ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดยโสธร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 52:
ใน พ.ศ. 2354 เจ้าพระวิไชยวรราชสุริยวงศ์ขัตติยราชได้ถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านู หลานพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เจ้านครจำปาศักดิ์องค์ก่อน เป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์สืบต่อไป จึงทำให้เจ้าราชวงศ์เมืองโขง (เจ้าคำสิงห์) ไม่เป็นที่พอใจที่จะทำราชการกับเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์องค์ใหม่ จึงได้พาครอบครัว และไพร่พลอพยพมาอยู่ที่บ้านสิงท่าดังเดิม พร้อมนำอัฐิเจ้าพระวิไชยวรราชสุริยวงศ์ขัตติยราชมาก่อเจดีย์บรรจุไว้ข้างองค์พระธาตุอานนท์ที่วัดมหาธาตุ เพราะเกรงว่าเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์องค์ใหม่ จะไม่เคารพอัฐิเจ้าพระวิไชยวรราชสุริยวงศ์ขัตติยราช และได้ปรับปรุงพัฒนาบ้านสิงห์ท่าให้ใหญ่โตรุ่งเรืองขึ้นเป็นอันมาก
 
ต่อมาใน พ.ศ. 2357 เจ้าราชวงศ์คำสิงห์ได้มีใบกราบบังคมทูลขอยกบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมืองนามว่า ''' เมืองยศสุนทร''' มีฐานะเป็นเมืองประเทศราชขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ให้เจ้าราชวงศ์คำสิงห์เป็นที่'''[[พระสุนทรราชวงศา (เจ้าคำสิงห์)]]''' เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรคนแรก (พ.ศ. 2357-2366) ให้เจ้าสีชาเป็นเจ้าอุปราช ให้เจ้าบุตร (บุตรเจ้าคำสิงห์) เป็นเจ้าราชวงศ์ ให้เจ้าเสน (บุตรเจ้าพระวอ)เป็นเจ้าราชบุตร พระราชทานเครื่องประกอบยศเจ้าผู้ครองเมืองดังนี้ พานหมากเงินถมทองปากจำหลัก
ลายกลีบบัว เครื่องในทองคำ กระโถนเงินถมทอง ลูกประคำทองคำ 1 สาย สัปทนปัศตู 1 คัน กระบี่บั้งทองคำ 1 เล่ม เสื้อทรงประหาส หมวกตุ้มปี่ ปืนชนวนทองแดงเลี่ยมเงิน 1 กระบอก และอื่นๆ ตามสมควร และให้อาณาเขตเมืองยศสุนทรทิศเหนือจรดภูสีฐานด่านเมยยอดยังยถึงยอดยัง ทิศใต้จรดห้วยก้ากว้าก ทิศตะวันออกถึงบ้านคำพระมะแงลำน้ำเซ ทิศตะวันตกจรดห้วยไส้ไก่วังเจ็ก ทิศตะวันตกเฉียงเหนือจรดห้วยตาแหลว ให้เมืองยศสุนทรส่งส่วยบำรุงราชการของหลวงคือ น้ำรักสองเลขต่อเบี้ย ป่านสองเลขต่อขวด และพระสุนทรราชวงศา (เจ้าคำสิงห์) ได้ให้ไพร่พลก่อสร้างฉางข้าว สร้างที่ว่าการเมือง สร้างท้องพระโรง (โฮงคำ) และปกครองเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขตลอดสมัย จนถึงแก่พิลาลัย ในปี พ.ศ. 2366 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอุปราชสีชาขึ้นเป็นที่พระสุนทรราชวงศา (เจ้าสีชา) เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร คนที่ 2 แต่ท่านครองเมืองได้เพียง 3 เดือนก็ถึงแก่พิลาลัย
 
ในระหว่าง พ.ศ. 2369 เกิดสงครามเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์กับกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ เป็นแม่ทัพที่ 1 ยกทัพขึ้นไปปราบเจ้าอนุวงศ์ ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกกองทัพหน้ามาตั้งที่เมืองยศสุนทร เจ้าฝ่ายบุตพร้อมกับเจ้าสุวอธรรมา (บุญมา) (ต่อมาได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นพระปทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคายคนแรก) และเจ้าเคน บุตรชายของเจ้าสุวอธรรมา (บุญมา) ได้นำกองกำลังเมืองยศสุนทรเข้าร่วมกองทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดียกทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ที่นครเวียงจันทน์ได้สำเร็จ พระยาราชสุภาวดีจึงกราบบังคมทูลความดีความชอบของเจ้าฝ่ายบุต และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าฝ่ายบุตเป็นที่'''พระสุนทรราชวงศา มหาขัตติยชาติ ประเทศราชวงศ์เวียง ดำรงรักษ์ภักดียศฦๅไกร ศรีพิไชยสงคราม''' หรือ [[พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต)]] เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร คนที่ 3 (พ.ศ. 2366-2400) พร้อมพระราชทานพระพุทธรูปสำคัญคือ [[พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์]] หรือ พระแก้วหยดน้ำค้าง อันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองยโสธรในปัจจุบัน , พระราชทานเชลยศึกจากนครเวียงจันทน์ จำนวน 500 ครอบครัว และพระราชทานปืนใหญ่ไว้สำหรับเมืองยศสุนทร 1 กระบอก อันมีชื่อว่า "ปืนนางป้อง" ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ที่ศาลหลักเมืองยโสธรมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อเจ้าฝ่ายบุตได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองแล้ว ได้ให้ไพร่พลนำหินศิลาจากบ้านแก้งหินโงม มาสร้างพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานที่มณฑปวัดป่าอัมพวัน สร้างวัดขึ้นที่ท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำชี เรียกว่า '''วัดท่าแขก''' (หรือ'''[[วัดศรีธรรมาราม]]'''ในปัจจุบัน) และสร้างวัดขึ้นที่กลางเมือง เรียกว่า '''วัดกลางศรีไตรภูมิ''' ไว้เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสืบมา