เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
ลบภาพ "ลัญจกรประจำเจ้านครน่าน.jpg", ซึ่งถูกลบที่คอมมอนส์โดย Polarlys เพราะ Copyright violation, see c:Commons:Licensing
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{หุ่นเชิด|Saranphat chaiphet|บล็อก}}"
ป้ายระบุ: ถูกแทน
บรรทัด 1:
{{หุ่นเชิด|Saranphat chaiphet|บล็อก}}
เราก้อไปเซาะหาข้อมูลเน้อ
(not ส่อง แต้นิ 55 ) เปิ้นจะขึ้นธาตุท่าล้อ บ้านท่าล้อวันพรุ่งนี้ ในบรรดาพระธาตุทั้งมวลในเมืองน่านนี้พระธาตุวัดท่าล้อ นี้มีลักษณะเหมือนกับ พระธาตุเจ้าดอยภูเพียงแช่แห้งที่สุด ซึ่งการสร้างครอบพระธาตุแช่แห้งครั้งสุดท้ายนี้น่าจะอยู่ในสมัย(ตามลำดับดังนี้เน้อครับ)ท้าวอ้ายยวมได้สร้างเสริมก่อหุ้มธาตุที่ท้าวขาก่านสร้างไว้นั้นในปี พศ.2028 กว้าง 10 วา สูง 17 วา ความสูงปัจุบันของพระธาตุแช่แห้งประมาณ 55 'เมตร ในสมัยของเจ้าพระยาหน่อคำเสถียรไชยสงครามบัลลังค์มหาธาตุเจ้าหลังหลวงที่ท้าวอ้ายยวมสร้างนั้นพังลงแล้วซ่อมในปี พศ 2123 หลังจากนั้น เจ้าศรีสองเมืองเจ้าพระยาพลศึกซ้ายไชยสงคราม ได้ริดมหาเจดีย์เจ้าหลังหลวงลงราวปี พศ 2154 ยังเหลือแหมน้อยจะถึงเจดีย์ที่ท้าวขาก่านสร้างครอบไว้นั้น ราวจุลศักราช 973 ตัวเดือน 6 ลง 8ค่ำ สร้างเสริมเจดีย์ขึ้นสูง 23วา เมืองน่านเกิดศึกกับล้านช้าง ประกอบกับ พม่าตีเชียงใหม่แตกกวาดต้อนชาวเชียงใหม่ไปไว้ที่ หงสาวดี ท้าวพญาเมืองเชียงใหม่ มาไหว้สาทูลเชิญเอา เจ้าศรีสองเมือง เจ้าพระยาพลศึกซ้ายไชยสงครามไปเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ล้านนา คิดว่า ล้านนาน่าจะเป็นอิสระอยู่ช่วงหนึ่ง หลังจากเจ้าศรีสองเมืองไปเป็นกษัตริย์ที่เชียงใหม่แล้ว ตั้งเจ้าอุ่นเมืองขึ้นเป็น เจ้าเมืองน่าน ทั้งพระธาตุเจ้าแช่แห้งและท่าล้อน่าจะมีรูปแบบ นี้มาตั้งแต่สมัยเจ้าศรีสองเมือง ซึ่งขึ้นเป็นกษัตริย์ของล้านนาทั้งหมด ถ้าจะกล่าวแล้วเป็นเจดีย์ที่สร้างโดยกษัตริย์โดยแท้ ซึ่งมักมีรูปแบบและเอกลักษณ์ เฉพาะ ในรัชกาลนั้นๆ ดูอ่อนหวานกว่าแบบพระธาตุหนิภุญไชย หลังจากนั้นพระเจ้าศรีสองเมืองฟื้นม่าน(พม่า) สู้ไม่ได้ เจ้าฟ้าสุทโธธรรมราชา จับตัวไปไว้ที่เมืองหงสาวดี ในปี พศ 2174 ส่วนตนน้องเจ้าอุ่นเมือง ยกทัพจาก การรบกับพม่า ตั้งแต่ปี พศ 2166 แพ้ หนีไปล้านช้างแล้วยกทัพกลับมาตีเมืองน่านคืนในปี 2167 เจ้าฟ้าสุทโธยกมาตีซ้ำอีกรอบ ก่อนจะหนีไปล้านช้าง ในปี 2172 พระธาตุแช่แห้งชำรุดแตกร้าว พระยาหลวงเมืองนคร ซ่อมแซมพร้อมกันกับพระหลวงวัดกู่คำ (น่าจะเป็นพระเจ้าองค์หลวง วัดกู่คำน่าจะพังทลายไปแล้ว ไม่น่าเป็นชื่อบุคคล)
 
==จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด สุโขทัย ๑๙๓๕==
จารึกปู่สบถ น่าน ๑๙๓๕
 
จารึกทั้ง ๒ ถือเป็นหลักฐานแสดงความเป็นพันธมิตรต่อกันระหว่างสุโขทัย และน่าน
คือพระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสยลิไทย) ผู้มีศักดิ์เป็นหลาน กระทำสัตย์สาบานเป็นไมตรีกับพญาคำตันแห่งเมืองน่าน ผู้มีศักดิ์เป็นปู่
 
จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด มีเนื้อความโดยสังเขปดังนี้
ด้านที่ ๑ ตอนต้นของจารึกที่มีการอัญเชิญเทพยดาอารักษ์ ที่อาศัยอยู่ในน้ำ ในถ้ำต่าง และดวงพระวิญญาณของกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ของทั้งสองราชวงศ์ ดังนี้
 
“...(อารัก)ษ์ทั้งหลายอันมีในน้ำในถ้ำ(ว)งศาหนพระยาผู้ปู่ ปู่พระยา...ปู่เริง ปู่มุง ปู่พอง ปู่ฟ้าฟื้น... (ผ)กอง ปู่พระยาคำฟู...(พระ)ยาผากองเท่านี้ด้ำพงศ์กาว” พระนามดังกล่าวนี้เป็นกษัตริย์เมืองน่าน และที่ระบุว่าด้ำพงศ์กาวนั้นอาจตั้งข้อสันนิษฐานว่าเชื้อสายของเมืองน่านเป็น “กาว” โดยพิจารณาจากคำว่า “ด้ำ” ที่หมายถึงผีบรรพบุรุษ
 
เนื้อความต่อจากนั้นมีการเชิญดวงพระวิญญาณกษัตริย์ฝ่ายราชวงศ์สุโขทัย ดังนี้
 
“(ฝู)งผู้หวาน ปู่ขุนจิตขุนจอด ปู่พระยาศ...(รีอินทราทิ)ตย์ ปู่พระยาบานเมือง ปู่พระยารามราช ปู่ไสส...(ส)งคราม ปู่พระยาเลอไทย ปู่พระยางัวนำถม ปู่...(พระ)ยามหาธรรมราชา พ่องำเมือง พ่อเลอไทย แ...(ลไท)ยผู้ดีผีชาวเลืองเท่านี้แล”
 
เนื้อความต่อจากนี้เป็นการเชิญเทพยาอารักษ์มาเป็นพยาน เช่น เสื้อใหญ่ประจำเขาภูคา เขาผาดาน ผีประจำแม่น้ำป่าสัก (แม่พระศักดิ์) ปู่เจ้าพระขพุง เป็นต้น ให้มา “แต่งตาดูสองปู่หลานรักกัน” แต่หากผู้ใดไม่ซื่อขอให้เทพยาอารักษ์เหล่านี้หักคอ อย่าให้ได้เป็นกษัตริย์จนถึงแก่เฒ่า ขอให้ตายในเร็ววัน ให้ได้รับบาปเทียบเท่ากับบาปแห่งการตัดคอพระสงฆ์ตกนรกอบายภูมิ อย่าได้หวังจะได้พบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์สักครั้ง แต่หากผู้ใดซื่อตรงต่อคำสัตย์ขอให้สำเร็จความประสงค์ทุกประการ ทั้งในชาตินี้ชาติหน้าตราบถึงพระนิพพาน
 
ด้านที่ ๒ มีการอ้างถึงพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธ พระสถูป แลพระมหาธาตุในลังกามีเป็นพยาน รวมถึงอ้างถึงเทพมเหศวร พระศิวะ พระยุธิษถิร พระภีมะ พระอรชุน พระพิรุณ เทพยดานพเคราะห์ เทพจตุโลกบาล พรหม ๑๖ ชั้น อรูปพรหม ๔ ชั้น เทพประจำสวรรค์ทั้ง ๗ ชั้น ทวีปทั้ง ๔ เป็นต้น มาเป็นพยาน
ด้านที่ ๓ มีเนื้อความว่า หากข้าคนช้างม้าวัวควายอันเป็นสมบัติของเมืองใด พลัดหลงไปยังอีกเมืองหนึ่ง ให้ส่งคืนไปยังเมืองนั้นๆ หากข้าราชการ พลเมืองเมืองหนึ่งไปลักข้าวของยังอีกเมืองหนึ่งมิได้ซื่อตรงยำเกรงแก่กษัตริย์ทั้ง ๒ เมือง หากข้าราชการไม่พิจารณากำหนดโทษตามความผิด ก็ให้ข้าราชการผู้นั้นรวมถึงผู้กระทำผิดตกนรกอยู่ร่วมกับพระเทวทัตตราบเท่าพุทธันตริกกัลป์
 
ส่วนจารึกปู่สบถ ข้อความตอนต้น บรรทัดที่ ๑ – ๓ ชำรุด พออ่านได้ใจความว่า ...หากมีการทำให้เสียพระราชไมตรี หรือมีความทุกข์ร้อนในเมืองสุโขทัยแล้วปู่ (พระยาคำตัน) ไม่ช่วยดูแลเหมือนที่ดูแลเมืองน่าน... จะทำให้ความสัมพันธ์แตกร้าว หากทำผิดคำสัตย์ก็ขอให้อย่าได้รู้จักซึ่งไศพาคมน์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในภายหน้า ถ้า “เจ้าพระยา” (พระมหาธรรมราชา ไสยลิไทย) ไม่ซื่อสัตย์ต่อปู่ (พระยาคำตัน) ด้วยใจจริง โทษแห่งคำสาบานนี้อย่าได้เกิดแก่ปู่สักอัน
 
