ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยุสมัครเล่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
HS2JFW (คุย | ส่วนร่วม)
HS2JFW (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 13:
"กิจการวิทยุสมัครเล่น" ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างแท้จริงเมื่อ วันที่ [[4 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2530]] จากการประกาศใช้ระเบียบคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 นับได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้มีการติดต่อสื่อสารแบบ "[[นักวิทยุสมัครเล่น]]" อย่างแท้จริงขึ้นในประเทศไทย
 
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง "สัญญาณเรียกขานนักวิทยุอาสาสมัคร" เป็น "สัญญาณเรียกขานนักวิทยุสัมคเล่น" จาก VR ... เป็น HS ... ให้เป็นไปตามสากลกำหนด ซึ่ง ITU กำหนดให้ประเทศไทยใช้ " HS " โดยมีนายศรศิลป์ คล่องแคล่ว {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ซึ่งขณะนั้นก็ได้เป็นนักวิทยุอาสาสมัคร เป็นผู้ออกแบบ วางแผนในการจัดสรรระบบสัญญาณเรียกขานให้แก่นักวิทยุอาสาสมัครในสมัยนั้น ประมาณ 3 พันกว่าคน {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} กระจายอยู่ทั่วประเทศ พร้อมได้แบ่งเขตสถานีควบคุมข่ายทั่วประเทศเป็น 10 โซน และกำหนดสัญญาณเรียกขานให้สถานีควบคุมข่ายแต่ละโซน เป็น HS1 ... / HS2 ... / HS3 ... / HS4 ... / HS5 ... / HS6 ... / HS7 ... / HS8 ... / HS9 ... เช่น นายศรศิลป์ฯ เดิมใช้สัญญาณเรียกขาน VR728 ต่อมาได้เทียบสัญญาณเรียกขานให้เป็นสากลตามลำดับเลขรหัส VR เป็น HS1YI อ่านว่า "โฮเตล เชียร์ล่า วัน วาย ไอ หรือ โฮเตล เชียร์ล่า วัน แยงกี้ อินเดีย) ซึ่งสากลจะเป็นสัญญาณเรียกขานที่ใช้ได้ตลอดอายุของใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น ไม่ใช้ติดตัวจนตาย (นิจนิรันดร์) ในบางประเทศกำหนดให้ใช้สัญญาณเรียกขานได้ตลอดชีวิตเนื่องจากใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นมีอายุตลอดชีวิต หากเสียชีวิตไปแล้ว สัญญาณเรียกขานอาจจะนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น สหราชอาณาจักร <ref>https://www.ofcom.org.uk/__data/assets/pdf_file/0026/82637/amateur_radio_licence_guidance_for_licensees.pdf</ref> และในบางกรณีจะสงวนไว้ให้เป็นเกีรยติประวัติแก่คนที่มีส่วนในการiพัฒนาในกิจการวิทยุสมัครเล่นสืบไป โอกาสต่อมาได้มีส่วนร่วมคัดสรรและเป็นคนลงทะเบียนสัญญาณเรียกนักวิทยุสมัครเล่น HS1A ถวายแด่ VR009 ต่อผู้บริหาร อันประกอบด้วยนายมนัส ทรงแสง หัวหน้าฝ่ายช่าง นายไกรสร พรสุธี ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารความถี่วิทยุ และอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ตามลำดับ เพื่อถวายเป็นพระเกีรยติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และได้มีการออกใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น เป็นครั้งแรกในปี 2531 ตั้งแต่มีการตรา พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 โดยมีนายศรศิลป์ คล่องแคล่ว เป็นผู้ออกแบบใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ซึ่งกำหนดให้มีขนาดเล็กเท่ากับบัตร ATM และมีรหัสลับแต่ใช้วัสดุเป็นกระดาษ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเวลา ซึ่งต้องสนองนโยบายแบบเร่งรัด และไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ เสนอขอความเห็นชอบผ่านนายไกสร พรสุธี ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารความถี่วิทยุ (ตำแหน่งราชการก่อนเกษียณ ปลัดกระทรวงคมนาคม และปลัดกระทรวง ICT รองเลขาธิการ APT) เสนออธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข จนได้รับการอนุมัติ และใช้ต่อสืบมาถึงปัจจุบัน และมีการพัฒนาเป็นบัตรสมาร์ทการ์ด
 
== การเป็นนักวิทยุสมัครเล่นของประเทศไทย ==