ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดมหาธาตุ (อำเภอเมืองยโสธร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 45:
* [[พระธาตุอานนท์]]
หรือพระธาตุยโสธร ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถ เป็นพระธาตุเก่าแก่ที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน ร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1218 ผู้ก่อสร้างคือ เจตตานุวิน และ จินดาชานุ ชาวเวียงจันทน์ กับ เอียงเวธา ชาวขอม เมื่อสร้างเสร็จจึงอัญเชิญพระอัฐิของ พระอานนท์ มาบรรจุไว้ ซึ่งพระอัฐิของพระอานนท์ที่นำมาบรรจุใน พระธาตุอานนท์ นั้น ถูกบรรจุไว้ในผอบ ชั้นนอกเป็นหีบเงิน 3 ชั้น ชั้นถัดไปเป็นหีบทอง 7 ชั้น ถัดจากนั้นเป็นหีบแก้วไพฑูรย์ 2 ชั้น (รวมเป็นหีบ 12 ชั้น) แล้วมีผ้ากะจ๋าคำ(ผ้าลายทอง) ห่อไว้อีก 500 ชั้น ถัดเข้าไปเป็นผ้าสีขาวอ่อนนุ่มเหมือนสำลีห่อพระอัฐิธาตุอยู่ โดยมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการสร้าง พระธาตุอานนท์ ต่อ ๆ กันมาว่า เจตตานุวิน และ จินดาชานุ ชาวเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน หลังจากออกบวชทำความเพียรได้ 3 ปี 25 วัน ทั้งคู่ก็เห็นว่าชาวเมืองเวียงจันทน์ต่างนับถือ พากันไปกราบไหว้ ดอนปู่บาว จึงคิดนำของศักดิ์สิทธิ์มาไว้ที่ ดอนปู่บาว เพื่อความเป็นสิริมงคลยิ่ง ๆ ขึ้น ดังนั้น จึงออกธุดงค์โดยใช้เวลาประมาณ 2 ปี 10 เดือน 11 วัน เดินทางมาถึงเมืองเทวทหะ แคว้นโกลิยะ ปกครองโดย ท้าวพระยา ซึ่งขณะนั้นชาวเมืองกำลังก่อสร้างเจดีย์องค์หนึ่งอยู่ ครั้นก่อสร้างเสร็จ ท้าวพระยา จึงเข้าไปอัญเชิญพระอัฐิธาตุ ซึ่งต้องไขประตูเข้าไป 3 ชั้น จึงจะพบหีบพระอัฐิธาตุ เจตตานุวิน และ จินดาชานุ จึงสอบถามชาวเมืองได้จนได้ความว่าเป็นพระอัฐิธาตุของ พระอานนท์ พระเถระคนสำคัญของพระพุทธเจ้า ซึ่งเล่ากันว่า พระอานนท์ นิพพานบนอากาศกลางแม่น้ำโรหิณี (กั้นระหว่าง กรุงกบิลพัสดุ์ กับ กรุงเทวทหะ) พระองค์ได้อธิษฐานร่างกายให้แตกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งตกลงทางกรุงกบิลพัสดุ์ ส่วนที่สองตกลงทางกรุงเทวทหะ เจตตานุวิน ได้ฟังดังนั้นจึงจัดเครื่องสักการะบูชา แล้วอธิษฐานจิตขอเห็นอภินิหาร ซึ่งก็บังเกิดมีลมพัดห่อผ้าอัฐิธาตุ (ห่อผ้ากะจ๋าคำ) ลอยขึ้นสู่อากาศเป็นอัศจรรย์ เจตตานุวิน จึงอธิษฐานจิตให้ห่อผ้าพระอัฐิธาตุลอยลงมา ห่อผ้าก็ลอยลงมาเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก ต่อมา เจตตานุวิน และ จินดาชานุ จึงอ้อนวอนขอแบ่งพระอัฐิธาตุจาก ท้าวพระยา อยู่หลายวัน จน ท้าวพระยา ใจอ่อนยอมแบ่งผงธุลีประมาณเต็ มเปลือกไข่นกกระเรียน กับอัฐิธาตุ 1 องค์ ประมาณเท่าดอกสังวาลย์ (คล้ายดอกลีลาวดี) ให้ เจตตานุวิน และ จินดาชานุ จึงเดินทางกลับเมืองเวียงจันทน์ และเตรียมจัดสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระอัฐิธาตุที่ ดอนปู่ปาว แต่ชาวเมืองเวียงจันทน์ไม่ยินยอม ด้วยหาว่าผิดผีบ้านผีเมือง ทั้งยังขับไล่ออกจากเมือง เจตตานุวิน และ จินดาชานุ จึงหนีมาอยู่กับเจ้าเมืองขอม ชื่อว่า เอียงเวธา ครั้นผ่านไป 3 ปี จึงชักชวนให้ เอียงเวธา เป็นผู้นำสร้างเจดีย์ ซึ่ง เอียงเวธา ได้เลือกสถานที่สร้างเจดีย์ที่ ดงผีสิง (จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน) ป่าทึบขนาดใหญ่ ไกลจากบ้านคนประมาณ 1.2 กิโลเมตร ใช้เวลาสร้างเจดีย์ 8 เดือน 25 วัน จึงแล้วเสร็จ สำหรับลักษณะของพระธาตุอานนท์ เจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยมหรือทรงพรหมสี่หน้า ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 81 เมตร ก่ออิฐถือปูนเอวฐานคอดเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ มีซุ้ม 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ยอดธาตุมียอดปลีเล็กแซมทั้ง 4 ด้าน ยอดกลางทรงสี่เหลี่ยมสอบ มี 2 ชั้น รูปแบบการก่อสร้างคล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อยฐาน ทุก ๆ ปีในช่วงเดือนมีนาคมทางวัดจะจัดให้มีงานสมโภชพระธาตุอานนท์ขึ้นเป็นประจำ โดยจัดในวันขึ้น 13 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ เดือน 3 ตามฮีตคลองของชาวอีสาน คือเดือนมีนาคม ในคืนแรกจะจัดพิธีสมโภชองค์ พระธาตุอานนท์ ผู้ที่มาร่วมงานแต่งกายด้วยชุดขาว ทำพิธีตลอดคืน ส่วนในคืนที่สองและคืนที่สามมีมหรสพรื่นเริงสมโภชตลอดคืน
 
