ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 23:
หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร ประสูติเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2430 ทรงได้รับทุนพระราชทานส่วนพระองค์จาก[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร]] ไปศึกษาที่[[ประเทศอังกฤษ]] เมื่อกลับมาได้เป็นรับราชการเป็นวิศวกรสังกัดกรมทางหลวง
 
หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ได้ทรงออกจากราชการมาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ<ref>{{อ้างหนังสือ||ผู้แต่ง=สมประสงค์ ทรัพย์พาลี||ชื่อหนังสือ=๑๐๑ จุลจักรี ๑๐๑ ปี จุลจอมเกล้า||URL=||จังหวัด=กรุงเทพ||พิมพ์ที่=||ปี= พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2555||ISBN=9786169092605||หน้า=||จำนวนหน้า=154}}</ref> ต่อมาทรงถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในเหตุการณ์กบฎฏบวรเดชในปี พ.ศ. 2476 และถูกจำคุกระยะหนึ่ง<ref>[https://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:4s6Da4qmD2sJ:https://mgronline.com/daily/detail/9490000009266+&cd=9&hl=th&ct=clnk&gl=th ท่านวิเศษศักดิ์ โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช]</ref> เมื่อพ้นโทษแล้วท่านได้กลับเข้ารับราชการในกรมทางหลวงอีกครั้งจนเกษียณอายุราชการ โดยในช่วงประมาณ พ.ศ. 2480-2487 ท่านได้ดำรงตำแหน่งนายช่างกำกับแขวงการทางอำนาจเจริญ และผิดชอบรับผิดชอบในการสร้างทางหลวงแผ่นดินสายอุบลราชธานี-มุกดาหาร-นครพนม ซึ่งต่อมาได้กำหนดให้เป็น[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212]] และรัฐบาลไทยได้ขนานนามถนนเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านว่า "ถนนชยางกูร" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี<ref>[http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:NJE8x1r25YMJ:guideubon.com/news/view.php%3Ft%3D34%26s_id%3D18%26d_id%3D18+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th ประวัติชื่อถนนสายสำคัญของเมืองอุบล] คอลัมน์ "อุบลบานเบ่ง/แจ้งขจรไกล" โดย สุวิชช คุณผล วารสารข่าวหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี เดือนพฤศจิกายน 2544</ref>
 
หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร สิ้นชีพตักษัยเมื่อ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 สิริชันษา 83 ปี<ref>{{อ้างหนังสือ||ผู้แต่ง=ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร||ชื่อหนังสือ=พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี||URL=||จังหวัด=กรุงเทพ||พิมพ์ที่=สำนักพิมพ์บรรณกิจ||ปี= พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549||ISBN=974-221-818-8||หน้า=หน้าที่||จำนวนหน้า=360}}</ref>