เนื้อความต่อมากล่าวว่ากูผู้ชื่อพระยาฦๅไทย (พระมหาธรรมราชา ไสยลิไทย) กระทำไมตรีแก่ปู่พระยาตราบเข้าโมกษนิพพาน หากปู่พระยารักด้วยใจจริง พระมหาธรรมราชา (ไสยลิไทย) ก็จะรักตอบโดยไม่มีจิตคิดร้าย หากเมืองสุโขทัยมีอันตรายก็ขอให้ท่านช่วยเหลือด้วยกำลังพล หรือไม่มีอันตรายก็ดีหากปูพระยาจะรับรู้ได้ด้วยญาณใดๆ ก็ดี ก็ขอให้มอบสิ่งของต่างให้ตามแต่เราจะต้องการมากหรือน้อย
ขอให้พระยาคำตันดูแลเมืองสุโขทัยเหมือนกับที่ดูแลเมืองน่าน หากปู่พระยาเป็นดังว่านี้แล้ว พระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสยลิไทย) จะถือพระยาคำตันเหมือน “มหาธรรมราชาท่าน” คือ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ผู้เป็นปู่ หากมีความทุกข์ร้อนหรืออันตรายในเมืองน่าน ก็จะช่วยเหลือด้วยกำลังพล และสติปัญญา หากใครไม่ซื่อก็ขอให้รับพิบากกรรมในจตุราบาย เสมอด้วยบาปอันฆ่าพระสงฆ์
 
(คำอธิบาย - จารึกสุโขทัย ฉบับภาษาไทย - เขมร. สมาคมวัฒนธรรมไทย - กัมพูชา, ๒๕๕๑)
 
=="พระพุทธรูปแบบน่าน " ==
"นครน่าน"มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกในพงศาวดารว่า นันทบุรี เมืองน่านในอดีตเป็นนครรัฐเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำสาขาในหุบเขาทางตะวันออกของภาคเหนือ
ประวัติศาสตร์เมืองน่านเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของพญาภูคาและนางพญาจำปาผู้เป็นชายา ซึ่งทั้งสองเป็นชาวเมืองเงินยาง ได้เป็นแกนนำพาผู้คนอพยพมาตั้งศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองล่าง ต่อมาเพี้ยนเป็นเมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่างบริเวณตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว เลยไปถึงลำน้ำบั่ว ใกล้ทิวเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว บ้านทุ่งฆ้อง บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอยชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน และกำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ เห็นชัดเจนที่สุดคือบริเวณข้างพระธาตุจอมพริกบ้านเสี้ยวมีกำแพงเมืองปรากฏอยู่ซึ่งเป็นปราการทิศใต้ และป้อมปราการทิศเหนือ ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คนไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว
ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่างและมอบให้ชายาคือนางพญาแม่ท้าวคำปินดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่นั้น พญางำเมืองเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปินพร้อมด้วยบุตรในครรภ์ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนางรับใช้พญางำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็นเจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราด ภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865-1894 รวม 30 ปีจึงพิราลัย
ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัวได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมืองมาบูชา ณ เมืองปัว ด้วยพญาการเมืองได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาลจึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัวลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือพญาผากองขึ้นครองแทน อยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1911
ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. 1950-1960 ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้างพระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
นอกจากนี้ยังปรากฎ "นครน่าน" ในหลักฐานจารึกพ่อขุนรามคำแหงระบุว่า น่านอยู่ในฐานะประเทศราชของสุโขทัย มีไมตรีจิตที่ดีต่อกัน นอกจากนี้พระราชโอรสของ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ได้เสกสมรมกับธิดาของพระยาคำตัน เจ้าผู้ครองนครน่าน ความสัมพันธ์จึงแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ให้ความช่วยเหลือกันและกันมาโดยตลอด
สมัยล้านนา
ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์นครเชียงใหม่ มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่านและแหล่งเกลือบ่อมาง (เขตตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือปัจจุบัน) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพเข้ายึดเมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าวไม่อาจต้านทานได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา
ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปีที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของอาณาจักรล้านนา ได้ค่อยๆ ซึมซับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนามาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัยอย่างชัดเจน เช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล (มวลสารจากวัดสวนตาลใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2103-2328 เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้างไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2247-2249 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2321-2344
จากประวัติศาสตร์ ที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่านครน่านในอดีตมีความ สัมพันธ์กับทั้งกรุงสุโขทัยและอาณาจักรล้านนา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ศิลปะ ต่างๆไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมหรือพระพุทธรูปที่นครน่านจะมีลักษณะรูปแบบใกล้เคียงกับสุโขทัย รวมทั้งแบบล้านนาด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของการเข้ามีอิธิพลเหนือนครน่านในช่วงเวลาดังกล่าว
# ในส่วนของพระพุทธแบบน่าน จะขอกล่าวในตอนต่อไป#
ขอขอบคุณ ข้อมูลสืบค้านจาก วิกิพีเดีย หอวัฒนธรรมจังหวัดน่าน คุณเฉลิมพล อนุภาพบรรเจิด สจ.เมืองน่าน ,หนึ่งเชียงราย, นาตยาแอนติค พ่อลูกสามครับ และอีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ่ยนามที่ให้ความอนุเคราะห์ให้คำปรึกษาเรื่องข้อมูลและภาพประกอบ
* เนื้อหาข้อมูลหากตกหล่นหรือผิดพลาดประการใดผู้เขียนต้องขออภัยมาณที่นี้ด้วยยินดีน้อมรับทุกความคิดเห็นเพื่อนำมาปรับปรุง ขอบคุณครับ*
รูปจากfb วัดวา
 
