ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเสริม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
น่าจะรวมกันได้ครับ
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
ตามประวัติการสร้างเล่าว่า มีพิธีการทางบ้านเมืองและทางวัดช่วยกันใหญ่โต มีคนสูบเตาหลอมทองอยู่ไม่ขาดระยะเป็นเวลา 7 วัน แล้วทองก็ยังไม่ละลาย ถึงวันที่ 8 เวลาเพล เหลือญาครู (หลวงตา) กับ[[สามเณร]]น้อยรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ได้ปรากฏชีปะขาว (ตาผ้าขาว) ตนหนึ่งมาขอช่วยทำ ญาครู (หลวงตา) กับเณรน้อยจึงไปฉันเพล ฝ่ายญาติโยมที่มาส่งเพลจะลงไปช่วยแต่มองไปเห็นชีปะขาวจำนวนมากช่วยกันสูบเตาอยู่ แต่เมื่อถามพระดูแล้วพระมองลงไปก็เห็นเป็นชีปะขาวตนเดียว พอฉันเพลเสร็จคนทั้งหมดจึงลงมาดูก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง เหตุเพราะได้เห็นทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้ง 3 เบ้า ส่วนชีปะขาวได้หายตัวไปไร่ร่องรอย
 
หลังสร้างเสร็จพระสุก พระเสริม และพระใส ได้ประดิษฐานไว้ที่[[อาณาจักรล้านช้าง]] ณ นครหลวงเวียงจันทน์มาช้านาน คราใดที่เกิดสงครามบ้านเมืองไม่สงบสุขชาวเมืองก็จะนำพระพุทธรูปทั้งสามไปซ่อนไว้ที่ภูเขาควาย หากเหตุการสงบแล้วจึงนำกลับมาประดิษฐานไว้ที่เดิม ส่วนหลักฐานที่ว่าประดิษฐานอยู่ ณ เมืองนคร[[เวียงจันทน์]]ตั้งแต่เมื่อใดนั้นยังไม่มีปรากฏแน่ชัด ทราบเพียงว่าในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] ได้เกิดเหตุการณ์การกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระสงคราม[[เจ้าอนุวงศ์]]ขึ้นที่เมืองนครหลวง[[เวียงจันทน์]] [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดให้ทำลายเมือง[[เวียงจันทน์]]เสียสิ้น จึงให้[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์]]ได้เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ เมื่อเมือง[[เวียงจันทน์]]สงบแล้วจึงได้อัญเชิญ[[พระสุก]] พระเสริม และ[[พระใส]]มาที่[[จังหวัดหนองคาย]]
 
มีคำบอกเล่าว่า คราที่อัญเชิญมานั้นไม่ได้อัญเชิญมาจากเมืองนครหลวง[[เวียงจันทน์]]โดยตรง แต่อัญเชิญมาจากภูเขาควายซึ่งชาวเมืองนำไปซ่อนไว้ การอัญเชิญนั้นได้ประดิษฐานหลวงพ่อทั้งสามไว้บนแพ[[ไม้ไผ่]]ล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงเวินแท่นได้เกิดอัศจรรย์ คือ แท่นของ[[พระสุก]]ได้แหกแพจมลงในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุแรงจัดพัดแพจนเอียง ชะเนาะที่ขันพระแท่นติดกับแพไม่สามารถที่จะทนน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ บริเวณนั้นจึงชื่อว่า “เวินแท่น” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา