ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรุงเทพมหานคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 115.87.205.222 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Geonuch
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 281:
<center>[[ภาพ:PortalTH onlylogo.png|30px|สารานุกรมประเทศไทย]] '''ส่วนหนึ่งของ[[สถานีย่อย:ประเทศไทย|สารานุกรมประเทศไทย]]'''<center>
}}
''' กรุงเทพมหานคร''' เป็น[[เมืองหลวง]]และนครที่มีประชากรมากที่สุดของ[[ประเทศไทย]] เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง [[การเงิน|การเงินการธนาคาร]] การพาณิชย์ [[การสื่อสาร]] และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ [[ฝั่งพระนคร]]และ[[ฝั่งธนบุรี]] กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม. มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่า 5 ล้านคน ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเอกนคร (Primate City) จัด มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็น "เอกนครที่สุดในโลก" เพราะมีประชากรมากกว่านครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ถึง 40 เท่า<ref>{{cite book|last=Baker|first=Chris|title=A history of Thailand|year=2009|publisher=Cambridge University Press|location=Cambridge|isbn=0-521-76768-7|edition=2nd ed.|coauthors=Pasuk Phongpaichit|page=199}}</ref>
<br />
 
มหาวิทยาลัยลัฟเบอระ (Loughborough University) จัดกรุงเทพมหานครว่าเป็นนครโลกระดับแอลฟาลบ<ref>{{cite web|url=http://www.lboro.ac.uk/gawc/world2010t.html |title=GaWC – The World According to GaWC 2010 |publisher=Lboro.ac.uk |date=2011-09-14 |accessdate=2011-09-14}}</ref>
กรุงเทพมหานครยังเป็นเมืองที่มี[[ตึกระฟ้า]]มากที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลก<ref>{{cite web|title=Bangkok - The Skyscraper Center |url=http://skyscrapercenter.com/city/bangkok |date= |accessdate=2015-01-21}}</ref> มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น [[พระบรมมหาราชวัง]] [[พระที่นั่งวิมานเมฆ]] วัดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีแหล่งจับจ่ายใช้สอยและค้าขายที่สำคัญซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติมากมาย โดยในปี [[พ.ศ. 2555]] องค์กรการท่องเที่ยวโลก (UNWTO) ได้จัดอันดับกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีคนเดินทางเข้าเป็นอันดับที่ 10 ของโลกและเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชีย โดยมีคนเดินทางมากกว่า 26.5 ล้านคน<ref name="april11">{{cite journal |url=http://www.unwto.org/facts/eng/pdf/barometer/UNWTO_Barom11_iu_april_excerpt.pdf|title=Interim Update |journal=UNWTO World Tourism Barometer |accessdate=26 June 2011 |publisher=UNWTO |date=April 2011}}{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> นอกจากนี้จากการจัดอันดับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมาสเตอร์การ์ด ประจำปี [[พ.ศ. 2557]] กรุงเทพมหานครมีการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของนักท่องเที่ยวถึง 16.42 ล้านดอลลาร์ เป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจาก[[กรุงลอนดอน]] [[สหราชอาณาจักร]] เท่านั้น<ref name="insights.mastercard.com">http://newsroom.mastercard.com/wp-content/uploads/2014/07/Mastercard_GDCI_2014_Letter_Final_70814.pdf</ref>
 
กรุงเทพมหานครเป็น[[เขตปกครองพิเศษ]]ของ[[ประเทศไทย]] มิได้มีสถานะเป็น[[จังหวัด]] คำว่า "กรุงเทพมหานคร" นั้นยังใช้เรียก[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร]]อีกด้วย กรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง แต่ปัจจุบันผู้บริหารกรุงเทพมหานครมาจากการแต่งตั้ง
 
ในสมัย[[อาณาจักรอยุธยา|กรุงศรีอยุธยา]] กรุงเทพมหานครยังเป็นเพียง[[สถานีการค้า]]ขนาดเล็กอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมามีขนาดเพิ่มขึ้นและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง 2 แห่งคือ [[กรุงธนบุรี]] ในปี [[พ.ศ. 2311]] และกรุงรัตนโกสินทร์ใน [[พ.ศ. 2325]] กรุงเทพมหานครเป็นหัวใจของการทำให้ประเทศสยามทันสมัยและเป็นเวทีกลางของการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 นครเติบโตอย่างรวดเร็วและปัจจุบันมีผลกระทบสำคัญต่อการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สื่อและสังคมสมัยใหม่ของไทย ในช่วงที่การลงทุนในเอเชียรุ่งเรือง ทำให้บรรษัทข้ามชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ภูมิภาคในกรุงเทพมหานคร ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นกำลังหลักทางการเงินและธุรกิจในภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งและสาธารณสุขระหว่างประเทศและกำลังเติบโตเป็นศูนย์กลางศิลปะ แฟชัน และการบันเทิงในภูมิภาค อย่างไรก็ดี การเติบโตอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครขาดการวางผังเมือง ทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ ถนนที่จำกัดและการใช้รถส่วนบุคคลอย่างกว้างขวางส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรติดขัด
 