==กาว ชนชาติที่สาบสูญ==
.
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ปรากฏข้อความความว่า "ทังมา กาว ลาว และไทยเมืองใต้หล้าฟ้าฏ..ไทยชาวอูชาวของมาออก" พื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด เรียกเมืองปัวว่า "เมืองกาว" หรือ "เมืองกาวเทศ" และกล่าวว่าเป็นคนไทกลุ่มหนึ่งความว่า "เมื่อนั้นชาวกาวไทยทั้งหลาย" และ "เมื่อตติยสักกราช 727 ตัว ปีกัดใค้ สนำกุญชรชาวกาวไทยเรียกร้องกันมาแปลงโรงหลวง" ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกกษัตริย์น่านว่า "พระญากาวน่าน" และเรียกประชาชนชาวน่านว่า "กาวน่าน" สอดคล้องกับศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 45 พ.ศ.1935 เรียกผีบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่า "ด้ำพงศ์กาว" ยืนยันถึงบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่าเป็นชาวกาว ในจารึกวัดบูรพาราม อ้างถึงปี พ.ศ.1939 กษัตริย์สุโขทัยได้ขยายอาณาเขตไปยังเมืองกาว ดังความว่า "ท่านได้ปราบต์ ทั้งปกกาว" หมายถึงรัฐกาว ด้าน 2 เป็นภาษาบาลี เรียกปกกาวว่า "กาวรฏฺฐํ" และกล่าวต่อว่าตั้งอยู่ทางทิศอุดรของสุโขทัย
.
ประวัติศาสตร์เมืองน่านเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 พญาภูคาและนางพญาจำปาชายาได้พาผู้คนอพยพจากนครเงินยางมาตั้งอยู่ที่เมืองย่าง (คือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่าง ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว เลยไปถึงลำน้ำบั่ว ใกล้ทิวเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว บ้านทุ่งฆ้อง บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) ปรากฏร่องรอยชุมชนเป็นคูน้ำ คันดิน และกำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ เห็นชัดเจนที่สุดคือบริเวณข้างพระธาตุจอมพริก บ้านเสี้ยว มีกำแพงเมืองเป็นปราการทิศใต้ปรากฏอยู่ และป้อมปราการทิศเหนือเป็นสันกำแพงดินบนยอดดอยม่อนหลวง บ้านลอมกลาง กำแพงเมืองซ้อนถึง 3 ชั้น แต่ละชั้นกว้าง 3 เมตร สูง 5 เมตร ขนานไปกับยอดดอยม่อนหลวง พื้นเมืองน่านเล่าต่อว่าพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คนไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว
.
เมื่อขุนฟองพิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรได้ขึ้นครองเมืองปัวสืบแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น ไม่มีราชบุตร ประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่าง จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนจึงมอบให้ชายาคือนางพญาแม่ท้าวคำปินปกครองเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาพิราลัย พญางำเมืองเจ้าพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่ท้าวคำปินพร้อมด้วยบุตรในครรภ์ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนางรับใช้พญางำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็นเจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราด ภายหลังมีกำลังมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้กู้เอกราชจนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865 - 1894 รวม 30 ปีจึงพิราลัย
.
ในรัชสมัยของพญากรานเมือง โอรสของพญาผานอง เมืองปัวได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญากรานเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญากรานเมืองมาบูชา ณ เมืองปัว พญากรานเมืองได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาลจึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง บรรจุพระธาตุและพระพิมพ์ไว้ พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัวลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง หลังจากพญากรานเมืองถึงแก่พิราลัย พญาผากองโอรสขึ้นครองราชย์แทน ต่อมา ปี พ.ศ. 1911 เกิดความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน
.
เมืองแพร่และเมืองน่านถูกผนวกรวมเข้ากับอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพญาลิไท และเคยยกทัพมาช่วยสุโขทัยรบกับพระนครศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1919 และมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับกษัตริย์สุโขทัย ดังที่ปรากฏในพงศาวดารน่านว่าเมื่อเกิดปัญหาแย่งชิงอำนาจภายในเมือง ฝ่ายแพ้จะหนีลงมาพึ่งพระยาเชลียง เจ้าเมืองสุโขทัย เช่น เมื่อเจ้าศรีจันทะ ถูกพระยาเมืองแพร่ฆ่าตายเมื่อ พ.ศ. 1939 เจ้าหุงผู้เป็นอนุชามาขอกองทัพพระยาเชลียงไปยึดเมืองคืนได้ใน พ.ศ. 1941 ต่อมาใน พ.ศ. 1945 เจ้าอินต๊ะแก่นถูกน้องชายชิงเมือง ก็หนีไปพึงเจ้าเมืองสุโขทัยยกทหารมายึดเมืองคืน
.
ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. 1950 - 1960 ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้างพระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
.
ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์นครเชียงใหม่ประสงค์จะครอบครองแหล่งเกลือบ่อมาง (เขตตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือปัจจุบัน) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากในแหล่งอื่น จึงได้จัดกองทัพเข้ายึดเมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าวต้านทานไม่ได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา คำว่า “กาว” จึงหายไป
.
ประเสริฐ ณ นคร กล่าวไว้ใน ชนชาติในประวัติศาสตร์เบ็ดเตร็ด ว่า … นอกจากจะมีชาวกาวในจังหวัดแพร่และน่านแล้วอาจจะมีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศลาวด้วย เพราะเมืองน่านมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหลวงพระบางมาตั้งแต่ครั้งพระเจ้าฟ้างุ้ม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เคยมีหัวเมืองลาวกาว ประกอบด้วยเมืองสำคัญ 7 เมืองคือ อุบลราชธานี นครจำปาศักดิ์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เมื่อเปลี่ยนการปกครองหัวเมืองเป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาล หัวเมืองลาวกาวจึงเป็นมณฑลลาวกาว ซึ่งตั้งกองบัญชาการมณฑล ณ เมืองอุบลราชธานี โดยมีกรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวกาวคนแรก และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อ พ.ศ. 2442 และเป็นมณฑลอีสานเมื่อ พ.ศ. 2443 … ซึ่งยังต้องหาจุดเชื่อมโยงกันต่อไป
 
