ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดยโสธร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 58:
พ.ศ. 2400 พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) ได้ถึงแก่พิราลัย ยังแต่พระศรีวรราช (เจ้าเหม็น) บุตรพระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) แลกรมการช่วยกันดูแลราชการบ้านเมืองอยู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีวรราช (เจ้าเหม็น) บุตรพระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) เป็นที่พระสุนทรราชวงศา มหาขัตติยชาติ ประเทศราชดำรงศักดิยศฤาไกร ศรีพิไชยสงคราม เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร คนที่ 4 (พ.ศ. 2400-2418) พระราชทานเครื่องยศประกอบเจ้าผู้ครองเมืองดังนี้ พานหมากเงินกลมถมทอง เครื่องในทองคำยวง คณโฑทองคำ กระโถนเงินถม ประคำทองคำ 1 สาย กระบี่บั้งทองคำ สัปทน ปัศตู เสื้อกำมะหยี่ หมวกตุ้มปี่ ปืนชนวนทองแดง ต้นเหลี่ยมเงิน เสื้อเข้มขาบริ้วดี เสื้อแพรจีนจาว แพรสีทับทิมติดขลิบ ส่านไทยปักทอง ผ้าลายเกี้ยว ผ้าปูมเขมร ผ้าขาวหงินไก่ และผ้าขาวโล่
 
พ.ศ. 2416 พระสุนทรราชวงศา (เจ้าเหม็น) พระศรีรราชสุพรหม ผู้เป็นบุตร พร้อมด้วยญาติวงศ์ แลไพร่พลได้พร้อมกันปฏิสังขรณ์วัดท่าแขกที่สร้างขึ้นในสมัยเจ้าฝ่ายบุต แล้วนิมนต์พระเกตุโล (เกตุ) จาก[[วัดโสมนัสราชวรวิหาร]] กรุงเทพฯ มาเป็นเจ้าอาวาส พร้อมตั้งวงศ์ธรรมยุติกนิกายในเมืองยศสุนทรเป็นครั้งแรก และให้ชื่อวัดใหม่ว่า "วัดศรีธรรมารามหายโศรก" ([[วัดศรีธรรมาราม]]) พระเกตุโล (เกตุ) ยังเป็นพระภิกษุที่ได้รับการอุปสมบทเป็นพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ จึงเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนับว่าวัดศรีธรรมารามหายโศรกเป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกของเมืองยศสุนทร ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เขียนและเรียกชื่อเมืองยศสุนทร ว่า '''ยศโสธร''' หรือหากเรียกเพียงสั้นๆ ก็จะเป็นเมืองยศๆ และได้แปรเปลี่ยนมาเป็น '''ยโสธร'''
 
=== สมัยปฏิรูปประเทศ ===