ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จ้วง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 12:
}}
 
แง็น
'''จ้วง''' หรือ '''ปู้จ้วง''' ([[ภาษาจ้วง|จ้วง]]: Bouчcueŋь/Bouxcuengh; {{Zh-all|c=|t=壯族|s=壮族|p=Zhuàngzú|w=Chuang4-tsu2|j=}}) เป็นกลุ่มชนใน[[กลุ่มชาติพันธุ์ขร้า-ไท]] มีประชากรมากที่สุด ราว 18 ล้านคน แต่พวกเขาเพิ่งยอมรับคำว่า จ้วง เป็นชื่อชนชาติ เมื่อทางการ[[จีน]]ใช้คำเขียนใหม่ที่มีความหมายในทางที่ดีขึ้น เพราะในสมัย[[ราชวงศ์ซ้อง]] คำว่า จ้วง (僮) ใช้เรียกทหารที่เป็นจ้วง สมัย[[ราชวงศ์หยวน]] ใช้ตัว[[อักษรจีน]] ที่แปลว่า ปะทะ สมัย[[ราชวงศ์หมิง]] [[ราชวงศ์ชิง]] จนถึงสมัย[[ก๊กมินตั๋ง]] เปลี่ยนอักษรตัวแรกเป็นความหมายว่า "สัตว์" (獞) จนถึง [[พ.ศ. 2508]] จึงเปลี่ยนเป็นตัวที่มีความหมายว่า เติบโต และแข็งแรง (壯/壮) <ref>รายการ World Beyond เดินทางสร้างชาติ โดย [[นิติภูมิ นวรัตน์]] ทาง[[ช่อง 3]] : [[วันเสาร์]]ที่ [[27 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2553]]</ref>
 
== ประวัติ ==
== สุดยอดครับข้อมูลดี ==
ชาวจ้วงมีความเป็นมาค่อนข้างชัดเจน นับย้อนไปได้ไม่ต่ำ 5,000 ปี นอกจากในถิ่นที่อยู่จะพบหลักฐานทางโบราณคดีมากมาย เช่น ภาพเขียนโบราณที่[[ผาลาย]] กลองสัมฤทธิ์ที่เรียกว่า [[กลองมโหระทึก]] ในปี [[พ.ศ. 2536]] ยังขุดพบซากมนุษย์ยุคหินเก่าด้วยที่มีอายุประมาณ 50,000 ปี มีโครงกระดูกคล้ายกับชาวจ้วงในปัจจุบันด้วย ทั้งในบันทึก[[ประวัติศาสตร์จีน]] ก็มีคนชื่อ [[ซีโอว]] และ[[หลั้วเยว่]] ถวายเครื่องบรรณาการให้ราชวงศ์โจว (เจา) ตั้งแต่ราว 3,000 ปีก่อน แสดงว่า จ้วงเป็นกลุ่มชนที่มีรัฐ และ[[กษัตริย์]]แล้ว ก่อนยุค[[จักรพรรดิฉินที่ 1|จิ๋นซีฮ่องเต้]] ชื่อคนซีโอว และหลั้วเยว่ ค่อย ๆ หายไปจาก[[ประวัติศาสตร์จีน]] เพราะจีนเปลี่ยนชื่อเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ไปเรื่อย ๆ เมื่อถึงสมัยอู่หู บรรพบุรุษของชาวจ้วงถูกเรียกว่า "หลี่" [[สมัยสามก๊ก]]ก็ถูกเรียกว่า "เหลียว" สมัย[[ราชวงศ์จิ้น]] ก็เรียกทั้งหลี่ และเหลียว
<br />{{รายการอ้างอิง}}
 
== การแบ่งกลุ่มชาวจ้วง ==
ปัจจุบันชาวจ้วงจะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้สองกลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มจ้วงเหนือ และจ้วงใต้ จ้วงเหนืออยู่ที่เหนือของ[[เขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง]] เป็นกลุ่มที่ใหญ่ ส่วนจ้วงใต้อยู่ทางใต้เป็นกลุ่มเล็กกว่า
 
ชาวจ้วงที่อยู่บนเขาเรียกว่า ชาวจ้วงเสื้อดำ ซึ่งกระจายอยู่ในอำเภอน่าโพ มีประมาณ 6 หมื่นคน ชาวจ้วงเสื้อดำเห็นว่าสีดำเป็นสีที่สวยงาม สีดำจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของชนชาติ <ref>[http://thai.cri.cn/1/2007/08/27/21@107197.htm ชีวิตบนภูเขาของชาวจ้วงเสื้อดำและวัฒนธรรมเพลงชาวเขา]</ref>
 
