ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอธาตุพนม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekströmz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
== ประวัติศาสตร์ ==
 
อำเภอธาตุพนมเดิมมีฐานะเป็นเมืองขนาดใหญ่ชื่อว่า '''เมืองพนม''' หรือ '''เมืองธาตุพนม'''<ref>''วชิรญาณวิเศษ'' เล่ม ๘ แผ่นที่ ๔๖ วันพฤหัสบดี ๒๔ สิงหาคม รศ. ๑๑๒ หน้าที่ ๕๔๒-๕๔๓</ref> (ภาษาอังกฤษ : M. Penom,<ref>ง้าวแถน ถนิมแก้ว. ''สงครามพันปีระหว่างลาวกับแกว''. ม.ป.ท.. ๒๕๔๒.</ref> Muong Peunom,<ref>E. Lefevre. ''Travels in Laos''. Bangkok. ม.ป.ป..</ref> Moeuong Dhatou Penom<ref>เอเจียน แอมอนิเย. ''บันทึกการเดินทางในลาวภาคสอง พ.ศ. ๒๔๔๐''. เชียงใหม่. ๒๕๔๑.</ref>) ในพื้นอุรังคธาตุหลายฉบับ รวมถึงพงศาวดารย่อและแผนเมืองเวียงจันทน์ พงศาวดารเมืองมุกดาหาร พื้นธาตุพระนม พื้นธาตุหัวอก มหาสังกาสธาตุพนมโคดมเจ้า และพงศาวดารล้านช้างออกนามเมืองว่า '''พระนม''' (พนม)<ref>องค์การค้าของคุรุสภา. ''ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔๔ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ (ต่อ)-๗๑) เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์ (ต่อ) พงศาวดารละแวก''. ม.ป.ท.. ๒๕๑๒.</ref> จารึกฐาปนาอูบสำริดเมืองจันทะปุระของพ่อออกขนานโคษออกนามว่า '''ธาตุประนม'''<ref>ศิริวรรณ์ กาญจนโหติ. ''การสร้างคำในศิลาจารึกอีสาน ช่วง พ.ศ. ๒๐๗๓-พ.ศ. ๒๔๖๖''. ม.ป.ท. ๒๕๓๒.</ref> และจารึกศิลาเลกบูรณะพระธาตุพนม พ.ศ. ๒๔๔๔ ออกนามว่า '''ภนม''' ส่วนอุรังคธาตุฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขดสุวรรณเขต แสดงฐานะของธาตุพนมว่าเป็นนครใหญ่แห่งหนึ่งโดยออกนามว่า '''นครต่อนดินพระมหาธาตุเจ้า'''<ref>อุลังกทาดผูกเดียว ฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขดสุวรรณเขต หน้าลานที่ ๑๓-๑๖</ref> หรือ '''น้ำท่อนต่อนดินพระมหาธาตุเจ้า''' หลักฐานบางแห่งออกนามธาตุพนมเป็นสร้อยต่อท้ายนามเมืองมรุกขนครว่า '''มรุกขนคร บวรพนม ประถมเจดีย์''' (มะรุกขะนะคอน บํวอนพะนม ปะถมมะเจดี)<ref>ดำรง พ. ทัมมิกะมุนี. ''พระพุทธศาสนาในประเทศลาว : ศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน''. กรุงเทพ. : สุขภาพใจ. ๒๕๕๓. น. ๔๐.</ref> ธาตุพนมเป็นเมืองโบราณบริเวณลุ่มน้ำโขง มีอาณาเขตไปถึงปากเซบั้งไฟและสายภูซ้างแฮ่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่ตาลเจ็ดยอดในตัวเมืองมุกดาหาร มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับเมืองศรีโคตรบูรและเมืองมรุกขนคร ก่อตั้งก่อนรัชกาลสมเด็จพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราชแห่งล้านช้าง (ก่อน พ.ศ. ๑๘๙๖ หรือก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙) ก่อตั้งก่อนเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหาร นับเป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดในบรรดาหัวเมืองลาวแถบจังหวัดนครพนม มีการพบหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์บริเวณตำบลกุดฉิม พบโบราณวัตถุในอารยธรรมหินตั้ง ตลอดจนพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยศรีโคตรบูร (ก่อนทวารวดีอีสาน) จามปา ขอม และล้านช้าง ทั้งในตัวเมืองและปริมณฑลกระจายหลายแห่ง เฉพาะหลักฐานสมัยศรีโคตรบูรค้นพบมากกว่า ๑๐ แห่ง ทั้งในตัวเมือง รอบตัวเมือง และตำบลใกล้เคียง นักโบราณคดีและนักการพระพุทธศาสนาเชื่อว่าธาตุพนมเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาเถรวาทที่สำคัญแห่งหนึ่งของสุวรรณภูมิและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เนื่องจากมีการค้นพบจารึกใบเสมายุคศรีโคตรบูรที่วัดศิลามงคล