ที่มา : เรื่องเล่าชาวล้านนา
https://www.facebook.com/1880368592287798/posts/2236102973381023/
 
==จดหมายเหตุแห่งชาติ==
 
สำนัก. เอกสารเรื่องเมืองภูคาและคนครัวเมืองภูคา (7 ก.ค. 111 - 28 ม.ค. 114). เลขเรียก มร.5ม/64. รหัสเอกสาร ม.58/174
ชาติพันธ์ หัวเมืองล้านนา
เรื่อง เมืองภูคาและคนครัวเมืองภูคา (7 ก.ค. 111-28 ม.ค. 114)
ที่ว่าการข้าหลวงนครน่าน
14 ธ.ค. 114
พระพรหมสุรินทร์ข้าหลวงรักษาราชการน่าน กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
ด้วยเมื่อวันที่ 23 พ.ย. ร.ศ. 114 ข้าพระพุทธเจ้าได้ขึ้นไปถึงเมืองเงินพร้อมด้วย ....กงสุลฝรั่งเศส นายหนานสุทธิสารผู้รักษาราชการและพระยาท้าวเสนากรมการเมืองเงินมาแจ้งความแก่ข้าพเจ้าว่า ราษฎรที่เป็นครัวเชื้อสายเมืองหลวงภูคา ซึ่งอยู่ ณ เมืองเงิน บันดาไม่สมักขึ้นไปอยู่เมืองหลวงภูคา... คนในเมืองเงินนี้บริบูรณ์ด้วยทรัพย์สิน มีโดยมากเปนธรรมดาของคนลื้อ มีความเพียรประกอบการหาผลประโยชน์ แลทางผลประโยชน์ที่คนเหล่านี้มีอยู่เปนอยู่นั้น คือ คนผู้ชายไปเที่ยวสืบหาช้างทางลาวพุงขาว มาขายให้แก่ลาวเฉียงแลพม่าเงี้ยวที่ทำการป่าไม้กับรับซื้อเกลือที่เมืองบ่อแลหมากที่เมืองย่างเมืองบัว ไปขายให้ลาวพุงขาวและขมุ ฝ่ายหญิงก็รับซื้อฝ่ายจากขมุมาทอเปนเป็นผ้าต่างๆ แลกเปลี่ยนซื้อขายกับเมืองใกล้เคียง เปนการได้ผลประโยชน์สดวกดี แต่ที่นามีน้อยกันดาร ราษฎรต้องซื้อข้าวไร่จากขมุ...
 
จดหมายเหตุแห่งชาติ, สำนัก.เอกสารเรื่องจัดการปกครองเมืองน่านและบริเวณเมืองขึ้นเมืองน่าน (2 มิ.ย. 119-4 ส.ค. 125). เลขเรียก มร.5ม/64. รหัสเอกสาร ม.58/158
ชาติพันธ์ หัวเมืองล้านนา
จัดการปกครองเมืองน่านและบริเวณเมืองขึ้นเมืองน่าน (2 มิ.ย. 119-4 ส.ค. 125) รับวันที่ 19 พ.ค. ร.ศ. 121 สำเนาที่ 3005
ที่ 2/58 ที่ว่าการสนามนครน่าน
แผนกปกครอง วันที่ 17 เม.ย. ร.ศ. 121
 
ข้าพระพุทธเจ้าพระยาบรมบาทบำรุงข้าหลวงนครน่าน บอกมายังออกพันทนายเวร ขอให้นำขึ้นกราบบังคมทูล พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
 
ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระราชทานทูลลาขึ้นไปตรวจจัดปกครองตามหัวเมืองในเขตต์แขวง นครเมืองน่าน...
 