== ภาษา ==
{{บทความหลัก|ภาษาจ้วง}}
{{Multiple image
| align = right
| direction = vertical
| width = 200
| image1 = Manuscripts in the Yunnan Nationalities Museum - DSC03931.JPG
| caption1 = สืบดิบผู้จ่อง
| image2 = Zhuang books.jpg
| caption2 = อักษรที่ดัดแปลงจากละติน
}}
[[ภาษาจ้วง]]แบ่งเป็นกลุ่มหลักได้สองสำเนียงคือ ภาษาจ้วงเหนือ และจ้วงใต้<ref name="ภาษา">'''ชาวจ้วง'''. หน้า 103</ref> ด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ทำให้เสียงและคำศัพท์ของภาษาจ้วงในแต่ละท้องที่ มีความแตกต่างกัน นอกจากสำเนียงหลักสองสำเนียงแล้ว ยังมีสำเนียงท้องถิ่นอีก 13 สำเนียง<ref name="ภาษา"/> แต่ด้านไวยากรณ์แทบไม่มีความแตกต่างกัน สำเนียงจ้วงเหนือมีผู้ใช้จำนวนร้อยละ 80 ของประชากร และหากเปรียบเทียบคำศัพท์ระหว่างจ้วงเหนือและจ้วงใต้ก็จะพบคำศัพท์ที่ใช้เหมือนกันถึงร้อยละ 60<ref name="ภาษา"/>
 
เดิมภาษาจ้วงมีอักษรของตนเองที่สร้างตามแบบ[[อักษรจีน|อักษรฮั่น]]ที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1<ref name="ภาษา"/> เรียกว่า [[สือดิบผู้จ่อง]] ([[ไฟล์:Sawndip.svg|35px]]) แต่ได้มีการประดิษฐ์อักษรจ้วงขึ้นใหม่ที่พื้นฐานมาจากอักษรละตินในช่วงตอนกลางทศวรรษที่ 1950 และต่อมาได้กำหนดให้อักษรดังกล่าวเป็นอักษรของชนชาติจ้วงตามกฎหมาย<ref name="ภาษา"/> ด้วยเหตุที่มีผู้ใช้ภาษาจ้วงเหนือมากกว่าจ้วงใต้ จึงใช้ภาษาจ้วงเหนือเป็นภาษาพื้นฐาน และถือสำเนียงจ้วงเหนือที่อำเภออู่หมิงเป็นสำเนียงมาตรฐานมาใช้สร้างตัวหนังสือจ้วง<ref name="ภาษา1">'''ชาวจ้วง'''. หน้า 104</ref>
<center>
{|class="wikitable"
! || จ้วงเหนือ (อู่หมิง)|| จ้วงใต้ (เต๋อป่าว-จิ้งซี)
!จ้วงใต้(ต้าซิน) || ภาษาไทย (กรุงเทพฯ)
|-
|1 || ปอ || ปอ
|โพ || พ่อ
|-
|2 || แม่ || แม่
|เม่(หรือ เม)|| แม่
|-
|3 || หร่าน || หรู่ง
|เหรื่อน|| บ้านเรือน
|-
|4 || หว่าย || หว่าย
|หว่าย|| ควาย
|-
|5 || ด๊าด || ดู๊ด
|เดือด(หรือ ลอน)|| ร้อน(เดือด)
|-
|6 || ตั๋งหง่อน || ทาหวัน
|หาหวั่น|| ตะวัน
|-
|7 || ล่อง, เดื๋อน || ห้าย(เบื้อน/เดื้อน)
|หาย(เบือน)|| เดือน
|-
|8 || ฟ้า || บ๋นฟ้า
|ฟ้า(หน้าฟ้า)|| ฟ้า
|-
|9 || ตา || ตา
|ท่า(เหมือง)|| แม่น้ำ(ท่า/เหมือง)
|-
|10 || ไจ๋หน่า || ไถหน่า
|ไถหน่า|| ไถนา
|-
|}
</center>
 