ตำบลพระกลางทุ่ง ปรากฏคาถา [[เย ธมฺมา]] เช่นเดียวกับที่ปรากฏในนครปฐม อู่ทอง และซับจำปา<ref>www.retc.ac.th/v3/programe/roiet57.pdf</ref> คัมภีร์อุรังคธาตุนิทานกล่าวว่าธาตุพนมถูกก่อตั้งขึ้นโดยพระยา ๕ นคร บางฉบับกล่าวว่า ๖ นคร หลังการสร้างอูบมุงภูกำพร้าสำเร็จ พระยาทั้ง ๕ ให้คนนำหลักหิน หินรูปอัสสมุขี หินรูปม้าวลาหก และหินรูปม้าอาซาไนมาปักไว้ตามทิศต่าง ๆ ขององค์ธาตุ เพื่อเป็นหลักเขตหมายเมืองมงคลในชมพูทวีป<ref>อุดร จันทวัน. ''นิทานอุรังคะทาด : นิทานอุรังคธาตุ ฉบับลาว''. ขอนแก่น. ๒๕๔๗.</ref> เมืองธาตุพนมประกอบด้วยหมู่บ้านข้าโอกาสจำนวนมาก ในสมัยศรีโคตรบูรมีทั้งหมด ๗ หมู่บ้าน มีประชากรไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ คน การสร้างเมืองธาตุพนมเริ่มชัดเชนขึ้นในสมัยพระยาสุมิตตธัมมวงศา จากนั้นจึงเพิ่มจำนวนหมู่บ้านขึ้นในสมัยล้านช้างมากกว่า ๓๐ หมู่บ้าน หลายแห่งตั้งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แต่มีศูนย์กลางปกครองที่บ้านธาตุพนมฝั่งขวาน้ำโขง ภายในตัวเมืองมีกำแพง ๓ ชั้นล้อมรอบเวียงพระธาตุ โดยมีวัดหัวเวียงรังษีตั้งอยู่ทิศหัวเมือง สันนิษฐานว่าเดิมชื่อวัดสวนสวัร (วัดสวรสั่งหรือวัดสมสนุก) ตามคัมภีร์อุรังคธาตุ
 
คำว่า พนม ตรงกับภาษา[[เขมร]] แปลว่า [[ภูเขา]]<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2169 </ref> แต่อุรังคธาตุหลายฉบับเขียนว่า พระนม (พฺรนม) ซึ่งมาจากภาษาเขมร (พระ) และภาษาลาว (นม) หมายถึงหน้าอกของพระพุทธเจ้า ชาว[[ลาว]]ออกสำเนียงว่า '''ปะนม''' (ประนม) คำนี้ปราฏในหนังสือพงศาวดารของแขวงสะหวันนะเขดด้วยสุวรรณเขตด้วย คนท้องถิ่นนิยมเรียกนามเมืองว่า เมืองปะนม คู่กับ เมืองละคร (เมืองนครพนม) และเรียกชาวธาตุพนมว่า ไทพนม หรือ ไทปะนม สมัยโบราณเรียกที่ตั้งศูนย์กลางเมืองนี้ว่า '''กปณคีรี''' (ภูเพียงกำพร้าเข็ญใจ) บางแห่งเขียนเป็น '''ภูกามพ้า''' หรือ '''ภูก่ำฟ้า''' คนทั่วไปออกนามว่า '''ภูกำพร้า''' เป็นที่ตั้งพระมหาธาตุโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ชื่อว่า '''พระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมมะเตชะเจดีย์''' หรือ '''พระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมมสถาน''' หรือ '''พระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมมหัวอกพระพุทธเจ้า''' หลักฐานบางแห่งเรียกว่า '''ธาตุภูกำพร้า''' หรือ '''อูบมุงภูกำพร้า'''<ref>อุดร จันทวัน. ''นิทานอุรังคธาตุ : ฉบับลาว''. ขอนแก่น. ๒๕๔๗.</ref> คนทั่วไปออกนามว่า '''ธาตุปะนม''' หรือ '''ธาตุหัวอก''' ปัจจุบันคือ[[พระธาตุพนม]] [[วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร]] ซึ่งเดิมเรียกวัดพนม (วัดธาตุหรือวัดพระธาตุ) นับถือแต่โบราณว่าพระมหาธาตุนี้เป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ (อรกธาตุหรือธาตุหัวอกของพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์) ชาติพันธุ์สองฝั่งโขงนับถือว่าเป็นพระปฐมเจดีย์แห่งแรกของลาว เอกสารพื้นเวียงจันทน์ยกย่องว่าธาตุพนมคือ[[หลักโลก]]ของชาวลาว<ref>เอกสารพื้นเวียงจันทน์กล่าวว่าก่อนราชวงศ์เวียงจันทน์จะล่มสลายได้เกิดนิมิตอาเภทขึ้นคือ ยอดพระธาตุพนมหักลง ต่อมาสมเด็จพระเจ้าเจ้าอนุวงศ์ได้เสด็จมายกยอดฉัตรขึ้นใหม่ จำนวนชั้นมี ๗ ชั้นเท่าของเดิม ภายหลังเมื่อสยามปกครองธาตุพนมแล้วจึงเปลี่ยนยอดฉัตรลงเหลือ ๕ ชั้นในปัจจุบัน</ref> ส่วนเอกสารประวัติบ้านชะโนดยกย่องว่าธาตุพนมคือ[[เสใหญ่]] (หลักเมือง) ของลาว<ref>เส หมายถึง เสาหลักหรือหลักเมือง</ref> เอกสารพงศาวดารเมืองพระนมชี้ให้เห็นว่าก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนาธรรมยุติกนิกายจากสยาม ท้องถิ่นนี้เชื่อว่าธาตุพนมคือสถานที่ประสูติและบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระยานกคุ่มไฟ ทำให้ธาตุพนมมีอีกนามหนึ่งว่า '''ธาตุนกคุ่ม''' (พระวฏฺฏกธาตุนกคุ่ม) หรือฮังนกคุ่ม<ref>https://www.youtube.com/watch?v=DzuVAq-c6ng</ref> ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารพื้นเมืองจันทะบูลีว่า ก่อนสร้างพระธาตุพนมได้ปรากฏเฮือนหิน (ปราสาท) บนภูกำพร้าก่อนแล้ว ส่วนเอกสารตำนานขุนบูลมกล่าวว่าธาตุพนมเป็นเมืองสำคัญ ๑ ใน ๗ หัวเมืองทางศาสนายุคแรกของสุวรรณภูมิประเทศ ที่ได้รับการประดิษฐานพระบรมธาตุก่อนหัวเมืองทั้งหลาย แม้แต่อาณาจักรล้านนาก็ยอมรับให้เป็นพระบรมธาตุสำคัญประจำปีสันหรือนักษัตรวอกตามคติชุธาตุด้วย<ref>http://www.culture.cmru.ac.th/web60/content/2484</ref>
 
คัมภีร์อุรังคธาตุกล่าวถึงสถานะของธาตุพนมว่าเป็น '''พุทธศาสนานคร''' หรือ [[ศาสนานคร]] เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองจึงถูกเรียกว่า '''ศาสนานครนิทาน''' จารึกเจ้าพระยาหลวงนครพิชิตราชธานีศรีโคตรบูรหลวงจึงออกนามเมืองว่า '''สาสสนาพระนม''' เมืองพุทธศาสนานคร<ref>ประวิทย์ คำพรหม. ''ประวัติอำเภอธาตุพนม''. กาฬสินธุ์. ๒๕๔๖.</ref> นั้นหมายถึง เมืองศักดิ์สิทธิ์อันเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา จิตวิญญาณ ศรัทธาและความเชื่อของชาวลาวและชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านช้าง ถึงขนาดชาวต่างชาติขนานนามเมืองว่า '''เมืองเมกกะของลาว''' เนื่องจากเป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักร[[ศรีโคตรบูร]]และพระมหากษัตริย์แห่ง[[อาณาจักรล้านช้าง]]ถวายเขตแดนเป็น[[กัลปนา]]แด่พระธาตุพนม นัยหนึ่งเรียกว่าเมือง[[ข้าโอกาส]]หยาดทานหรือเมือง[[ข้อย]]โอกาส เจ้าผู้ปกครองเมืองธาตุพนมมีสถานะพิเศษต่างจากเจ้าเมืองทั่วไป จารึกผูกพัทธสีมาวัดธาตุพนมของเจ้าเมืองมุกดาหารออกนามเจ้าผู้ปกครองธาตุพนมว่า '''ขุนโอกาส''' (ขุนเอากฺลาษฺ)<ref>กรมศิลปากร. ''จดหมายเหตุการณ์บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม : ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๒''. กรุงเทพฯ. ๒๕๒๒.</ref> ส่วนอุรังคธาตุฉบับบ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ๒ ฉบับออกนามว่า '''เจ้าโอกาส''' (เจ้าโอกาด)<ref> หนังสืออุลังคนีทาน (อุลังคะนิทาน) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๓๐-๓๒</ref> <ref>พื้นอุลํกาธา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๒๙-๓๐</ref> หมายถึงเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งข้าโอกาสพระธาตุพนมคล้ายกับสถานะขุนสัจจพันธคีรีรัตนไพรวัน เจติยาสันคามวาสี นพคูหาพนมโขลน<ref>http://th.wikisource.org/wiki</ref> ผู้ดำรงตำแห่ง '''ขุนโขลน''' เจ้า[[เมืองพระพุทธบาท]] (เมืองสุนาปรันตประเทศ) หัวเมืองกัลปนาชั้นจัตวาของสยาม<ref>กรมศิลปากร. ''ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗ : คำให้การขุนโขลน''. กรุงเทพ. ๒๔๖๐.