ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 95:
[[ไฟล์:Seni pramoj 's painting.jpg|thumb|230px|ภาพวาดเทคนิค[[สีน้ำ]]ของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช รูปเขาไกรลาศ [[หัวหิน]]]]
 
== ชีวิตหลังจากการปลดหน้าที่ ==
== แม่ปอ 2000 ==
หลังจาก[[เหตุการณ์ 6 ตุลา|เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519]] แล้ว คณะปฏิรูปการปกครองที่นำโดย พล.ร.อ.[[สงัด ชลออยู่]] ต้องการจะให้ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป แต่ท่านได้ปฏิเสธ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช จึงได้วางมือจากการรับตำแหน่งทางการเมืองอย่างถาวร แต่ยังรักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อไปอีกระยะ จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2522 จึงได้หัวหน้าคนใหม่ (พ.อ.ดร.[[ถนัด คอมันตร์]]) ชีวิตหลังจากนี้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเอกมัย ใช้เวลาไปกับการอ่านหนังสือ และรวบรวมงานประพันธ์ต่าง ๆ ที่เคยแต่งไว้ก่อนหน้านี้และแต่งเพิ่มเติม เช่น ประชุมสารนิพนธ์, แปลกวีนิพนธ์, ชีวลิขิต เป็นต้น รวมทั้งการวาดรูป ทั้งรูปสีน้ำ สีน้ำมัน รูปสเก็ตซ์ เล่นดนตรี แต่งเพลงและปลูกไม้ดอก โดยเฉพาะกุหลาบ ซึ่งล้วนเป็นงานอดิเรกที่ทำเป็นประจำ และยังคงให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์บ้านเมืองเป็นระยะ ๆ รวมทั้งยังให้คำปรึกษากับพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่เป็นปูชนียบุคคลสำคัญในพรรคด้วย ซึ่งในปี [[พ.ศ. 2548]] อันเป็นวาระครบรอบ 100 ปี ของท่าน ทางพรรคได้ก่อตั้ง '''มูลนิธิ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช''' ขึ้นตามเจตนารมณ์ของท่านและทายาท และให้ชื่ออาคารที่ทำการของพรรคหลังที่สองว่า '''อาคาร ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช'''