3. ไพร่บ้านพลเมืองในเขตต์แขวงนครเมืองน่านมีหลายชาติหลายภาษาแต่เป็นคนเดิมตั้งบ้านเรือนอยู่ไหล่ของฟากตะวันออกโดยมาก แต่คนจำพวกนี้ได้เข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่กินในเขตต์แขวงนครเมืองน่านหลายชั่วอายุคนแล้ว คือ หมู่ลื้อ เมืองเชียงแขง เมืองเลน ได้เข้ามาครั้งพระยาน่านโสมะนะ ในระหว่างปี 1172-1186 หนีร้อนมาพึ่งเย็นเพราะในเวลานั้นบ้านเมืองเชียงแขง เมืองเลน เป็นเมืองส่วยของพม่าและฮ่อ ราษฎรต้องเสียส่วยทั้งสองฝ่ายได้รับความเดือดร้อนมาก... กับหมู่ล้อเมืองล่า เมืองหลวงโพคาเมืองหลวงน้ำพา ได้เข้ามาคราวเดียวกัน เพราะในเวลานั้นเมืองเหล่านี้มีศึกกับเมืองเชียงรุ้ง... ครั้นสู้กองทัพเมืองเชียงรุ้งไม่ได้จึงพากันอพยพครอบครัวหนีตามมา...รวมคนในดินแดนนครน่านเป็นหมู่ลื้อใน 2 ส่วน ลาวเฉียงขมุป่าเถื่อน แลลาวพุงขาวบ้างอยู่ในหนึ่งส่วน
 
4. การหาเลี้ยงชีพย์ของคนเหล่านี้ มีการทำนาทำไร่และสวนยาสูบกับทำป่าเมี่ยงบ้าง มีการค้าขายบ้างเล็กน้อยแต่หมู่ลื้อเป็นคนขยันหมั่นในการหาเลี้ยงชีพย์ดีกว่าคนชาติลาวเฉียง
 
6. ... การบังคับบัญชาย่อมมีการลำบากอยู่เพราะคนในพื้นเมืองนี้มีหลายชาติหลายภาษา...มีทั้งประเพณีเดิมและการถือผี
 
==ประวัติศาสตร์น่าน==
[[ประวัติศาสตร์น่าน (พ.ศ. 1825 - 1993)]]
[[ประวัติศาสตร์น่าน (พ.ศ. 1993 - 2101)]]
[[ประวัติศาสตร์น่าน (พ.ศ. 2103 - 2328)]]
[[ประวัติศาสตร์น่าน (พ.ศ. 2331 - 2474)]]
 
==ฐานันดรศักดิ์เจ้านาย และพระญาติวงศ์นครเมืองน่าน==
[[นครเมืองน่าน|ฐานันดรศักดิ์เจ้านาย และพระญาติวงศ์]] [[นครเมืองน่าน]] หมายถึง อิสริยยศ และฐานันดรศักดิ์ของเจ้านายในนครเมืองน่าน หัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือ
 
