคร "ยูเมนิเดส (Eumenides)"<ref>Rehm (1992, 72) and Walton (1984, 51).</ref> ตัวอย่างที่ได้รับการยกขึ้นมาบ่อยครั้งคือ เรื่อง''[[มีเดีย (play)|มีเดีย]]'' (Medea) ของยูริพิเดส ซึ่งเดวส์เอกส์มาคีนา ในรูปลักษณ์ของรถลากมังกรที่ถูกส่งมาโดยเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ถูกนำมาเป็นพาหนะในการพา[[มีเดีย]] ซึ่งเพิ่งก่อคดีฆาตกรรมและฆ่าทารก ให้ได้หนีจาก [[เจสัน]] สามีของเธอ สู่ที่ปลอดภัยใน [[เอเธนส์]] ในบทละครเรื่อง "[[อัลเคสติส (play)|อัลเคสติส]]" (Alcestis) อัลเคสติส ตัวเอกได้ตกลงที่จะสละชีวิตเพื่อช่วยชีวิตสามีของเธอ แอดมีตัส (Admetus) โดยในตอนท้ายของเรื่อง [[เฮราคลีส]] (Heracles) ได้ปรากฏตัวขึ้นและแย่งตัวเธอจาก[[แทนาทอส|ยมทูต]]ทำให้เธอรอดชีวิตและได้กลับไปอยู่กับแอดมีตัส
 
กลวิธีนี้ไม่รอดพ้นการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิจารณ์ในสมัยโบราณ โดยหนึ่งในคำวิจารณ์แรกๆแรก ๆ ที่ได้รับการบันทึกนั้นมาจากไดอะล็อกของ [[เพลโต]] (Plato) ''[[คราไทลัส (dialogue)|คราไทลัส]]'' (Cratylus) แม้ว่าจะอยู่ในบริบทของการถกเถียงที่ไม่ได้เกี่ยวกับการละคร
 
[[อาริสโตเติล]] ได้วิจารณ์กลวิธีนี้ไว้ใน ''[[โพเอติกส์]]'' (Poetics) โดยกล่าวว่าการคลี่คลายปมปัญหานั้นควรมาจากภายใน และสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นในละคร:<ref>Janko (1987, 20)</ref>
{{quote|ในตัวละครก็เช่นกัน เฉกเช่นเดียวกับโครงสร้างของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น [กวี] ควรมองหาถึงสิ่งที่จำเป็นหรือเป็นไปได้อยู่เสมอ เพื่อที่ว่าตัวละครดังกล่าวจะสามารถกระทำหรือพูดสิ่งใดที่จำเป็นหรือเป็นไปได้สำหรับตัวละครนั้นๆนั้น ๆ และด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้เหตุการณ์ที่จำเป็นหรือเป็นไปได้เกิดขึ้นหลังจากการกระทำดังกล่าว เห็นได้ชัดว่านี่เอง จึงเป็นสิ่งสมควรที่การคลี่ปมปัญหาเนื้อเรื่องจะเป็นผลจากเนื้อเรื่องในตัวมันเอง ไม่ได้มาจากสิ่งประดิษฐ์ อย่างใน "มีเดีย" และบทที่กล่าวถึงการล่องเรือกลับบ้านใน ''[[อีเลียด]]'' (IIiad) สิ่งประดิษฐ์ควรใช้ในบริบทนอกเนื้อเรื่องในละคร — เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ซึ่งอยู่นอกเหนือความรู้ของมนุษย์ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังที่ควรเล่า เพราะเรายอมรับในดวงตาที่เห็นในทุกสิ่งของเทพเจ้า ไม่ควรมีส่วนประกอบใดในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ดูเป็นไปไม่ได้ หากมี สิ่งนั้นก็ควรอยู่นอกเรื่องราวที่สำคัญ เช่น ในเรื่อง ''[[อิดิปุส]]'' (Oedipus) ของ [[ซอโฟคลีส]] (Sophocles) |(1454a33–1454b9)}}
 