{{TOC limit|2}}
เส้น 287 ⟶ 294:
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:La Loubere map of Bangkok (English).jpg|thumb|left|upright|แผนที่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ใน ''Du Royaume de Siam'' ของ [[ซีมง เดอ ลา ลูแบร์]]]]
พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ชาวต่างชาติเรียกกันว่า "บางกอก" มาตั้งแต่สมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]<ref name="bkkstudy">{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ|ชื่อหนังสือ=กรุงเทพศึกษา|URL=|จังหวัด=กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่=บันทึกสยาม|ปี=2551|ISBN=978-974-13-0411-0|จำนวนหน้า=288}}</ref> มีความสำคัญเนื่องจากเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่าง ๆ เป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บ[[ภาษี]]กับเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก ส่วนบริเวณปากน้ำตรง[[อ่าวไทย]] เรียกกันว่า "นิวอัมสเตอร์ดัม" มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณ[[อำเภอพระประแดง]]<ref name="bkkstudy" />
<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/824509 ชาวกรุง 'ป่วยทางเดินหายใจ' พุ่ง ชี้มลพิษทางอากาศสาเหตุตายอันดับต้นๆ]</ref>
 
ที่มาของคำว่า "บางกอก" นั้น มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากการที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า "บางเกาะ" หรือ "บางโคก" หรือไม่ก็เป็นเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า "บางมะกอก" โดยคำว่า "บางมะกอก" มาจาก[[วัดอรุณ]] ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัดดังกล่าว และต่อมากร่อนคำลงจึงเหลือแต่คำว่าบางกอก<ref name="bkkstudy" /><ref>รายการ[[วิกสยาม]] ออกอากาศวันที่ [[17 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2551|2551]]</ref>
 
ต่อมาเมื่อถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาใน [[พ.ศ. 2310]] หลังการกอบกู้อิสรภาพจากพม่า [[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]ทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ เมื่อวันที่ [[3 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2313]]<ref name="bkkstudy" /> ครั้นสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในวันที่ [[6 เมษายน]] [[พ.ศ. 2325]] สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่า[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ปฐมกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]] มีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีมีชัยภูมิดีกว่าตะวันตก เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของ[[กรุงศรีอยุธยา]]<ref name="bkkstudy" />
 
พระองค์มีพระบรมราชโองการให้[[พระยาธรรมาธิกรณ์]]กับ[[พระยาวิจิตรนาวี]] เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่ดินเพื่อสร้างพระนครใหม่ในวันที่ [[8 เมษายน]] [[พ.ศ. 2325]] ทรงประกอบ[[พิธียกเสาหลักเมือง]] เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 9 บาท (54 นาที) ปีขาล [[จ.ศ. 1144]] จัตวาศก ตรงกับวันที่ [[21 เมษายน]] [[พ.ศ. 2325]] เวลา 6.54 น.<ref name="bkkstudy" /> และทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกในวันที่ [[13 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2325]]<ref name=autogenerated3>พระราชทานนามพระนครตามที่ได้กล่าวไว้[[#ชื่อเมือง|ข้างต้น]]แล้ว [http://web.archive.org/20080821022318/city.bangkok.go.th/th/bangkok-history.php ความเป็นมากรุงเทพฯ]</ref>
 
ต่อมาในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงเปลี่ยนชื่อพระนครจาก '''บวรรัตนโกสินทร์''' เป็น '''อมรรัตนโกสินทร์''' และมีฐานะในการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น '''[[จังหวัดพระนคร]]'''<ref>ศิลปากร,กรม, กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, '''จดหมายเหตุการณ์อนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์''' (กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์, ๒๕๒๕), หน้า ๓๓.</ref>
 
ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนใหม่ขึ้น ทรงดำริให้ตัดถนนเจริญกรุง เป็นถนนเส้นแรกในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/society/20110204/375444/150-ปีถนนเจริญกรุง-ถนนสายแรกที่มีรัก.html 404<!-- Bot generated title -->]</ref> และเปลี่ยนรูปแบบผังเมืองกรุงเทพมหานครเฉกเช่นอารยประเทศ เนื่องจากในสมัยนั้นสยามประเทศถูกคุกคามจากมหาอำนาจยุโรป และตรงจุดนี้เป็นหนึ่งในข้ออ้างที่มหาอำนาจนำมาใช้เพื่อแทรกแซงและคุกคามสยามประเทศ ภายหลัง ต่างชาติยุโรปเองได้ยอมรับกรุงเทพมหานครว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่มีผังเมืองงดงามที่สุดในโลกในสมัยนั้น<ref>รายการ 100 ปี ไกลบ้าน ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวง และ รายการพินิจนคร, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส</ref>
 
ต่อมาเมื่อวันที่ [[21 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2514]] รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรได้รวม '''[[จังหวัดพระนคร]]''' และ '''[[จังหวัดธนบุรี]]''' เข้าด้วยกันเป็น '''นครหลวงกรุงเทพธนบุรี'''<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=๘๘|issue=๑๔๔ ก|pages=๘๑๖-๘๑๙|title= ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/A/144/816.PDF|date=๒๑ ธันวาคม ๒๕๑๔|language=Thai}}</ref> และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ [[14 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2515]] จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น '''กรุงเทพมหานคร''' แต่นิยมเรียกกันว่า '''กรุงเทพฯ'''<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=๘๙|issue=๙๓ ก ฉบับพิเศษ|pages=๑๘๗-๒๐๑|title= ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๖๘|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/A/190/187.PDF|date=๑๗ มิถุนายน ๒๕๑๕|language=Thai}}</ref>
 
ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 รัฐบาล [[สัญญา ธรรมศักดิ์]] ได้ ประกาศ[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]]ในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร เป็นครั้งแรก<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/A/115/3.PDF</ref>ภายหลังจากนั้นรัฐบาลได้ประกาศ[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]]ในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2528/A/122/2.PDF</ref>วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/2.PDF</ref>วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/144/1.PDF</ref>วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2552<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/055/1.PDF</ref>วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/045/1.PDF</ref>และ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/013/1.PDF</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครได้รับการประกาศจาก[[องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ]] ให้เป็นเมืองหนังสือโลก หรือ World Book Capital ประจำปี พ.ศ. 2556<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/read-write/20110710/399569/กรุงเทพมหานคร-:-เมืองหนังสือโลก-2556.html 404<!-- Bot generated title -->]</ref> กรุงเทพมหานครติดอันดับที่ 102 เมืองน่าอยู่ของโลก จัดอันดับโดย The Economist Intelligence Unit<ref>[http://www.suthichaiyoon.com/detail/14568]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref>
 
ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562 พลตำรวจเอก [[อัศวิน ขวัญเมือง]] ได้ออกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ เนื่องจากวิกฤตปัญหามลพิษ โดยมีโรงเรียนจำนวนมากรวมถึงมหาวิทยาลัย<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/825703 มหาวิทยาลัยรอบกรุง-ปริมณฑล ทยอยปิดเรียน]</ref>ที่สั่งปิดการเรียนการสอน ผู้ป่วยจำนวนมากเป็นเด็ก<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/824509 ชาวกรุง 'ป่วยทางเดินหายใจ' พุ่ง ชี้มลพิษทางอากาศสาเหตุตายอันดับต้นๆ]</ref>
 
== ชื่อเมือง ==
[[ไฟล์:Bangkok montage 3.jpg|left|250px|thumb|กรุงเทพมหานคร]]
{{Listen|filename = Th-Bangkok ceremonial name.ogg|(sample)|title = ชื่อเต็มกรุงเทพมหานคร}}
คำว่า "กรุงเทพมหานคร" แปลว่า "พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร" มาจากชื่อเต็มว่า '''กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์'''<ref name="royin">{{cite journal|journal=Royal Institute Newsletter|volume=3|issue=31|date=December 1993|title=กรุงเทพมหานคร}} Reproduced in {{cite web|title=กรุงเทพมหานคร|trans-title=Krung Thep Mahanakhon|language=Thai|url=http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=639|accessdate=12 September 2012|archive-url=https://web.archive.org/web/20141206140602/http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=639|archive-date=2016-12-10}}</ref> มีความหมายว่า "พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วย[[นพรัตน์|แก้วเก้าประการ]] น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้"<ref name="bbkgov">[http://web.archive.org/20071026091556/www.bangkok.go.th/th/bangkok-history.php ความเป็นมากรุงเทพฯ โดยกรุงเทพมหานคร]</ref>
'''กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิท'''<references group = note/>
 
โดยนามเดิมที่[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] โปรดเกล้าฯ พระราชทานในตอนแรกนั้น ใช้ชื่อว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา” ต่อมาในในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา” จนถึงรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ จนเป็นที่มาของชื่อเต็มของ[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ข้างต้น<ref name="bbkgov"/>
 
ชื่อทางการของกรุงเทพมหานครเมื่อถอดเป็น[[อักษรโรมัน]] คือ "Krung Thep Maha Nakhon" สำหรับต่างชาติ ชื่อ "Bangkok" มาจากการทัพศัพท์คำว่าบางกอกเป็นภาษาฝรั่งเศส โดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อ เดอ ลามาร์ (De Lamar) ได้ก่อสร้างป้อมบางกอก ซึ่งเป็นป้อมดาวขนาดใหญ่ ปัจจุบันถูกแปรรูปเป็น[[โรงเรียนราชินี]], [[มิวเซียมสยาม]] และบางส่วนของ[[วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร|วัดโพธิ์]] และปัจจุบันชาวต่างชาติยังคงใช้ชื่อนี้เป็นชื่อเรียกชื่อเมือง
 
กรุงเทพมหานครได้ชื่อว่าเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกบันทึกไว้ในกินเนสส์บุ๊ก แปลความเป็นภาษาอังกฤษว่า "City of angels, great city of immortals, magnificent city of the nine gems, seat of the king, city of royal palaces, home of gods incarnate, erected by Visvakarman at Indra's behest."<ref name="royin"/>
 
ชื่อเต็มของกรุงเทพมหานคร เมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ "Krungthepmahanakhon Amonrattanakosin Mahintharayutthaya Mahadilokphop Noppharatratchathaniburirom Udomratchaniwetmahasathan Amonphimanawatansathit Sakkathattiyawitsanukamprasit"<ref name="royin"/> ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ที่ยาวที่สุดในโลกและได้จดบันทึกไว้ใน[[กินเนสบุ๊ค]]<ref>{{Cite web|url=http://bangkokpost.net/breaking_news/breakingnews.php?id=112626|publisher=Bangkok Post|title=Maori claims world's longest place name|date=1 September 2006|archive-url=https://web.archive.org/web/20081226180312/http://bangkokpost.net/breaking_news/breakingnews.php?id=112626|archive-date=26 December 2008|access-date=1 December 2019}}</ref> (169 ตัวอักษร) ยาวกว่าชื่อภูเขา "[[ตาอูมาตาวากาตังกีฮังกาโกอาอูอาอูโอตามาทีอาโปกาอีเวนูอากีตานาตาฮู]]" ("Taumatawhakatangihangakoauauotamateaturipukakapikimaungahoronukupokaiwhenuakitanatahu") (85 ตัวอักษร) ใน[[ประเทศนิวซีแลนด์|นิวซีแลนด์]] และชื่อทะเลสาบ "[[ทะเลสาบเว็บสเตอร์|ชาร์ก็อกกาก็อกมานชาอ็อกกาก็อกเชาบูนากุนกามาอัก]]" ("Chargoggagogg­manchauggagogg­chaubunagungamaugg") (45 ตัวอักษร) ใน[[รัฐแมสซาชูเซตส์]] [[สหรัฐอเมริกา]]
 
=== สัญลักษณ์ประจำกรุงเทพมหานคร ===
* '''[[คำขวัญประจำจังหวัด|คำขวัญของกรุงเทพมหานคร]]''' คือ "[[กรุงเทพมหานคร|กรุงเทพฯ]] ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัดวังงามเรืองรอง [[เมืองหลวง]]ของ[[ประเทศไทย]]" หลังกรุงเทพมหานคร สรุปยอดคะแนนโหวตคำขวัญกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ [[14 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2555]]<ref>[http://www.dailynews.co.th/thailand/114346 ได้แล้วคำขวัญ "กรุงเทพฯ" ถ่ายทอดสดจับรางวัล 1 แสน]</ref>
* '''[[ตราประจำจังหวัดของไทย|ตราของกรุงเทพมหานคร]]''' เป็นรูป[[พระอินทร์]]ทรง[[ช้างเอราวัณ]] พระหัตถ์ทรงสายฟ้า ตรานี้กรมศิลปากรออกแบบโดยอาศัยภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของ[[สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]]เป็นต้นแบบ เริ่มใช้ในปี [[พ.ศ. 2516]] ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ [[พ.ศ. 2482]] ฉบับที่ 60 ลงวันที่ [[31 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2516]] (สมัยเมื่อยังเป็นจังหวัดพระนครนั้นใช้ตรา[[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]]เป็น[[ตราประจำจังหวัดของไทย|ตราประจำจังหวัด]])
* '''[[ต้นไม้ประจำจังหวัด|ต้นไม้ประจำกรุงเทพมหานคร]]''' คือ ต้น[[ไทรย้อยใบแหลม]] ({{lang|la|''Ficus benjamina''}})
* '''[[สัตว์น้ำประจำจังหวัด|สัตว์น้ำประจำกรุงเทพมหานคร]]''' คือ [[ปลากระโห้]] ({{lang|la|''Catlocarpio siamensis''}})
 
== ภูมิศาสตร์ ==
==== อาณาเขตติดต่อ ====
กรุงเทพมหานครมีอาณาเขตทางบกติดต่อกับ[[จังหวัดสมุทรสาคร]] [[จังหวัดนครปฐม]] [[จังหวัดนนทบุรี]] [[จังหวัดปทุมธานี]] [[จังหวัดฉะเชิงเทรา]] และ[[จังหวัดสมุทรปราการ]] ส่วนอาณาเขตทางทะเล[[อ่าวไทย]]ตอนใน ติดต่อ[[จังหวัดเพชรบุรี]] จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ และ[[จังหวัดชลบุรี]] โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
* '''ทิศเหนือ''' มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี
 
* '''ทิศตะวันออก''' มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
 
* '''ทิศใต้''' มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการและอ่าวไทย (ส่วนที่เป็นอ่าวไทยที่เป็นพื้นที่เดิมของ[[จังหวัดธนบุรี]] ปัจจุบันคือ[[เขตบางขุนเทียน]] ซึ่งมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อทางอ่าวไทยกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ จุดที่อยู่ใต้สุดอยู่ที่[[ละติจูด]] 13 องศา 13 ลิปดา 00 ฟิลิปดาเหนือ, [[ลองจิจูด]] 100 องศา 27 ลิปดา 30 ฟิลิปดาตะวันออก ซึ่งเป็นการแบ่งตามพระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502)
 
* '''ทิศตะวันตก''' มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครปฐม
 
=== ภูมิประเทศ ===
 
[[ไฟล์:Bangkok satellite city-area.jpg|thumb|right|กรุงเทพมหานครจากภาพถ่ายดาวเทียม]]
 
กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ 1,568.7 ตร.กม. เป็นจังหวัด (โดยอนุโลม) ที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 68 ของไทย เป็นเมืองที่กว้างที่สุดของโลก<ref>[http://www.raffles.ac.th/th/study-in-th/intro-to-bk.html]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 73 ของโลก<ref name="CityMayors">{{cite web|url=http://www.citymayors.com/statistics/largest-cities-area-125.html|title=The largest cities in the world by land area, population and density|date=6 January 2007|publisher=City Mayors|accessdate=19 July 2008}}</ref> และเป็นเมืองหลวงที่มีพื้นที่กว้างเป็นอันดับ 4 ของภูมิภาค[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]<ref>{{cite web|url=http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/3/2014-11-26/01/|title= AEC INSIGHT กับ เกษมสันต์: ข่าววันใหม่|date=26 November 2014|accessdate=26 November 2014|publisher= ช่อง 3}}</ref> ด้วยมี[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ซึ่งทอดตัวยาว 372 กม. พาดผ่านพื้นที่ ทำให้กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก พื้นที่ส่วนมากในกรุงเทพมหานครเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่บนพื้นที่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำซึ่งเกิดจากตะกอนน้ำพา มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1.50-2 ม. โดยมีความลาดเอียงจากทิศเหนือสู่อ่าวไทยทางทิศใต้ และเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1.50 เมตร ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้งในช่วงฤดู​​มรสุม
 
=== ภูมิอากาศ ===
<!--{{ตารางอากาศ|กรุงเทพมหานคร
| 21.0|32.0|9.1
| 23.3|32.7|29.9
| 24.9|33.7|28.6
| 26.1|34.9|64.7
| 25.6|34.0|220.4
| 25.4|33.1|149.3
| 25.0|32.7|154.5
| 24.9|32.5|196.7
| 24.6|32.3|344.2
| 24.3|32.0|241.6
| 23.1|31.6|48.1
| 20.8|31.3|9.7
| แหล่งข้อมูล = [http://www.tmd.go.th/province_stat.php?StationNumber=48455 อุณหภูมิและปริมาณฝนกรุงเทพมหานครค่าเฉลี่ย 30 ปี ระหว่าง [[พ.ศ. 2504]] - [[พ.ศ. 2533]]
| ตำแหน่ง = ขวา}}
-->
กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในเขตร้อน มีภูมิอากาศร้อนแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามเกณฑ์การแบ่งภูมิอากาศโลกของ[[วลาดีมีร์ เคิปเปิน]]<ref>[http://www.rmutphysics.com/CHARUD/naturemystery/sci3/geology/4/index_ch_4-5.htm "Global Climate System"] การกระจายเขตภูมิอากาศของโลกแบบเคิปเปน ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล </ref> คืออุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุดสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส มีอย่างน้อย 1 เดือนที่ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 60 มิลลิเมตร และเดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุดจะมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 100 ลบปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี หารด้วย 25 {{อ้างอิง}}
 
