ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพุทธบุษยรัตน์จักรพรรดิพิมลมณีมัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 25:
จากนั้นในปี [[พ.ศ. 2093]] [[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]]จึงอัญเชิญพระแก้วขาว และ[[พระแก้วมรกต]]จากเมืองเชียงใหม่ ไปประดิษฐานที่[[เมืองหลวงพระบาง]] และเมื่อย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางไปตั้งที่[[เวียงจันทน์]]ในปี [[พ.ศ. 2107]] นั้น ไม่ปรากฏว่าได้อัญเชิญพระแก้วขาวไปพร้อมกับพระแก้วมรกตด้วย สันนิษฐานว่าคงเคลื่อนย้ายไปซ่อนไว้ ณ ถ้ำเขาส้มป่อย ดังความในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานว่า{{คำพูด|ลุ[[จุลศักราช]] 1086<ref>([[พ.ศ. 2267]])</ref> [[ปีมะโรง]] ฉศก มีพรานป่าคนหนึ่งนำความแจ้งต่อแสนท้าวพระยาว่า เห็นพรานทึงพรานเทือง ข่าบ้านส้มป่อย นายอน (คือที่เปนเมืองสพาดเดี๋ยวนี้) ได้พระแก้วผลึกมาเข้าใจว่าเปนรูปมนุษย์น้อย นายพรานเอาเชือกผูกพระสอให้บุตรลากเล่นจนพระกรรณบิ่นไปข้างหนึ่ง ครั้นความทราบถึง[[เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร|เจ้าสร้อยศรีสมุท]] จึงให้แสนท้าวพระยาไปเชิญรับพระแก้วผลึกแห่มาประดิษฐานไว้ ณ [[เมืองจำปาศักดิ์]] มีการสมโภช 3 วัน แล้วให้พวกที่มาส่งพระแก้วนั้นตั้งอยู่บ้านขามเนิง เรียกว่า ข่าข้าพระแก้วมาจนบัดนี้ แลตั้งให้พรานทึง พรานเทือง เปนนายบ้าน ควบคุมพวกข่าบ้านส้มป่อย นายอนให้เปนส่วยขี้ผึ้งผ้าขาว ถวายพระแก้วต่อมา จนส่งพระแก้วลงมากรุงเทพฯ<ref>[http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin225&date=24-03-2007&group=2&gblog=48 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔ เรื่องพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ] ของ[[หม่อมอมรวงศ์วิจิตร]] (ม.ร.ว. ปฐม คเนจร)</ref>|}}
 
รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รัชกาลที่ 2 แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] โปรดให้ข้าหลวงไปปลงศพ[[เจ้าพระวิไชยราขขัตติยวงศาวิไชยราชขัตติยวงศา]] (เจ้าหน้า - เป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ลำดับที่ 3) ที่เมืองนครจำปาศักดิ์ ในปี [[พ.ศ. 2354]] ข้าหลวงได้เห็นพระแก้วผลึกสีขาว จึงมีใบบอกให้นำความกราบบังคมทูลถวายพระแก้วผลึก โดยตั้งขบวนแห่ตั้งแต่[[เมืองสระบุรี]] และมีการสมโภชตามหัวเมืองรายทางตลอดมาจนถึง[[กรุงเทพฯ]]
 
เมื่อเสร็จงานสมโภชที่กรุงเทพฯ แล้ว โปรดให้ประชุมช่างจัดหาเนื้อแก้วผลึกเหมือนองค์พระ เพื่อเจียระไนแก้วติดปลายพระกรรณขวาที่แตกชำรุดให้สมบูรณ์ และขัดชำระองค์พระให้เป็นเงางามเสมอกัน กับพระราชทานพระราชดำริ ให้ช่างปั้นฐานต่อองค์พระตามที่พอพระราชหฤทัย แล้วหล่อด้วยทองสำริดแต่งให้เกลี้ยงหุ้มด้วยทองคำ ส่วนยอดพระรัศมีรับสั่งให้ช่างแผ่ทองคำหุ้มส่วนพระเศียร ดุนเป็นเม็ดพระศกต้องตามแบบแผนของพระพุทธรูป ต่อกับพระรัศมีลงยาราชาวดีประดับเพชร ใจกลางหน้าหลังและกลีบต้นพระรัศมี แต่เมื่อถวายสวมเครื่องทองส่วนยอดพระรัศมีแล้ว สีพระพักตร์ไม่ผ่องใสเหมือนสีองค์พระ จึงแก้ไขด้วยการเอาเนื้อเงินไล่ขาวบริสุทธิ์แผ่หุ้มก่อนชั้นหนึ่ง ขัดเงินให้เกลี้ยงเป็นเงางามแล้วจึงสวมพระศกทองคำบนแผ่นเงิน ทำให้พระพักตร์ใสสะอาดขาวนวลเสมอกับพระองค์ แล้วรับสั่งให้ทำพระสุวรรณกรัณฑ์น้อย สอดในช่องบนพระจุฬาธาตุเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ และนำทองคำลงราชาวดีขาวดำผังแนบพระเนตรให้งดงาม ทำฉัตรทองคำ 5 ชั้น ชั้นต้นเท่าส่วนพระอังสาลงยาราชาวดีประดับพลอย มีใบโพธิ์แก้วห้อยเป็นเครื่องประดับ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในหอพระเจ้า ([[หอพระสุราลัยพิมาน]]) ด้านตะวันออกของ[[พระที่นั่งไพศาลทักษิณ]]