อย่างไรก็ตาม อาริสโตเติลได้ชื่นชมยูริพิเดสในการจบเรื่องด้วยเหตุร้าย ซึ่งอาริสโตเติลมองว่าเป็นสิ่งที่ถูกควรในละครโศกนาฏกรรม และให้ข้อยกเว้นกับการแทรกแซงจากเทพเจ้า โดยกล่าวว่าควรมี "ความน่าประหลาดใจ" อยู่ในละครโศกนาฏกรรม:<ref>''Poetics'' 11.5, Penguin (1996, 45).</ref>
บรรทัด 28:
 
ในปลายศตวรรษที่ 19 [[ฟรีดริช นีทเชอ]] (Friedrich Nietzsche) ได้วิจารณ์ยูริพิเดสที่ทำให้โศกนาฏกรรมเป็นประเภทวรรณกรรมสุขนาฏกรรมผ่านการใช้กลวิธีนี้ นอกจากนี้ นีทเชอยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับ "ความรื่นเริงแบบชาวกรีก" ที่ทำให้เขามองละครประเภทดังกล่าวว่าเป็น "ความสุขยินดีในชีวิต"<ref>Nietzsche (2003, 85).</ref> สำหรับนีทเชอ เดวส์เอกส์มาคีนา เป็นอาการของวัฒนธรรมแบบ[[โสกราตีส]] (Socrates) ซึ่งให้คุณค่าความรู้เหนือสุนทรียดนตรี และเป็นสาเหตุของจุดจบและความเสื่อมถอยของละครโศกนาฏกรรม:<ref>Nietzsche (2003, 84–86).</ref>
{{quote|แต่ตอนนี้ จิตวิญญาณใหม่ที่ไร้สุนทรียะนั้นเห็นได้ชัดแจ้งที่สุดใน "ตอนจบ" ของละครใหม่ๆใหม่ ๆ ในตอนจบของโศกนาฏกรรมแบบเก่านั้นมีกลิ่นอายของความประนีประนอมเชิงอภิปรัชญาอยู่ ซึ่งหากปราศจากสิ่งนี้แล้วยากเหลือเกินที่จะจินตนาการว่า เราจะหาความยินดีจากโศกนาฏกรรมได้อย่างไร บางที น้ำเสียงผ่อนโยนนั้นอาจสะท้อนก้องจากอีกโลกหนึ่งอย่างพิสุทธิ์สูงสุดใน ''[[อีดิปุส แอท โคโลนัส]]'' (Oedipus at Colonus) ตอนนี้ เมื่อโศกนาฏกรรมขาดอัจฉริยภาพทางดนตรี โศกนาฏกรรมในความหมายของตัวมันเองได้ตายลงเสียแล้ว ก็ในเมื่อความประนีประนอมเชิงอภิปรัชญานั้นหายไปเสียแล้ว ดังนั้นทางออกสำหรับความไม่กลมกลืนในโศกนาฏกรรมนั้นต้องเกิดขึ้น ตัวเอก หลังจากได้รับความทรมานจากชะตากรรม ได้รับรางวัลที่คุ้มค่าจากการแต่งงานที่สมเกียรติ รวมไปถึงเครื่องแสดงเกียรติยศที่สมศักดิ์ศรี ตัวเอกได้กลายเป็นนักรบ ได้รับอิสรภาพหลังจากที่พานพบอุปสรรคนานัปการ การปลอบประโลมเชิงอภิปรัชญากลับถูกขับออกไปด้วยเดวส์เอกส์มาคีนา |ฟรีดริช นีทเชอ}}
 
นีทเชอได้กล่าวว่าเดวส์เอกส์มาคีนาทำให้เกิดการปลอบประโลมอย่างลวงๆลวง ๆ ซึ่งไม่ควรมีขึ้นในปรากฏการณ์นี้<ref>Nietzsche (2003, 80).</ref> คำครหาของเขาได้กลายเป็นข้อคิดเห็นกระแสหลักในหมู่นักวิจารณ์
 