</ref> คล้ายกับการปกครองเมืองจำปาอันเป็นส่วนแห่งพรหมไทย (พรหฺมเทยฺย) ซึ่งกษัตริย์ถวายแก่พราหมณ์ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และคล้ายกับบรรดาศักดิ์ '''โขลญพล''' (โขฺลญฺ วล กํมฺรเตงฺ อญฺ) เจ้าเมืองกัลปนาของ[[เขมร]]โบราณ เช่น เมืองลวปุระ (ลพบุรี) ในสมัยขอมเรืองอำนาจ<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/index.php</ref> สถานะผู้ปกครองเช่นนี้ยังปรากฏในอาณาจักรล้านช้างหลายแห่ง เช่น กวานนาเรือเมืองนาขาม เมืองหินซน และเมืองซนู แถบถ้ำสุวรรณคูหาในหนองบัวลำภู ช่วงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เป็นต้น <ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2233</ref> เอกสารบันทึกการเดินทางในลาวของเอเจียน เอมอนิเย กล่าวว่าผู้ปกครองธาตุพนมเป็นญาติกับเจ้าเมืองมุกดาหารและเจ้าพระยาหลวงเมืองแสน อำนาจของขุนโอกาสในสมัยล้านช้างมีมากกว่าเจ้าเมืองแถบลุ่มน้ำโขงหลายเมือง ส่วนใบลานพื้นเมืองเวียงจันทน์อย่างน้อย ๓ ฉบับกล่าวว่า ผู้ถูกสถาปนาให้รักษาธาตุพนมทรงเป็นกุมารเชื้อสายเดียวกันกับพระเจ้าพ่ออีหลิบ (สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร) พระเจ้านันทเสน และพระเจ้าอินทวงศ์ กษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์ทั้ง ๓ พระองค์
บรรทัด 30:
สมัยโบราณเวียงพระธาตุของธาตุพนมถูกรายล้อมด้วยเวียงข้าพระธาตุ ๔ แห่ง คือ เวียงปากเซหรือเมืองกะบอง (ปัจจุบันคือเมืองเซบั้งไฟ สปป.ลาว) เวียงปากก่ำกรรมเวรหรือเมืองปากก่ำ (ปัจจุบันคือตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม) เวียงขอมกระบินหรือเมืองกบิล (ปัจจุบันคืออำเภอนาแก)<ref>http://na-kae.blogspot.com/</ref> เวียงหล่มหนองหรือเมืองมรุกขนคร (ปัจจุบันคือตำบลพระกลางทุ่ง นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าคือบ้านดอนนางหงส์ท่า) ธาตุพนมมีภูมิศาสตร์การวางผังเมืองขนานกับแม่น้ำโขงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก วางผังเมืองตามคติจักรวาลวิทยาในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกำแพงล้อมรอบ ๓ ชั้น แบ่งพื้นที่สำคัญเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกคือหัวเมืองทางทิศเหนือเป็นที่ตั้ง '''วัดหัวเวียง''' (วัดหัวเวียงรังษี) และชุมชนข้าโอกาสเดิมคือ [[บ้านหัวบึง]] บ้านหนองหอย เป็นต้น ต่อมาคือตัวเมืองเป็นที่ตั้งองค์พระธาตุพนมซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจพุทธจักร จารึกวัดพระธาตุพนมแสดงให้เห็นว่าวัดนี้เป็นที่ประทับของพระสังฆราชและพระชั้นปกครองเรียกว่า เจ้าด้าน จำนวน ๔ รูป นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งหอเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจผีบรรพบุรุษ เป็นที่ตั้ง[[บึงธาตุ]]ซึ่งเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่ตั้งของกำแพงเมืองโบราณทิศตะวันออกริมฝั่งโขงซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจการปกครองของเจ้านาย ส่วนทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งของชุมชนข้าโอกาสเดิมคือ[[บ้านดอนกลาง]]หรือ[[บ้านดอนจัน]] ส่วนสุดท้ายคือท้ายเมืองทางทิศใต้เป็นที่ตั้ง[[แม่น้ำก่ำ]] อุรังคธาตุนิทานกล่าวว่าตอนใต้แม่น้ำนี้เคยเป็นราชสำนักกษัตริย์ที่มาร่วมสร้างพระธาตุพนม และเป็นที่ตั้งของชุมชนข้าโอกาสเดิมคือ[[บ้านน้ำก่ำ]]ยาวไปถึงตาลเจ็ดยอดในเขตตัวเมืองมุกดาหารด้วย
 
อุรังคธาตุและพื้นธาตุพนมกล่าวว่าสมัย'''พระยานันทเสน'''กษัตริย์[[เมืองศรีโคตรบูร]] (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑-๓) พระองค์ทรงเป็นเค้าอุปถากพระธาตุพนม จากนั้นทรงแต่งตั้งเจ้า ๓ พี่น้องซึ่งเป็นพระราชนัดดาให้ปกครองข้าโอกาสพระธาตุพนมโดยแบ่งออกเป็น ๓ กอง ได้แก่ '''พระยาสหัสสรัฏฐา''' (เจ้าแสนเมือง) ปกครองนอกกำแพงพระมหาธาตุ '''พระยาทักขิณรัฏฐาˈ''' (เจ้าเมืองขวา) ปกครองในกำแพงพระมหาธาตุ และ'''พระยานาคกุฏฐวิตถาร''' (เจ้าโต่งกว้าง) ปกครองฝั่งซ้ายน้ำโขงตั้งแต่ปาก[[น้ำเซ]]ไหลตกปาก[[น้ำก่ำ]] เจ้านายทั้ง ๓ พระองค์ได้รับยกย่องให้เป็น[[มเหสัก]][[หลักเมือง]]ธาตุพนมสืบมาถึงปัจจุบัน นับถือกันกว่าเป็นวิญญาณบรรพบุรุษรุ่นแรกของข้าโอกาสพระธาตุพนม เรียกว่า '''[[เจ้าเฮือนทั้ง ๓]]''' หรือ '''เจ้าเฮือน ๓ พระองค์''' สมัยต่อมาในอุรังคธาตุผูกเดียวกล่าวว่าพระธาตุพนมถูกอุปถากโดย '''พระยาปะเสน''' ต่อมาสมัยพระยาสุมิตธรรมวงศาเจ้าเมืองมรุกขนครได้แต่งตั้งให้'''หมื่นลามหลวง''' (หมื่นหลวง) เป็นเค้าอุปถากโดยมีนายด่านนายกองช่วยปกครองธาตุพนม พระองค์พระราชทานเงินทองทรัพย์สินจำนวนมากเป็นเครื่องตอบแทน ต่อมาสมัยพระยาสุบินราชพระองค์โปรดฯ ให้ '''หมื่นมาหารามหลวง''' และ '''พวกเฮือนหิน''' เป็นเค้าอุปถากธาตุพนม เมื่ออาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจลงในสมัยล้านช้างตอนต้นคือรัชกาลของพระเจ้าโพธิสาลราช (พ.ศ. ๒๐๖๓-๒๐๙๐) เมืองพนมถูกปกครองโดยขุนนางข้าหัตบาสใกล้ชิดของพระเจ้าโพธิสาลราชจากราชสำนักเมืองหลวงพระบางนามว่า '''[[พันเฮือนหิน]]''' (พันเฮือหีน) พร้อมได้รับพระราชทานบริวารติดตามให้อีก ๓๐ นาย เรียกว่า กะซารึม ๓๐ ด้ามขวาน ส่วนขุนกินเมืองทั้งหลายได้ส่งคนมาให้อีก ๓๐๐ นาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองธาตพนมสมัยนั้นมีอำนาจมาก นอกจากนี้ยังแต่งตั้ง '''[[พันซะเอ็ง]]''' ([[ข้าชะเอ็ง]]) พี่ชายของพันเฮือนหินให้เป็นผู้ปกครองธาตุพนมร่วมกันด้วย <ref>พระธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา), ''อุรังคธาตุนิทาน : ตำนานพระธาตุพนม (พิศดาร) ''. กรุงเทพฯ. ๒๕๓๗.</ref> อย่างไรก็ตามพันเฮือนหินได้กลับคืนไปอยู่หลวงพระบางแล้วทำหน้าที่อัญเชิญเครื่องสักการะบูชาของพระองค์ลงมานมัสการพระธาตุพนมในวันสังขานปีใหม่แทน ต่อมาสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราช (พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๔) พระองค์เสด็จมาบูรณะพระธาตุพนมและโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง '''[[พระยาธาตุพระนม]]''' หรือ '''พระยาพระมหาธาตุเจ้า'''<ref>พื้นอุลํกาธา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๒๔</ref> ขึ้นเป็นเจ้าโอกาสรักษานครพระมหาธาตุพนม โดยมี '''พระยาทั้ง ๔''' เป็นผู้ช่วย<ref>อุลังกทาดผูกเดียว ฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขดสุวรรณเขต หน้าลานที่ ๑๓</ref> ถัดนั้นรัชกาลพระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. ๒๑๔๐-๒๐๖๕) เจ้าพระยานครหลวงพิชิตราชธานีสีโคดตะบูรหลวงได้เสด็จมาพระราชทานโอวาทแก่'''พระยาทาด''' (พระยาธาด) พร้อมแต่งตั้งพระยาทั้ง ๒ คือ '''พระยาทด''' และ '''พระยาสีวิไซ''' ให้ช่วยปกครองข้าโอกาสพระธาตุพนม จากนั้นในรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งนครเวียงจันทน์ (พ.ศ. ๒๑๘๑-๒๒๓๘) ในพื้นธาตุพระนมฉบับวัดใหม่สุวันนะพูมารามเมืองหลวงพระบางกล่าวว่า พระองค์โปรดฯ พระราชทานเขตดินชั้นนอกให้พระธาตุพนมพร้อมแต่งตั้งให้ '''พระเจ้าเฮือนทั้ง ๓''' หรือ '''พระยาเจ้าทั้ง ๓''' ปกครองธาตุพนม ได้แก่ '''เจ้าตนปู่เลี้ยง''' เป็นใหญ่ในข้าโอกาสภายในพระมหาธาตุ ส่วนทิศใต้และทิศเหนือนั้นให้ '''พระยาเคาะยดทะราดธาดพระนม''' (หมื่นเคาะ) และ '''พระยาเคายดทะราดธาดพระนม''' (หมื่นเคา) ปกครอง <ref>พื้นทาดตุพระนม วัดใหม่สุวันนะพูมาราม บ้านป่าขาม เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หน้าลานที่ ๒๙-๓๑</ref> หลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งนครเวียงจันทน์ [[เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก]]สังฆราชแห่งเวียงจันทน์ได้อพยพผู้คนจากนครเวียงจันทน์บางส่วนมาถวายไว้เป็นข้าพระธาตุพนมจำนวนมาก พร้อมทั้งต่อเติมเสริมยอดพระธาตุพนมให้สูงขึ้น ในตำนานบ้านดงนาคำซึ่งเป็นหมู่บ้านข้าโอกาสพระธาตุพนมทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงกล่าวว่า เจ้าราชครูหลวงได้ตั้งให้พระสงฆ์ฝ่ายปกครอง ๔ รูปปกครองวัดวาอารามทั้ง ๔ ทิศในเขตเมืองพนม เรียกว่า '''[[เจ้าด้านทั้ง ๔]]''' จากนั้นทรงขออนุญาตเจ้านายผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนมซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ กอง ให้เป็นผู้นำพาประชาชนจากเวียงจันทน์ออกไปตั้งหมู่บ้านใหม่เพื่อให้ข้าโอกาสพระธาตุพนมมีจำนวนเพิ่มขึ้น คือ '''[[แสนกลางน้อยศรีมุงคุล]]''' หัวหน้าข้าโอกาสให้นำพาผู้คนไปตั้งบ้านหมากนาว<ref>เชื่อว่าเป็นองค์เดียวกันกับอาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมุงคุล (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนม แต่เมื่อเทียบศักราชช่วงที่ปกครองแล้วห่างกันมาก</ref> '''[[แสนพนม]]''' ให้นำพาผู้คนไปตั้งบ้านดงใน '''[[แสนนามฮาช]]''' (แสนนาม) ให้นำพาผู้คนไปตั้งบ้านดงนอก ทั้งสามท่านยังเป็นต้นตระกูลข้าโอกาสพระธาตุพนมทั้งสองฝั่งโขงสืบมาจนปัจจุบัน<ref>พระเทพรัตนโมลี, ''เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ท่านเจ้าราชครูขี้หอม)''. กรุงเทพฯ. ๒๕๒๘.</ref>
 
ภายหลังการสถาปนาราชอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์แล้ว (พ.ศ. ๒๒๕๖) เมืองธาตุพนมกลายเป็นหัวเมืองชายพระราชอาณาเขตหรือ[[เมืองขอบด่าน]] ต่อแดนระหว่าง[[ราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์]]และ[[ราชอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์]] โดยมีเมืองละคร ([[นครพนม]]) ซึ่งขึ้นกับนคร[[เวียงจันทน์]] และเมืองบังมุก ([[มุกดาหาร]]) ซึ่งขึ้นกับนคร[[จำปาศักดิ์]] ทั้งสองเมืองเป็นผู้ร่วมกันรักษาดูแล โดยแบ่งเขตแดนเมืองกันที่หน้าลานพระมหาธาตุพนม ทำนองเดียวกันกับพระธาตุศรีสองรักเมืองด่านซ้ายซึ่งเป็นเมืองขอบด่านต่อแดนระหว่างราชอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตและราชอาณาจักรศรีอยุธยา<ref>http://place.thai-tour.com/loei/dansai/271</ref> ดังนั้นเมืองธาตุพนมจึงมีสถานะพิเศษแตกต่างจากหัวเมืองหลายเมืองใน[[ลาว]]และ[[อีสาน]]<ref>http://www.thatphanom.com/2300.html</ref> อย่างไรก็ตาม โดยราชธรรมเนียมแล้วเจ้าเมืองนครพนมมักมีอำนาจในการแต่งตั้งเจ้านายชั้นสูงมาปกครองเมืองพนม อันเนื่องมาจากเมืองมุกดาหารเป็นหัวเมืองที่มีอำนาจน้อยกว่า ในจารึกลานเงินพระธาตุพนมสมัยปลายรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชหรือสมัยพระยาจันทสีหราช (พระยาเมืองแสน) กล่าวว่าเจ้านครวรกษัตริย์ขัติยราชวงศา (พ.ศ. ๒๒๓๘) ได้สิทธิพระพรนามกรถึง '''[[แสนจันทรานิทธสิทธิมงคลสุนทรอมร]]''' สันนิษฐานว่าแสนจันทรานิทธผู้นี้คือผู้ปกครองเมืองธาตุพนมในสมัยนั้น ต่อมาในสมัยปลายอยุธยา เมืองธาตุพนมถูกฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งโดยกลุ่มตระกูลเจ้านายจากราชวงศ์เวียงจันทน์พระนามว่า '''เจ้าพระยาหลวงบุตรโคตรวงศากวานเวียงพระนม''' โอรสของสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารแห่งนครเวียงจันทน์ (พ.ศ. ๒๒๙๔-๒๓๒๒) จากนั้นจึงสถาปนาให้บุตรของตนปกครอง คือ '''[[เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)]]''' ซึ่งในพื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนมออกพระนามเต็มว่า พระอาจชญาหลวงเจ้าพระรามราชปราณีสีสุธมฺมราชา สหสฺสาคามเสลามหาพุทฺธปริษทฺทะบัวระบัติ โพธิสตฺวขัตฺติยวรราชวงศา พระหน่อรามาพุทธังกูร เจ้าเอากาสศาสนานครพฺระมหาธาตุเจ้าพฺระนม พิทักษ์บุรมมหาเจติย วิสุทฺธิรตฺตนสถาน คนทั่วไปออกนามว่า '''เจ้าพ่อขุนราม''' หรือ '''เจ้าพ่อขุนโอกาส''' (พ.ศ. ๒๒๙๑-๒๓๗๑) จากนั้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ. ๒๓๔๘-๒๓๗๑) ทรงเสด็จมาแต่งตั้งพระโอรสของเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) คือ '''[[เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร)]]''' หรืออาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมุงคุล ขึ้นปกครองธาตุพนมต่อจากพระบิดา ซึ่งในอุรังคธาตุออกนามว่า แสนกางน้อยศรีมุงคุรร์<ref>หนังสืออุลังคนีทาน (อุลังคะนิทาน) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๒๕-๒๗</ref> เอกสารบางแห่งกล่าวว่าทรงถูกแต่งตั้งโดยสมเด็จพระเจ้าอุปราชนองแห่งเวียงจันทน์ (พ.ศ. ๒๒๗๓-๒๓๒๒)<ref>หนังสืออุลังคนีทาน (พื้นอุลํกาธา) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๒๔-๒๖ </ref> เจ้านายทั้ง ๓ องค์เป็นต้นตระกูล [[รามางกูร]] แห่งอำเภอธาตุพนมและเป็นญาติใกล้ชิดกับสมเด็จพระเจ้าเจ้าอนุวงศ์ ตระกูลนี้มีอำนาจบทบาทสืบมาจนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาลและถือเป็นต้นตระกูลเก่าแก่หลายตระกูลของอำเภอธาตุพนมในปัจจุบัน เช่น บุคคละ ประคำมินทร์ [[จันทศ]] มันตะ สารสิทธิ์ ลือชา ทามนตรี ทศศะ พุทธศิริ รัตโนธร ครธน สุมนารถ มนารถ อุทา สายบุญ เป็นต้น กลุ่มตระกูลเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มเครือข่ายที่มีบทบาททำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในเมืองธาตุพนมและวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เจ้านายและนายกองตลอดจนกรมการเมืองที่ปกครองธาตุพนมในยุคต่อมา มักมีความสัมพันธ์เกี่ยวดองทางเครือญาติด้วยกัน <ref>มหาดวง รามางกูร (ท้าวดวง บุคคละ), "พื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนม (ประวัติตระกูลรามางกูรแห่งเมืองธาตุพนม)".ม.ป.ท.. ม.ป.ป..</ref> อย่างไรก็ตาม ในพื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนมกล่าวถึงจำนวนผู้ปกครองเมืองพนมโดยพิศดารก่อนการเข้ามาปกครองโดยราชวงศ์เวียงจันทน์ว่า มีเจ้าโอกาส (บ้างออกนามว่าขุนพนม เจ้าพระนม เพียพระนม กวานพนม) ปกครองเมืองธาตุพนมมาแล้วไม่น้อยกว่า ๔๐ องค์จากราชวงศ์ศรีโคตรบูรซึ่งสืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าเฮือนทั้ง ๓ พระองค์
 
ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ (พ.ศ. ๒๓๔๘-๒๓๗๑) เมืองธาตุพนมเกิดปัญหาการถูกรุกรานและการแย่งชิงข้าเลกพระธาตุพนม อันเนื่องมาจากสยามได้ให้อำนาจเจ้าเมืองนครราชสีมาและเจ้าเมืองกาฬสินธุ์มาสักเลกข้าจนได้รับความเดือดร้อนวุ่นวาย และกลายเป็นหนึ่งในชนวนเหตุสงครามสมเด็จพระเจ้าเจ้าอนุวงศ์ด้วย<ref>ทรงพล ศรีจักร์. ''เพ็ชรพื้นเมืองเวียงจันทน์ : พงศาวดารลาวตอนเวียงจันทน์แตก''. กรุงเทพ. ๒๔๗๙. </ref> ปัญหาการแย่งชิงข้าเลกพระธาตุพนมยืดเยื้อจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเจ้าเมืองทั้ง ๓ คือ นครพนม มุกดาหาร และสกลนครแย่งชิงข้าเลขพระธาตุพนมไปเป็นข้าเลขเมืองของตน (พ.ศ. ๒๔๓๒)<ref>เอกสาร ร.๕ ม.๒ (๑๒ ก.) เล่ม ๒๐ ร.ศ. ๑๐๗ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. </ref> เอกสารต่างชาติเรื่องบันทึกการเดินทางในลาว ตรงกับสมัยอาณานิคมฝรั่งเศสของหัวเมืองลาวฝั่งซ้ายกล่าวถึงสาเหตุการแย่งชิงข้าเลกพระธาตุพนมว่า เดิมเมืองธาตุพนมเป็นเมืองอิสระจากอำนาจรัฐ (ก่อน พ.ศ. ๒๔๒๔) หลังการวิวาทของเจ้านายท้องถิ่นทางธาตุพนมได้การขอความคุ้มครองจากเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหาร เป็นเหตุให้ข้าพระธาตุพนมจำนวนมากถูกแย่งชิงไปขึ้นกับเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหารจนไม่เป็นที่พอใจแก่ประชาชนชาวธาตุพนม และเป็นสาเหตุที่ทำให้เมืองธาตุพนมไม่สามารถตั้งเจ้าเมืองได้ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง พร้อมทั้งไม่สามารถตั้งธาตุพนมให้เป็นเมืองในขอบขัณฑเสมาสยามได้ ต่อมาเจ้านายท้องถิ่นได้พยายามขอความคุ้มครองจากสยามแทน ในพื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนมกล่าวว่า ชนวนวิวาทครั้งนี้เกิดจากการแย่งชิงกันขึ้นปกครองข้าโอกาสพระธาตุพนมของพระอัคร์บุตร (บุญมี บุคคละ) พระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) และพระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร) ทั้ง ๓ เป็นทายาทใกล้ชิดของเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส <ref>มหาดวง รามางกูร (ท้าวดวง บุคคละ), "พื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนม (ประวัติตระกูลรามางกูรแห่งเมืองธาตุพนม)".ม.ป.ท.. ม.ป.ป..</ref>อย่างไรก็ตาม ในอุรังคธาตุฉบับม้วนอานิสงส์ และพื้นธาตุหัวอกได้กล่าวถึงปัญหาการแย่งชิงข้าเลกพระธาตุพนมว่ามีมานานตั้งแต่สมัยก่อนเมืองมรุกขนครจะล่มสลาย สมัยนั้นตรงกับรัชกาลของพระยานิรุฏฐราช เอกสารนี้แสดงให้เห็นว่าการที่เมืองมรุกขนครล่มสลายลงก็เนื่องมาจาก พระยานิรุฏราชเจ้าเมืองมรุกขนครให้คนมาแย่งชิงข้าพระธาตุพนมไปใช้สอยในราชการ<ref>อุดร จันทวัน, "ศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องอุรังคธาตุนิทาน : ภาษาทางศาสนาและอิทธิพลต่อสังคม".ม.ป.ท.. ๒๕๔๗.</ref>
 
หลังสมัย[[กบฏเจ้าอนุวงศ์]]แห่งเวียงจันทน์ เมืองพนมมีประชาชนอาศัยอยู่อย่างเบาบางเนื่องจากปัญหาการเมืองการสงคราม และมีฐานะเสมอหนึ่งหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่มีหมู่บ้านขนาดเล็กรายรอบ ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่[[บ้านธาตุพนม]]เช่นเดิม หลังช่วงเวลานี้ไม่นาน ในทัศนะของคนท้องถิ่นเห็นว่าธาตุพนมยังคงเป็นเมืองอยู่ รวมถึงในเอกสารแผนที่ของฝรั่งเศสมากกว่า ๓ ฉบับยังคงออกนามว่า เมืองพนมหรือเมืองธาตุพนมอยู่ จากนั้นไม่นาน ในสมัยรัชกาลที่ ๕ สยามถือว่าธาตุพนมตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของสยาม แต่หลังจากกรณี ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ทำให้สยามไม่สามารถสร้างค่ายหรือที่ตั้งกองทหารในเขต ๒๕ กิโลเมตรจากน้ำโขงทางฝั่งขวา และยังไม่ได้เข้ามาจัดการการปกครองอย่างเต็มรูปแบบ โดยปล่อยให้เจ้านายท้องถิ่นปกครองกันเองตามธรรมเนียมเดิม เป็นเหตุให้เจ้านายธาตุพนมบางส่วนไปฝักใฝ่กับอำนาจฝรั่งเศสเช่นเดียวกับเจ้านายเมืองนครพนม เจ้านายเมืองพาลุกากรภูมิ และเจ้านายเมืองเรณูนคร [[เจ้าเมืองธาตุพนม]]ถูกกล่าวถึงครั้งสุดท้ายในบันทึก ดร. เปแนซ์ หมอชาวฝรั่งเศส (พ.ศ. ๒๔๒๕) นอกจากนี้ ในจารึกการบูรณะพระธาตุพนมได้กล่าวถึงผู้ปกครองเมืองธาตุพนมคนสุดท้ายก่อนถูกยุบลงเป็นกองบ้านธาตุพนม นัยว่าได้ถูกลดอำนาจมาตั้งแต่สมัยหลังสงครามเจ้าอนุวงศ์และมีอายุยืนยาวมาถึงรัชกาลที่ ๕ คือ '''[[พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร)]]''' หรืออาชญาหลวงปาฑี (ก่อน พ.ศ. ๒๔๔๔)