แม้ว่าภาษาจ้วงจะจัดอยู่ใน[[ตระกูลภาษาขร้า-ไท]] แต่ได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากภาษาจีนถิ่นตะวันตกเฉียงใต้<ref name="Li&Huang">{{Cite book|title=Language Policy in the People's Republic of China: Theory and Practice Since 1949|editor1-first=Minglang|editor1-last=Zhou|editor2-first=Hongkai|editor2-last=Sun|publisher=Springer|year=2004|chapter=The Introduction and Development of the Zhuang Writing System|first=Xulian|last=Li|first2=Quanxi|last2=Huang|page=240}}</ref> ชาวจ้วงเองซึ่งอยู่ต่างพื้นที่กัน มักใช้[[ภาษาจีนกลาง]] หรือ[[ภาษาจีนกวางตุ้ง|จีนกวางตุ้ง]]เป็นภาษากลางเพื่อสื่อสารกันระหว่างกลุ่ม<ref name="Myusken">{{Cite book|title=From Linguistic Areas to Areal Linguistics|first=Pieter|last=Muysken|publisher=John Benjamins Publishing|year=2008|pages=226, 247}}</ref> จากการสำรวจในปี ค.ศ. 1980 พบว่าชาวจ้วงร้อยละ 42 ยังคงใช้ภาษาจ้วงเป็นภาษาแม่ ขณะเดียวกันก็มีชาวจ้วงที่ใช้สองภาษา คือ จีนและจ้วง มีถึงร้อยละ 55 ขณะที่การศึกษาภาคบังคับของชาวจ้วงในเขตปกครองตนเองกว่างซี เป็นแบบสองภาษา คือ จีนกลาง และจ้วง โดยมุ่งเน้นการอ่านออกเขียนได้ในภาษาจ้วงขั้นต้นเท่านั้น<ref name="Li&Huang"/>
 
== วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา ==
ชาวจ้วงไม่มีศาสนาหรือองค์กรทางศาสนาที่จัดตั้งเป็นเอกภาพ สิ่งที่ชาวจ้วงนับถือจึงเป็นสภาวะ "กึ่งบุพกาล" ที่สำคัญคือ ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าจำนวนหลายองค์, ลัทธิเต๋า, ไสยศาสตร์ และลัทธิซือกง (ลัทธิที่ดัดแปลงโดยชาวจ้วง)<ref name="ศาส">'''ชาวจ้วง'''. หน้า 203</ref>
 
ชาวจ้วงนับถือเทพหลายองค์ และไม่ได้นับถือศาสนาหรือเทพเดียวกันอย่างเป็นเอกภาพ ชาวจ้วงถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างมี "วิญญาณ"<ref name="ศาส"/> ชาวจ้วงนับถือธรรมชาติ บรรพบุรุษ และภาพสัญลักษณ์<ref name="ศาส"/> เช่น หากจะจับปลาจับกุ้งก็จะต้องไหว้เทพเจ้าแม่น้ำก่อนทอดแห หรือหากจะตัดต้นไม้ต้องไหว้เทพเจ้าภูเขาหรือต้นไม้เสียก่อน เป็นต้น หากมนุษย์ทำการล่วงละเมิด เทพเจ้าก็จะแสดงอิทธิฤทธิ์ทันที<ref name="ศาส1">'''ชาวจ้วง'''. หน้า 204</ref> ทำให้มนุษย์เกรงกลัวเทพเจ้า หากไปล่วงละเมิดต่อเทพเจ้าองค์ใดมา ก็ต้องรีบยกข้าวปลาอาหารและเหล้า เงินกระดาษและธูปไปไหว้ทันที เพื่ออ้อนวอนให้ยกโทษและคุ้มครองตน<ref name="ศาส1"/>
 