คำวิจารณ์จากนักคิดแนวหันเหใหม่ (Revisionism) ในศตวรรษที่ 20 ได้ชี้ว่าเดวส์เอกส์มาคีนา ไม่สามารถได้รับการวิเคราะห์ได้ในคำจำกัดความที่ตื้นเขินได้ และโต้เถียงว่ากลวิธีนี้ทำให้มนุษย์สามารถ "ล้วงลึก" ถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้าได้<ref name="Rehm 1992, 71">Rehm (1992, 71).</ref> โดยเฉพาะรัช เรห์ม (Rush Rehm) ที่ได้ยกตัวอย่างละครโศกนาฏกรรมกรีกที่เดวส์เอกส์มาคีนา ได้เข้ามาทำให้ชีวิตและทัศนคติของตัวละครที่พบกับเทพเจ้ายุ่งยากยิ่งขึ้น ในขณะที่ยังสื่อเรื่องราวให้แก่ผู้ชม <ref name="Rehm 1992, 71" /> ทั้งนี้ ในบางกรณี ความไม่น่าเชื่อของเดวส์เอกส์มาคีนาถูกนำมาใช้อย่างจงใจ เช่น การหักมุมอย่างขบขันที่เกิดขึ้นในฉากหนึ่งของ ''[[มอนตี้ ไพธอนส ไลฟ์ ออฟ ไบรอัน]]' (Monty Python's Life of Brian)' เมื่อไบรอัน ตัวละครที่อาศัยอยู่ในจูเดีย ในคริสต์ศักราชที่ 33 ได้รับการช่วยชีวิตจากการตกลงจากที่สูงด้วยยานอวกาศของมนุษย์ต่างดาวที่ผ่านมา<ref>James Berardinelli, James. [http://www.reelviews.net/movies/l/life_brian.html "Review: Life of Brian"]. Reelviews Movie Reviews. 2003</ref>
 
===ตัวอย่างใหม่ ๆ===
ในนวนิยายคลาสสิก ''[[ลอร์ด ออฟ เดอะ ฟลายส์]]'' (Lord of the Flies) การกู้ภัยกลุ่มเด็กที่ติดเกาะด้วยนายทหารนาวีที่บังเอิญผ่านมา (ซึ่ง[[วิลเลียม โกลดิ้งลดิง]] (William Golding) ผู้เขียน ได้กล่าวว่าเป็น "กลสนุกเล็กๆเล็ก น้อยๆๆ น้อย ๆ") ถูกนักวิจารณ์บางกลุ่มมองว่าเป็นเดวส์เอกส์มาคีนา ตอนจบที่กระทันหันนั้นชี้เป็นนัยว่า หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ เด็กๆเด็ก ๆ จะต้องประสบกับชะตากรรมที่เลวร้าย (โดยเฉพาะราล์ฟ)<ref>{{cite book|title=William Golding's Lord of the Flies|editor-last=Bloom|editor-first=Harold|url=http://books.google.com/books?id=j1ZJcFqQ7V8C&pg=PA67&lpg=PA67&dq=Lord+of+the+Flies,+deus+ex+machina|pages=67–68|chapter=Grief, grief, grief: ''Lord of the Flies''|first=Lawrence S.|last=Friedman|publisher=Infobase Publishing|year=2008|accessdate=2013-12-31}}</ref>
 
นักเขียนการ์ตูน [[แมท แฟรคชั่น]] (Matt Fraction) ถูกวิจารณ์ว่าได้ใช้ที่พลังมหาศาล แต่ไม่เคยได้รับการระบุอย่างชัดเจนว่าคืออะไรของตัวละคร [[แฟรงคลิน ริชาร์ด]] (Franklin Richards) เป็นเดิส เอ็กาส์ มาคีนา ในการ์ตูนเรื่อง ''[[เฟียร์ อิทเซลฟ์ #5]]'' (Fear Itself #5) (2011).<ref>Evans, Alex. [http://weeklycomicbookreview.com/2011/08/12/fear-itself-5-review/ "Fear Itself #5 – Review"]. [[Weekly Comic Book Review]]. August 12, 2011</ref>
 
[[เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน]] (J. R. R. Tolkien) ได้ประดิษฐ์คำว่า ''[[ยูคาสทรอฟี]]'' (eucatastrophe) ซึ่งหมายถึงจุดหักเหของเหตุการณ์ที่ทำให้ตัวเอกไม่พบกับชะตากรรมที่เลวร้าย โทลคีนยังได้กล่าวถึง [[อินทรียักษ์]] (Great Eagles) ที่ปรากฏตัวทั้งใน ''[[ฮอบบิท]]'' (The Hobbit) และ ''[[อภินิหารแหวนครองพิภพ]]'' (The Lord of the Rings) ว่าเป็น "เครื่องจักรที่อันตราย"<ref>J. R. R. Tolkien, letter 210 as quoted [http://tolkiengateway.net/wiki/Eagles here]</ref> นักวิจารณ์บางสำนักได้กล่าวว่ายูคาสทรอฟี โดยเฉพาะในกรณีอินทรียักษ์ เป็นตัวอย่างของเดวส์เอกส์มาคีนา เช่น เมื่ออินทรียักษ์ได้ช่วยชีวิตโฟรโดและแซมจากเมาท์ดูมในตอนสุดท้ายของ ''[[มหาสงครามชิงพิภพ]]'' (The Return of the King)<ref>[http://books.google.de/books?id=xvGLsT_dP_YC&pg=PA179&dq=deus+ex+machina+return+of+the+king&hl=en&sa=X&ei=R9fCUuuwEcWTtAa7-4HIBg&redir_esc=y#v=onepage&q=deus%20ex%20machina%20return%20of%20the%20king&f=false ''Tolkien's Art: A Mythology for England'' by Jane Chance (2001), p. 179]</ref><ref>The Greenwood Encyclopedia of Science Fiction and Fantasy: Themes, Works, and Wonders, Volume 1, p. 195 [http://books.google.de/books?id=SQMQQyIaACYC&pg=PA195&dq=deus+ex+machina+eucatastrophe&hl=en&sa=X&ei=pzjEUrODIsiBtAaX2YCYAg&redir_esc=y#v=onepage&q=deus%20ex%20machina%20eucatastrophe&f=false]</ref> ในขณะที่นักวิจารณ์สำนักอื่นโต้ว่าสองแนวคิดนี้ไม่เหมือนกัน โดยยูคาสทรอฟีนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อความสะดวกสบาย แต่เนเป็นส่วนหนึ่งของโลกในนวนิยาย ที่ซึ่งความหวังจะชนะทุกสิ่งในตอนท้าย<ref>{{cite book|title=Encyclopedia of Religion and Film|editor-first=Eric Michael|editor-last=Mazur|page=175|chapter=Eucatastrophe|first=Jeffrey|last=Mallinson|publisher=ABC-CLIO|year=2011|url=http://books.google.de/books?id=JPNfox6H5qwC&pg=PA175&dq=deus+ex+machina+eucatastrophe&hl=en|accessdate=2014-01-01}}</ref>
 
[[เอ็กเซล ซาก้า]] (Excel Saga) ซีรีส์อนิเมะและมังงะญี่ปุ่น ใช้เดวส์เอกส์มาคีนาเป็นกลวิธีเพื่อความขบขัน ด้วยการใช้ตัวละคร นาเบะชิน<ref>[http://myanimelist.net/character/2795/Nabeshin MyAnimeList Character Database: Nabeshin]</ref> หรือชินอิจิ วาตานาเบะ ผู้กำกับอนิเมะ ซึ่งได้รับบทเป็นตัวร้ายในเรื่อง รวมไปถึงเดอะ เกรท วิล ออฟ เดอะ มาโครคอสซึม (The Great Will of the Macrocosm) ซึ่งเป็นสิ่งที่มีรูปร่างเหมือนหลุมดำที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงเวลาและสถานที่ได้ตามความต้องการของเนื้อเรื่อง