ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ahcuna (คุย | ส่วนร่วม)
Ahcuna (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 32:
'''พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร''' เป็นพระที่นั่งองค์ใหม่ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของ[[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]] ใน[[เขตพระราชฐานชั้นใน]] สร้างขึ้นในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] มีลักษณะเป็นพระที่นั่ง ๒ องค์สร้างซ้อนกัน คือ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร และ[[พระที่นั่งเทวารัณยสถาน]]
 
== ประวัติ ==
พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ในพระบรมมหาราชวัง เป็นพระที่นั่งองค์ใหม่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในเขตพระราชฐานชั้นใน สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีลักษณะเป็นพระที่นั่งสององค์สร้างซ้อนกัน คือ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร และพระที่นั่งเทวารัณยสถาน อันเป็นรูปแบบหนึ่งของพระที่นั่งหรือที่เสด็จออกมหาสมาคม ซึ่งตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา นิยมสร้างพระที่นั่งเป็นหมู่แบ่งตามห้องที่ใช้ประโยชน์ และพระราชทานนามแต่ละห้องว่าพระที่นั่งเหมือนกัน โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานกระแสพระราชดำริประกอบการออกแบบก่อสร้างสรุปได้ว่า ควรจัดให้มีห้องสำหรับพระราชทานเลี้ยง เพื่อเป็นเกียรติแก่ประมุขของนานาประเทศที่เขามาเยี่ยมประเทศไทย บางครั้งจำเป็นต้องเชิญพระราชวงศ์ องคมนตรี คณะรัฐบาล ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน คณะทูตานุทูต และบรรดาผู้เกี่ยวข้องโดยทั่วถึง ซึ่งจะต้องให้สามารถจัดเลี้ยงได้ระหว่าง 200-250 คน
 
เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2537 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2549 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ประมาณ 2,600 ล้านบาท โดย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]] (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้น) เสด็จแทนพระองค์ใน พระราชพิธีสมโภชพระที่นั่ง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2549 และงานแรกที่จัดขึ้นในพระที่นั่งองค์นี้ คือ งานพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ แด่สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีต่างประเทศ พร้อมทั้งบุคคลสำคัญ เนื่องใน[[งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี]] เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2549
 
=== การก่อสร้าง ===
พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ถูกก่อสร้างแทนองค์เดิมที่ชำรุด ซึ่งแต่เดิมเป็นพระที่นั่งสำหรับ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นหลัง[[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]] เป็นหมู่พระที่นั่ง โดยประกอบด้วย พระที่นั่งต่างๆ ดังนี้
# [[พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์]] เป็นพระที่นั่งที่สร้างต่อเนื่องกับท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ด้านตะวันออก ใช้เป็นห้องสำหรับพระราชทานเลี้ยง
# [[พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ]] เป็นพระที่นั่งที่สร้างต่อเนื่องกับท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ด้านตะวันออก เดิมใช้เป็นที่เสด็จออกขุนนาง และประชุมร่วมกับคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และเป็นสถานที่ทรงประกาศพระบรมราชโองการการเลิกทาส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้สร้างพระที่นั่งนี้ ตรงบริเวณที่เป็นพระตำหนักชั้นเดียวที่ทรงเสด็จพระราชสมภพ
# [[พระที่นั่งดำรงสวัสดิ์อนัญวงศ์]] เป็นพระที่นั่งที่สร้างต่อเนื่องกับพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ ด้านตะวันตก ใช้เป็นห้องเครื่องลายคราม มีชื่อเรียกขานว่า "ห้องผักกาด"
# [[พระที่นั่งนิพัทธพงศ์ถาวรวิจิตร]] เป็นพระที่นั่งที่สร้างต่อเนื่องกับพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ ด้านตะวันออกเป็นห้องพระภูษา
# [[พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร]] เป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ และพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ บางครั้งใช้เป็นสถานที่รับรองแขก
# [[พระที่นั่งอมรพิมานมณี]] เป็นพระวิมานที่บรรทมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อจากพระเฉลียงด้านหลังพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
# [[พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์]] เป็นห้องประทับสมเด็จพระอัครมเหสี อยู่ด้านตะวันออกของพระที่นั่งอมรพิมานมณี
# [[พระที่นั่งบรรณาคมสรนี]] เป็นห้องทรงพระอักษร อยู่ด้านตะวันตกของพระที่นั่งอมรพิมานมณี
# [[พระที่นั่งปรีดีราชวโรทัย]] เป็นห้องพักผ่อนพระราชอิริยาบถ ต่อจากพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
# [[พระที่นั่งเทพดนัยนันทยากร]] เป็นห้องสมเด็จพระราชโอรสและสมเด็จพระราชธิดา ทางด้านเหนือของพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
 
== สถาปัตยกรรม ==