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการนับถือบรรพบุรุษ ชาวจ้วงเชื่อว่าคนมีวิญญาณ คนตายไปแล้วแต่วิญญาณยังไม่ตาย<ref name="ศาส2">'''ชาวจ้วง'''. หน้า 205</ref> เมื่อมีคนตายแล้วถ้ามีพ่อหมอมาสวดให้วิญญาณพ้นทุกข์ วิญญาณก็จะผ่านสะพานไน่ฮ้อไปยังเมืองผีที่อยู่ดีกินดีและเป็นผีบรรพบุรุษที่คุ้มครองลูกหลาน ตรงกันข้ามถ้าหากไม่มีพ่อหมอมาสวดหรือตายนอกบ้าน วิญญาณจะผ่านสะพานไน่ฮ้อหรือไปปรโลกไม่ได้ ก็จะกลายเป็นผีเร่ร่อนทำร้ายลูกหลานของตนแทน<ref name="ศาส2"/> ดังนั้นบ้านของชาวจ้วงทุกครอบครัวจึงมีแท่นบูชาบรรพบุรุษในห้องโถง กลางแท่นจะมีกระดาษสีแดงเขียนชื่อบรรพบุรุษทุกยุคทุกสมัยและตั้งป้ายเอาไว้ ข้างล่างวางกระถางธูปคอยเซ่นไหว้เสมอ ยามซื้อของดี ๆ, ฆ่าสัตว์, กลั่นเหล้าหรือทำข้าวต้มมัด ก็จะต้องจุดธูปบูชาเสียก่อนจึงจะกินได้<ref name="ศาส2"/>
 
ส่วนลัทธิซือกง เป็นลัทธิที่เกิดขึ้นจากจารีตของชาวจ้วงเอง และมีระเบียบของบังคับที่ค่อนข้างมั่นคง แต่ไม่มีองค์กรหรือศาลเจ้าที่เป็นเอกภาพ<ref name="ศาส3">'''ชาวจ้วง'''. หน้า 209</ref> หน่วยจัดตั้งของลัทธิดังกล่าวเป็นกลุ่มกระจายเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า ''ซือถาน'' แต่ละถานจะมีอาจารย์ผู้ปกครองถานเป็นผู้ควบคุมการไหว้ และการประกอบพิธีต่าง ๆ<ref name="ศาส3"/> ผู้ที่เข้ารับนับถือซือกงต้องผ่านการไหว้ครูและรับศีล ท่องคัมภีร์ซือกง หัดรำและศิลปะกายกรรมครึ่งปีขึ้นไป เมื่อสำเร็จก็จะเป็นซือกงอย่างเป็นทางการ<ref name="ศาส4">'''ชาวจ้วง'''. หน้า 210</ref> มีสถานที่ชุมนุมเรียกว่า ''หอซือ'' มีบ้านเฉพาะและมีนาให้เช่า ซึ่งเงินค่าเช่านาที่ได้จะนำมาใช้จ่ายของหอซือ ในลัทธิจะมีเทพเจ้าใหญ่ ๆ 36 องค์ เทพเจ้าน้อย 72 องค์ แต่ทางปฏิบัติจะมีมากกว่า 200 องค์<ref name="ศาส4"/> เทพสำคัญคือ [[พระไตรสรณคมน์]], [[พระตรีภพนาถ]], [[พระภูมิเจ้าที่]] นอกจากนี้ยังยืมเทพจาก[[ลัทธิเต๋า]]คือ [[เทพซานชิง]] และ[[เล่าจื๊อ]] ส่วนศาสนาพุทธคือ [[พระศากยมุนี]], [[กวนอิม|พระโพธิสัตว์กวนอิม]], [[พระอรหันต์]] และเทพพื้นเมืองทั่วไป เป็นต้น คัมภีร์ทางลัทธิมีกว่า 120 เล่ม บ้างเป็นนิทานวีรบุรุษ บ้างเป็นกลอนธรรมจริยา บ้างเป็นเพลงรัก ส่วนมากเป็นเพลงพื้นเมืองที่เขียนด้วยอักษรจ้วงเก่า<ref name="ศาส4"/>
 
ปัจจุบันแม้ว่าจะมีศาสนาอื่นเผยแผ่เข้ามาในเขตชาวจ้วงบ้าง แต่ก็มิได้มีผลมากมายนัก ชาวจ้วงได้นำหลักการบางอย่างของทุกศาสนามาผสมผสานกับลัทธิเต๋า ไสยศาสตร์ และลัทธิซือกง ดังนั้นในเขตชาวจ้วงจึงไม่ค่อยปรากฏศาสนสถานเท่าใด<ref>'''ชาวจ้วง'''. หน้า 211</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
{{จบอ้างอิง}}
 
==pornhub กำลังจะปิดนะครับ==
==บรรณานุกรม==
*หลี่ฟู่เชิน, ฉินเซียนอาน, พานชิชือ (เขียน). เหลียงหยวนหลิง (แปล). '''ชาวจ้วง'''. เชียงใหม่:ตรัสวิน, 2539 ISBN 974-7100-25-8
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/จ้วง"