ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎ข้อหาและการประหาร: เอาลิงก์ภายนอกที่แทรกออก
บรรทัด 73:
เป็นที่น่าสังเกตว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้เร่งรัดให้มีการประหารชีวิต แม้ว่าการสอบสวนจะยังไม่เสร็จสิ้นลง <ref>โรงถลุงแร่ทองคำเมืองปราจีน สมัยรัชกาลที่ 5.(2559). โพลส์ทูเดย์. http://www.posttoday.com/local/scoop/432071</ref> ทั้งคณะผู้ตัดสินไม่ยอมให้พระปรีขากลการประกันตัวออกมาสู้คดี รวมทั้งไม่ให้เบิกความพยานฝ่ายจำเลย ความขัดแย้งระหว่างตระกูลบุนนาคและอมาตยกุลที่มีมาแต่ก่อน จึงอาจเป็นสาเหตุที่แท้จริงของเหตุการณ์ครั้งนี้ <ref>มติชน. (2560). ''ค้นพบใหม่ จดหมายลับ ‘กงสุลอังกฤษ’ ไขปริศนาคดีอื้อฉาว สมัย ร.5.'' ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2560 จาก https://www.matichon.co.th/news/473638 </ref> สำหรับความขัดแย้งระหว่าง 2 ตระกูล มี 4 ประเด็นหลัก คือ
# '''ความขัดแย้งในการทักท้วงการซ่อมแซมวัดพระเชตุพน''' เมื่อครั้ง[[พระยากระสาปนกิจโกศล_(โหมด_อมาตยกุล)|พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล)]] ผู้เป็นบิดา เริ่มรับราชการในสมัยรัชกาลที่ 3 ด้วยความที่ท่านมีความสนใจในด้านวิชาช่าง ค่อนข้างเป็นคนหัวก้าวหน้า และมีนิสัยตรงไปตรงมา ท่านได้ทักท้วงการซ่อมแซมอุโบสถวันพระวัดพระเชตพน ซึ่งอยู่ในความดูแลของพระยาศรีพิพัฒน์โกษาธิบดี (ทัศ บุนนาค) ว่า การดำเนินการดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องและอาจพังถล่มลงมาได้ แต่พระยาศรีพิพัฒน์โกษาธิบดี (ทัศ บุนนาค) นั้นไม่เชื่อ การก่อสร้างจึงดำเนินต่อไป จนในที่สุดกำแพงได้ถล่มทับคนงานที่ก่อสร้างอยู่ในขณะนั้น รัชกาลที่ 3 ได้ยกย่องพระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) ว่า เป็นผู้มีความสามารถมากกว่าผู้ใหญ่บางคน จึงทำให้ตระกูลบุนนาคเสียหน้า และเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งระหว่างตระกูลบุนนาคและอมาตยกุล
# '''ประเด็นทางการเมือง''' ด้วยการเมืองในขณะนั้นแบ่งออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ ฝ่าย 1 คือ วังหลวงหรือ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ 5]] ฝ่าย 1 คือ วังหน้า กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ และฝ่าย 1 คือ สมเด็จเจ้าพระยาฯ โดยในขณะนั้นรัชกาลที่ 5 เพิ่งเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติและยังทรงพระเยาว์ อำนาจทางการเมืองจึงอยู่ในมือของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในฐานะผู้สำเร็จราชการ ในขณะนั้น วังหลวงมีเพียงพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการรุ่นหนุ่ม ที่มีหัวคิดทันสมัย ซึ่งทรงโปรดใช้สอย โดยหนึ่งในจำนวนนั้นมีพระปรีชากลการรวมอยู่ด้วย เมื่อแต่ละฝ่ายต่างก็พยายามชิงอำนาจซึ่งกันและกัน จึงทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมือง [[โทมัส_ยอร์ช_น็อกซ์|มร. น็อกซ์]]ได้บันทึกไว้อย่างน่าสนใจว่า " เห็นว่าความเรื่องพระปรีชานี้ ได้ชำระโดยเร่งร้อน เห็นบางคนจะมีในเกาวเมนไทย นี่ยังไม่ทันเห็นความผิดของพระปรีขาแม้แต่น้อย .." <ref>มติชน. (2560). ''ค้นพบใหม่ จดหมายลับ ‘กงสุลอังกฤษ’ ไขปริศนาคดีอื้อฉาว สมัย ร.5.'' ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2560 จาก https://www.matichon.co.th/news/473638</ref>
# '''การพิจารณาคดีพระยาอาหารบริรักษ์(นุช)''' ซึ่งเป็นญาติสนิทของสมเด็จเจ้าพระยาฯ โดยคดีนี้ พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) และพระยาเจริญราชไมตรี และหลวงพิจารณ์จักรกิจหรือในเวลาต่อมาคือพระยาเพชรพิชัย น้องชายของพระปรีชากลการ ทั้ง 3 ท่านซึ่งเป็นคนในตระกูลอมาตยกุลได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นตุลาการชำระคดีความการทุจริต จนในที่สุดก็ได้ตัดสินโทษพระยาอาหารบริรักษ์(นุช) ซึ่งประกอบด้วย ประหารชีวิต เฆี่ยน และริบราชบาทว์ ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้ทำให้ความขัดแย้งระหว่างตระกูลทวีความรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยอิทธิพลของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ที่มีสูงมากในเวลานั้น ทำให้โทษประหารของพระยาอาหารบริรักษ์(นุช) เหลือจำคุกตลอดชีวิต