ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วังวินด์เซอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Viewwwwww (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
วัง ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2424 ได้การออกแบบโดย[[สถาปนิก]][[ชาวอังกฤษ]] โดยนำแบบของพระราชวังวินด์เซอร์แห่งสหราชอาณาจักรมาย่อส่วน หากทว่าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หาได้เสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักแห่งนี้แต่อย่างใด ด้วยเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2437 เมื่อมีการสถาปนา[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]ขึ้นในปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชวังนี้รวมทั้งพื้นที่โดยรอบเป็นสมบัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเคยใช้เป็นศูนย์กลางการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวิทยาเขตประทุมวันก่อนการก่อสร้างอาคารบัญชาการ
 
ในช่วงปี พ.ศ. 2478 [[หลวงศุภชลาสัยศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)|นาวาโท หลวงศุภชลาศัย]] อธิบดี[[กรมพลศึกษา]]ในขณะนั้นดำริที่จะจัดสร้าง[[กรีฑาสถานแห่งชาติ]]ขึ้น จึงได้พิจารณาเช่าที่ดินบริเวณพระตำหนักหอวัง และได้ทำการรื้อถอนพระตำหนักหลังนี้ รวมถึงอาคารหอพักนิสิตโดยรอบ การก่อสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติแล้วเสร็จในราวปี พ.ศ. 2481 ซึ่งได้ใช้เป็นที่ทำการสอนของโรงเรียนพลศึกษากลางและกรมพลศึกษา
 
== ประวัติ ==
=== แนวคิดและการก่อสร้าง ===
พระตำหนักหอวังก่อสร้างขึ้นโดยพระราชประสงค์ของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เพื่อพระราชทาน[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร|สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ]]เป็นที่ประทับ เนื่องด้วยสภาพพื้นที่ของพระตำหนักที่ตั้งอยู่กลางทุ่งประทุมวัน ชาวบ้านจึงนิยมเรียกว่า "วังกลางทุ่ง" หรือ "วังใหม่" ด้านหน้าของพระตำหนักหันไปทางถนนสระปทุม (ถนนพระรามที่ 1 ในปัจจุบัน) ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษ โดยนำแบบมาจาก[[พระราชวังวินด์เซอร์]]แห่งสหราชอาณาจักรเป็นต้นแบบ ชาวต่างชาติ ณ [[ราชกรีฑาสโมสร]] จึงเรียกขานกันพระตำหนักแห่งนี้ว่า "วังวินด์เซอร์"
 
พระตำหนักหอวังได้รับการออกแบบเป็นอาคาร 3 ชั้น มีบันไดขึ้นลงตรงกลางอันเป็นรูปแบบของ[[สถาปัตยกรรมกอทิก]]<ref name="หอใน">สำนักงานหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [http://www.rcu.sa.chula.ac.th/dormitory/index.php?page=history2.php หอวัง] เรียกข้อมูลวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554</ref> ใช้วัสดุก่อสร้างเป็นหินอ่อนนำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น หัวเสาได้รับการสลักศิลปะแบบโรมัน หากแต่[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร]] มิได้เสด็จมาประทับ ณ พระราชวังแห่งนี้ด้วยเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2437