{{ infobox
| image =
| title = [[นครเมืองน่าน|ฐานันดรศักดิ์เจ้านายนครเมืองน่าน]]|
| bodystyle = width: auto
| data1 =[[ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์|เจ้าหลวง]]<br>(เจ้าผู้ครองนครประเทศราช)<br>[[พระเจ้าประเทศราช]] : ศักดินา 15,000<br>'''[[พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช|พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชกุลเชฐมหันต์ฯ ชัยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี]]'''<br>[[เจ้าประเทศราช]] : ศักดินา 10,000<br>'''[[เจ้าอนันตวรฤทธิเดช|เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี]]'''<br>'''[[เจ้ามหาพรหมสุรธาดา|เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เอกโยนกมหานคราธิบดี]]'''<br>[[พระยาประเทศราช]] : ศักดินา 8,000<br>'''[[พระยาสุมนเทวราช]]'''<br>'''[[พระยามหายศ]]'''<br>'''[[พระยาอชิตวงษ์]]'''<br>'''[[พระยามหาวงษ์]]'''<hr />
| data2 = [[ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์|แม่เจ้า]]<br>(ภรรยาเจ้าผู้ครองนคร)<br>[[อัครราชเทวี]] :1 ตำแหน่ง<br>[[แม่เจ้าศรีโสภาอัครชายา|ราชเทวี]] : 2 ตำแหน่ง<br>[[ชายา , หม่อม]] : (ไม่มีจำกัดจำนวน)<hr />
| data3 = [[เจ้าอุปราช]] : ศักดินา 5,000<br>[[พระยาสุมนเทวราช|เจ้าพระยาอุปราช (เจ้าสมณะ)]]<br>[[พระยามหาวงษ์|เจ้าอุปราช (เจ้ามหาวงษ์)]]<br>[[เจ้าอุปราช (เจ้ามหาพรหม ณ น่าน)]]<br>[[พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช|เจ้าอุปราช (เจ้าสุริยะ ณ น่าน)]]<br>[[เจ้าอุปราช (เจ้าสิทธิสาร ณ น่าน)]]<br>[[เจ้ามหาพรหมสุรธาดา|เจ้าอุปราช (เจ้าน้อยมหาพรหม ณ น่าน)]]<hr />
| data4 = [[เจ้าราชวงษ์]] : ศักดินา 3,000<br>[[พระยามหายศ|เจ้าราชวงษ์ (เจ้ามหายศ)]]<br>[[พระยาอชิตวงษ์|เจ้าราชวงษ์ (เจ้าชิตวงษ์)]]<br>[[พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช|เจ้าราชวงษ์ (เจ้าสุริยะ ณ น่าน)]]<br>[[เจ้าราชวงษ์ (เจ้าสิทธิสาร ณ น่าน)]]<br>[[เจ้าราชวงษ์ (เจ้าน้อยรัตน ณ น่าน)]]<br>[[เจ้าราชวงษ์ (เจ้าสุทธิสาร ณ น่าน)]]<hr />
| data5 = [[เจ้าบุรีรัตน์]] : ศักดินา 2,400<br>[[เจ้าอนันตวรฤทธิเดช|เจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าอนันตยศ)]]<br>[[เจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยบรม ณ น่าน)]]<br>[[เจ้าบุรีรัตน (อำมาตย์ตรีเจ้าสุทธิสาร ณ น่าน)]]<br>[[เจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าขัติยศ ณ น่าน)]]<hr />
| data6 = [[เจ้าสุริยวงษ์]] : ศักดินา 2,400 <br>[[เจ้าสุริยวงษ์ (เจ้าสิทธิสาร ณ น่าน)]]<br>[[เจ้าสุริยวงษ์ (เจ้าอินทนนท์ ณ น่าน)]]<hr />
| data7 =[[เจ้าราชภาคินัย]] : ศักดินา 2,000 <br>[[เจ้าราชภาคินัย (เจ้าน้อยมหาวงษ์ ณ น่าน)]]<hr />
| data8 = [[เจ้าราชภาติกวงษ์]] : ศักดินา 2,000 <br>[[เจ้าราชภาติกวงษ์ (เจ้าจันทวงษ์ ณ น่าน)]] <hr />
| data9 =[[เจ้าราชสัมพันธวงศ์]] : ศักดินา 2,000<hr />
| data10 =[[เจ้าไชยสงคราม]] : ศักดินา 1,600<br>[[เจ้าไชยสงคราม (เจ้ามธุรศ พรหมวงศ์นันท์ )]]<hr />
| data11 =[[เจ้าอุตรการโกศล]] :ศักดินา 1,600<br>[[เจ้าอุตรการโกศล (เจ้ามหาไชย มหายศนันท์)]]<br>สืบเชื้อสายมาจาก[[พระยามหายศ|เจ้าหลวงมหายศ]] <hr />
| data12 =[[เจ้าราชดนัย]] : ศักดินา 1,600<br>[[เจ้าราชดนัย (ยอดฟ้า ณ น่าน)|เจ้าราชดนัย (เจ้ายอดฟ้า ณ น่าน)]]<hr />
| data13 =[[เจ้าราชบุตร]] : ศักดินา 1,600<br>[[เจ้าราชบุตร (เจ้าบุญรังษี ณ น่าน)]]<br>[[เจ้ามหาพรหมสุรธาดา|เจ้าราชบุตร (เจ้าน้อยมหาพรหม ณ น่าน)]]<br>[[เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน)|เจ้าราชบุตร (เจ้าหมอกฟ้า ณ น่าน)]]<hr />
| data14 = [[เจ้าประพันธ์พงศ์]]: ศักดินา 1,200<br>[[เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน)|เจ้าประพันธ์พงศ์ (เจ้าหมอกฟ้า ณ น่าน]]<hr />
| data15 = [[เจ้าวรญาติ]] : ศักดินา 1,200<br>[[เจ้าวรญาติ (เจ้าเทพรส มหายศนันท์)]]<br>สืบเชื้อสายมาจาก[[พระยามหายศ|เจ้าหลวงมหายศ]] <hr />
| data16 =[[เจ้าราชญาติ]] : ศักดินา 1,200 <hr />
| below = {{navbar|Ranks of Nobility}}
}}<noinclude>
[[หมวดหมู่:แม่แบบบุคคล]]
</noinclude>
 
==บรรดาศักดิ์ เค้าสนามหลวง นครเมืองน่าน==
ระเบียบการ ปกครองฝ่ายธุรการนั้น ได้จัดเป็น ''สนาม '' เป็นที่ว่าการบ้านเมืองอันมีพญาแสนท้าวคณะหนึ่งเป็นผู้บริหาร การงานบ้านเมืองทุกสิ่งทุกอย่าง กิจการได้ดำเนินสำเร็จไปด้วยการประชุมปรึกษาเป็นประมาณ การงานที่ปฏิบัติในสนามนี้อาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ การงานที่ต้องเสนอเจ้าผู้ครองนครเพื่อวินิจฉัยและบัญชาการอย่างหนึ่ง และการงานที่เป็นไปตามระเบียบแบบแผนอันไม่มีสารสำคัญสามัญสามารถที่จะกระทำ เสร็จไปได้ที่สนาม โดยไม่ต้องนำเสนอผู้ครองอีกอย่างหนึ่ง คณบดีของสนามเรียกว่า “ พญาปี๊น” คือ พญาผู้เป็นใหญ่ในสนาม ๔ นาย กับยังมีพญาแสนหลวงอื่นๆ อีก ซึ่งเจ้าผู้ครองได้แต่งตั้งไว้ มีศักดิ์จัดไว้เป็นทำเนียบมาทราบรายนามและจำนวนแน่นอนเมื่อเจ้าอนันตวรฤทธิ เดชเป็นผู้ครองนคร ว่ามีรวมด้วยกัน ๑๒ นาย มีรายนามดังต่อไปนี้
 
{{ infobox
| image =
| title = [[นครเมืองน่าน|ทำเนียบยศศักดิ์ แสนท้าวนครเมืองน่าน]]|
| bodystyle = width: auto
| style="background-color:#F0DC82" = '''[[อัครมหาเสนาบดี และเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ ในนครเมืองน่าน]]'''<br>มีบรรดาศักดิ์ 4 ตำแหน่ง เรียกว่า พ่อเมืองทั้ง 4<br>หน้าที่ดูแลงานทั่วทั้งเมือง <hr />
| data3 ='''[[พระยาหลวงจ่าแสนราชาไชยอภัยนันทวรปัญญาวิสุทธิมงคล]]'''<br>'''ปฐมอัครมหาเสนาบดี'''<br>เป็นผู้สำเร็จราชการบ้านเมืองทั่วไป เป็นประธานในขุนสนามทั้งปวง<hr />
| data4 =''' [[พระยาหลวงจ่าแสนอามาตย์]]'''<br>'' '''รองอัครมหาเสนาบดี ที่ 1 '' '''<br>เป็นรองผู้สำเร็จราชการ ร่วมกับเสนาบดีกรมพระคลัง <hr />
| data5 = '''[[พระยาหลวงจ่าแสนมนตรี]]'''<br> '' '''รองอัครมหาเสนาบดี ที่ 2'' '''<br>เป็นเสนาบดีการบัญชีพล (สุรัสวดี) และนักโทษ <hr />
| data6 = '''[[พระยาหลวงจ่าแสนราชธรรมดุลย์]] '''<br> '' '''รองอัครมหาเสนาบดี ที่ 3'' '''<br>เป็นเสนาบดีฝ่ายตุลาการ และชำระความ <hr />
| data7 = '''[[เสนาบดี และเจ้ากรมต่างๆ ในนครเมืองน่าน]]'''<br>มีทั้งหมด 4 ตำแหน่ง เรียกว่า พ่อเมืองทั้ง 4<br>หน้าที่ดูแลงานทั่วทั้งเมือง <hr />
| data8 ='''[[กรมว่าการทั่วไป]]<br>[[พระยาหลวงนัตติยราชวงศา]] : อธิบดีกรมว่าการทั่วไป'''<br>[[พระยาราชเสนา]] : เจ้ากรมว่าการทั่วไป <br>[[พระยาไชยสงคราม]] : เจ้ากรมว่าการทั่วไป <br>[[พระยาทิพเนตร]] : เจ้ากรมว่าการทั่วไป <br>[[พระยาไชยราช]] : เจ้ากรมว่าการทั่วไป <hr />
| data9 = '''[[กรมโหรประจำเมือง]]'''<br>'''[[พระยาหลวงราชบัณฑิต]] : เสนาบดีกรมโหรประจำเมือง''' <br>[[พระยาสิทธิมงคล]] : เจ้ากรมโหรประจำเมือง <hr />
| data10 = '''[[กรมศุภอักษร]]'''<br>'''[[พระยาหลวงศุภอักษร ]] : อธิบดีกรมศุภอักษร''' <br>[[พระยามีรินทอักษร]] : เจ้ากรมศุภอักษร <br>[[พระยาพรหมอักษร]] : เจ้ากรมศุภอักษร <hr />
| data11 = '''[[กรมการคลัง]]'''<br>'''[[พระยาหลวงคำลือ]] : เสนาบดีกรมการคลัง''' <br>[[พระยาสิทธิธนสมบัติ]] : เจ้ากรมการคลัง<br>[[พระยาราชสาร]] : เจ้ากรมการคลัง <br>[[พระยาราชสมบัติ]] : เจ้ากรมการคลัง <br>[[พระยาธนสมบัติ]] : เจ้ากรมการคลัง <hr />
| data12 = '''[[กรมฉางข้าวหลวง]]'''<br>'''[[พระยาหลวงราชภักดี]] : เสนาบดีกรมฉางข้าวหลวง''' <br>[[พระยาราชโกฏ ]] : เจ้ากรมฉางข้าวหลวง<br>[[พระยาแขก]] : เจ้ากรมฉางข้าวหลวง<br>[[พระยาราชรองเมือง]] : เจ้ากรมฉางข้าวหลวง<br>[[พระยาราชสมบัติ]] : เจ้ากรมฉางข้าวหลวง<br>[[พระยาอินต๊ะรักษา]] : เจ้ากรมฉางข้าวหลวง<br>[[พระยานาหลัง]] : เจ้ากรมฉางข้าวหลวง <hr />
| data13 = '''[[กรมฝ่ายตุลาการ]]'''<br>'''[[พระยาหลวงจ่าแสนราชธรรมดุลย์]] : เสนาบดีกรมฝ่ายตุลาการ'''<br>[[พระยาสิทธิเดช]] : เจ้ากรมฝ่ายตุลาการ<br>[[พระยานราสาร]] : เจ้ากรมฝ่ายตุลาการ<br>[[พระยาไชยพิพิธ]] : เจ้ากรมฝ่ายตุลาการ<hr />
| data14 = '''[[กรมนายช่างโยธา]]'''<br>'''[[พระยาหลวงไชยปัญญา]] : เสนาบดีกรมนายช่างโยธา'''<br>[[พระยาไชยปัญญา]] : เจ้ากรมนายช่างโยธา <hr />
| data15 =''' [[กรมธรรมการ]]''' <br>'''[[พระยาหลวงธรรมราช]] : เสนาบดีกรมธรรมการ''' <hr />
| data16 = '''[[กรมการเมือง,ฝาย]] '''<br>'''[[พระยาหลวงหลวงเมฆสาคร]] : เสนาบดีกรมการเมือง,ฝาย''' <hr />
| below = {{navbar|Ranks of Nobility}}
}}
[[หมวดหมู่:แม่แบบบุคคล]]