* พระพุทธวรนาถมหาธาตุยโสธร พระประธานในพระอุโบสถ
 
* กู่เจ้านครบรรจุอัฐิของเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช
[[ไฟล์:กู่เจ้าฝ่ายหน้า.jpg|thumb|กู่เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) เจ้าผู้ครองนครจำปาสัก พระองค์ที่ 3]]
เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช มีพระนามเดิมว่า เจ้าฝ่ายหน้า หรือ เจ้าหน้า (ตามเอกสารของราชการไทย) สมภพเมื่อปี พ.ศ. 2269 ที่นครเวียงจันทน์ เป็นพระโอรสของเจ้าพระวรราชปิตา ([[เจ้าพระตา]]) แห่งนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ([[หนองบัวลำภู]]) กับพระนางบุศดี ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก[[เจ้าปางคำ]]แห่ง[[เมืองเชียงรุ้ง]] และเป็นพระอนุชาของ[[พระประทุมวรราชสุริยวงศ์]] (เจ้าคำผง) เจ้าผู้ครองเมือง[[อุบลราชธานี]]องค์แรก
เส้น 59 ⟶ 61:
 
ต่อมาในปีเดียวกันนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านู หลานพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เจ้านครจำปาศักดิ์องค์ก่อน เป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์สืบต่อไป จึงทำให้เจ้าราชวงศ์เมืองโขง (เจ้าคำสิงห์) เจ้าฝ่ายบุต และไพร่พลส่วนหนึ่งไม่เป็นที่พอใจที่จะทำราชการกับเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์องค์ใหม่ จึงได้พาญาติวงศ์ และไพร่พลอพยพมาอยู่ที่บ้านสิงท่าดังเดิม พร้อมนำอัฐิเจ้าพระวิไชยวรราชสุริยวงศ์ขัตติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) ก่อขึ้นเป็นเจดีย์ข้างองค์พระธาตุอานนท์ที่วัดมหาธาตุ และนำอัฐิมาบรรจุไว้ เพราะเกรงว่าเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์องค์ใหม่ จะไม่เคารพอัฐิพระองค์
 
* หอไตร
สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2373 โดยพระครูหลักคำ (กุ) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ รูปที่ 3 ตัวอาคารหอไตรสร้างด้วยไม้ตั้งอยู่กลางสระน้ำทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุอานนท์ เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลาน พร้อมพระไตรปิฏก และตำราต่างๆ ซึ่งพระครูหลักคำ (กุ) เป็นผู้นำมาจากนครเวียงจันทน์ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะแบบหอไตรภาคอีสานทั่วไป มีทางเดินโดยรอบติดกันใต้ชายคา บริเวณนี้เป็นที่เก็บรักษาตู้พระธรรม หีบพระธรรม เสลี่ยงชั้นวางคัมภีร์ซึ่งนำมาจากเวียงจันทน์ ซุ้มประตูและบานประตูไม้สลักลวดลายเครือเถาลงรักปิดทองอย่างสวยงาม การตกแต่งฝาผนังมีลวดลาย ซึ่งเป็นลักษณะผสมแบบภาคกลางสันนิษฐานว่า หอไตรน่าจะสร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 4-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
 
== โบราณคดี ==
[[กรมศิลปากร]]ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดมหาธาตุ ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 27 กรกฎาคม 2491 และกำหนดเขตที่ดินในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 มิถุนายน 2524 เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา เฉพาะหอไตรได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดในปี พ.ศ. 2551 ผู้ใดบุกรุกทำลายโบราณสถานมีความผิดตามกฎหมาย<ref>http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historic-site/hs-ya-sothon/watmahatad</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==