อากาศของกรุงเทพมหานครได้รับอิทธิพลจาก[[มรสุมตะวันตกเฉียงใต้]] (กลางเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม) และ[[มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ]] (เดือนพฤศจิกายน - กลางเดือนกุมภาพันธ์)<ref>[http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=52 "ลมมรสุม"]หนังสืออุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา</ref> ทำให้มีฝนตกในช่วงบ่ายถึงค่ำอย่างสม่ำเสมอ และยังก่อให้เกิด[[ร่องมรสุม]]พาดผ่านในเดือนพฤษภาคมกับเดือนกันยายนซึ่งทำให้มีฝนตกหนักกว่าปกติ แต่ในช่วงเดือนมิถุนายน - เดือนกรกฎาคม ร่องมรสุมนี้จะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านทางเหนือ<ref>[http://e-book.ram.edu/e-book/g/GE253 (50)/GE253-3.pdf "ภูมิอากาศ"]E-Learning มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดย รศ.ปานทิพย์ อัฒนวานิช </ref> ทำให้ฝนตกน้อยลง เดือนพฤศจิกายน เมื่อ[[ซีกโลกเหนือ]]หันออกจากดวงอาทิตย์ หย่อมความกดอากาศสูงจากจีนจะแผ่ลงมา มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดเอาความแห้งแล้งและหนาวเย็นมาทำให้อากาศเย็นและแห้ง ท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีเมฆและฝนตกน้อย ครึ่งหลังของเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะอ่อนกำลังลง เป็นการเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูร้อน อากาศจะร้อนขึ้นเรื่อย ๆ กระแสลมในช่วงนี้จะพัดมาจากทางใต้หรือตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่าลมตะเภา<ref>[http://www.marine.tmd.go.th/thai/windhtml/windhtml.html "ลม"]ศูนย์อุตุนิยมวิทยาทะเล Thai Marine Meteological Center</ref>
 
ในวันที่ 27 หรือ 28 เมษายน ของทุกปี ดวงอาทิตย์จะส่องตั้งฉากกับกรุงเทพมหานครพอดี ทำให้ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่และมักคาดการณ์กันว่าเป็นวันที่อากาศร้อนที่สุดของปี<ref>[http://www.space.mict.go.th/knowledge.php?id=hottest "วันที่อากาศร้อนที่สุด"]โดย วิศิษฐ์ สุขจิตร ศูนย์ความรู้ สำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ</ref> อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึกได้คือ 40.8 องศาเซลเซียส ที่[[ท่าอากาศยานดอนเมือง]] เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2526<ref>[http://www.weather.go.th/programs/uploads/tempstat/max_stat_latest.pdf "สถิติอุณหภูมิสูงที่สุดในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ระหว่าง [[พ.ศ. 2494]] - [[พ.ศ. 2555"]] กรมอุตุนิยมวิทยา </ref> ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้คือ 9.9 องศาเซลเซียส ที่[[ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์]] เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2498<ref>[http://www.weather.go.th/programs/uploads/tempstat/min_stat_latest.pdf"สถิติอุณหภูมิต่ำที่สุดในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย คาบ 61 ปี พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2554" สถิติภูมิอากาศ อุณหภูมิต่ำสุด </ref>
 
{{Weather box
| location = กรุงเทพมหานคร (2504-2533)
| metric first = Yes
| single line = Yes
| Jan high C = 32.0
| Feb high C = 32.7
| Mar high C = 33.7
| Apr high C = 34.9
| May high C = 34.0
| Jun high C = 33.1
| Jul high C = 32.7
| Aug high C = 32.5
| Sep high C = 32.3
| Oct high C = 32.0
| Nov high C = 31.6
| Dec high C = 31.3
| year high C = 32.7
| Jan mean C = 25.9
| Feb mean C = 27.4
| Mar mean C = 28.7
| Apr mean C = 29.7
| May mean C = 29.2
| Jun mean C = 28.7
| Jul mean C = 28.3
| Aug mean C = 28.1
| Sep mean C = 27.8
| Oct mean C = 27.6
| Nov mean C = 26.9
| Dec mean C = 25.6
| year mean C = 27.8
| Jan low C = 21.0
| Feb low C = 23.3
| Mar low C = 24.9
| Apr low C = 26.1
| May low C = 25.6
| Jun low C = 25.4
| Jul low C = 25.0
| Aug low C = 24.9
| Sep low C = 24.6
| Oct low C = 24.3
| Nov low C = 23.1
| Dec low C = 20.8
| year low C = 24.1
| Jan rain mm = 9.1
| Feb rain mm = 29.9
| Mar rain mm = 28.6
| Apr rain mm = 64.7
| May rain mm = 220.4
| Jun rain mm = 149.3
| Jul rain mm = 154.5
| Aug rain mm = 196.7
| Sep rain mm = 344.2
| Oct rain mm = 241.6
| Nov rain mm = 48.1
| Dec rain mm = 9.7
| rain colour =
| year rain mm = 1496.8
| Jan rain days = 1
| Feb rain days = 3
| Mar rain days = 3
| Apr rain days = 6
| May rain days = 16
| Jun rain days = 16
| Jul rain days = 18
| Aug rain days = 20
| Sep rain days = 21
| Oct rain days = 17
| Nov rain days = 6
| Dec rain days = 1
| unit rain days = 1 mm
| Jan sun = 272.8
| Feb sun = 251.4
| Mar sun = 269.7
| Apr sun = 258.0
| May sun = 217.0
| Jun sun = 177.0
| Jul sun = 170.5
| Aug sun = 161.2
| Sep sun = 156.0
| Oct sun = 198.4
| Nov sun = 234.0
| Dec sun = 263.5
| source 1 = กรมอุตุนิยมวิทยา<ref>
{{cite web
| title = 30 year Average (1961-1990) - BANGKOK METROPOLIS
| url = http://www.tmd.go.th/EN/province_stat.php?StationNumber=48455
| publisher = Thai Meteorological Department
| accessdate = 2010-04-19
}}</ref>
| source 2 = หอสังเกตการณ์ฮ่องกง<ref name = HKO >
{{cite web
| title = Climatological Normals of Bangkok
| url = http://www.hko.gov.hk/wxinfo/climat/world/eng/asia/se_asia/bangkok_e.htm
| publisher = [[Hong Kong Observatory]]
| accessdate = 2010-06-24
}}</ref>
| date = August 2010
}}
 
== การบริหาร ==
{{บทความหลัก|กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)}}
[[ไฟล์:Seal Phra Nakhon.png|thumb|100px|ตราประจำจังหวัดพระนคร]]
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528<ref>[http://office.bangkok.go.th/pcd/law/1.pd]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> กำหนดให้กรุงเทพมหานครมีสถานะเป็นนิติบุคคล และ[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ]] มี[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] มาจาก[[การเลือกตั้ง]]โดยตรง และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อยู่ในตำแหน่งตามวาระคราวละสี่ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่ต้องดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/050/T_0142.PDF พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562]</ref>โดยมีฝ่ายนิติบัญญัติ คือ[[สภากรุงเทพมหานคร]] ที่ได้รับการเลือกตั้งจากชาวกรุงเทพมหานครเช่นกัน ดำเนินงานร่วมด้วย
 
พลตำรวจเอก [[อัศวิน ขวัญเมือง]] เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน โดยดำรงตำแหน่งในวันทื่ [[18 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2559]] รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 4 รายได้แก่ พล.อ.[[นางวรรณวิไล พรหมลักขโณ|จีระศักดิ์ ชมประสพ]] นาย[[สกลธี ภัททิยกุล]] นาย[[ศักดิ์ชัย บุญมา]] พล.ต.ท.[[โสภณ พิสุทธิวงษ์]]
 
นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ เป็น[[ปลัดกรุงเทพมหานคร]] ตั้งแต่วันที่ [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2559|พ.ศ. 2559]] นาง วัลยา วัฒนรัตน์<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/243/T_0020.PDF</ref> เป็น รองปลัดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562
 
ผู้บัญชาการ[[ตำรวจนครบาล]]คนปัจจุบัน คือ พลตำรวจโท สุทธิพงษ์ วงษ์ปิ่น
 
มีที่ทำการตั้งอยู่ที่[[วังปารุสกวัน]] ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเหตุอาชญากรรมการจราจรและงานปราบปรามยาเสพติดในกรุงเทพมหานคร
 
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
=== เขต ===
{{บทความหลัก|เขต (หน่วยการปกครอง)}}
[[ไฟล์:Khet_Bangkok.svg|thumb|600px|แผนที่แสดงเขต 50 เขตของกรุงเทพมหานคร]]
รายชื่อเขต 50 เขตของกรุงเทพมหานคร
<center>
{|
|- style="vertical-align:top;"
| |
# [[เขตพระนคร]]
# [[เขตดุสิต]]
# [[เขตหนองจอก]]
# [[เขตบางรัก]]
# [[เขตบางเขน]]
# [[เขตบางกะปิ]]
# [[เขตปทุมวัน]]
# [[เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย]]
# [[เขตพระโขนง]]
# [[เขตมีนบุรี]]
# [[เขตลาดกระบัง]]
# [[เขตยานนาวา]]
# [[เขตสัมพันธวงศ์]]
# [[เขตพญาไท]]
# [[เขตธนบุรี]]
# [[เขตบางกอกใหญ่]]
# [[เขตห้วยขวาง]]
# [[เขตคลองสาน]]
# [[เขตตลิ่งชัน]]
# [[เขตบางกอกน้อย]]
# [[เขตบางขุนเทียน]]
# [[เขตภาษีเจริญ]]
# [[เขตหนองแขม]]
# [[เขตราษฎร์บูรณะ]]
# [[เขตบางพลัด]]
| |
<ol start=26>
<li>[[เขตดินแดง]]
<li>[[เขตบึงกุ่ม]]
<li>[[เขตสาทร]]
<li>[[เขตบางซื่อ]]
<li>[[เขตจตุจักร]]
<li>[[เขตบางคอแหลม]]
<li>[[เขตประเวศ]]
<li>[[เขตคลองเตย]]
<li>[[เขตสวนหลวง]]
<li>[[เขตจอมทอง]]
<li>[[เขตดอนเมือง]]
<li>[[เขตราชเทวี]]
<li>[[เขตลาดพร้าว]]
<li>[[เขตวัฒนา]]
<li>[[เขตบางแค]]
<li>[[เขตหลักสี่]]
<li>[[เขตสายไหม]]
<li>[[เขตคันนายาว]]
<li>[[เขตสะพานสูง]]
<li>[[เขตวังทองหลาง]]
<li>[[เขตคลองสามวา]]
<li>[[เขตบางนา]]
<li>[[เขตทวีวัฒนา]]
<li>[[เขตทุ่งครุ]]
<li>[[เขตบางบอน]]
</ol>
| |
|}
</center>
 
== ประชากร ==
{| class="wikitable" style="float:left;"
|-
! colspan="2"|สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร <br> กรุงเทพมหานคร<ref> สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html] 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.</ref>
|-
! ปี (พ.ศ.) !! ประชากร
|-
| 2550 || 5,716,248
|-
| 2551 || 5,710,883
|-
| 2552 || 5,702,595
|-
| 2553 || 5,701,394
|-
| 2554 || 5,674,843
|-
| 2555 || 5,673,560
|-
| 2556 || 5,686,252
|-
| 2557 || 5,692,284
|-
| 2558 || 5,696,409
|-
| 2559 || 5,686,646
|-
| 2560 || 5,682,415
|-
| 2561 || 5,676,648
|-
| 2562 || 5,666,264
|-
|}
 
{{See also|รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร#รายชื่อเขตเรียงตามจำนวนประชากร}}
 
ปี [[พ.ศ. 2558]] [[เขตสายไหม]] เป็นเขตที่มีประชากรมากที่สุดในกรุงเทพมหานครแทนที่ [[เขตบางแค]] มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 197,715 ราย
 
ปี [[พ.ศ. 2554]] กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นอันดับที่ 13 ของโลก<ref>[http://www.citymayors.com/statistics/largest-cities-mayors-1.html City Mayors: Largest cities in the world and their mayors - 1 to 150<!-- Bot generated title -->]</ref> ทั้งนี้ เนื่องจากประชากรในกรุงเทพมหานครนั้นมีทั้งที่เป็นแรงงานข้ามชาติ ประชาชนจากต่างจังหวัด ซึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียนราษฎรที่กรุงเทพมหานครจำนวนมาก
 
== เศรษฐกิจ ==
[[ไฟล์:Central Embassy Mockup.jpg|thumbnail|[[เซ็นทรัล เอ็มบาสซี]]]]
 
กรุงเทพมหานครมีรายได้หลักจากการเก็บ[[ภาษีมูลค่าเพิ่ม]]<ref name=autogenerated4>[http://203.155.220.217/finance/stat.html ข้อมูลสถิติด้านการเงินการคลัง‏<!-- Bot generated title -->]</ref>โดยในอดีตที่ผ่านมารายได้นี้มีมากกว่าเงินที่รัฐบาลสนับสนุน
 
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย [[ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ]]ร้อยละ 25 มาจากรุงเทพมหานคร<ref name="autogenerated1">[http://203.155.220.117:8080/BMAWWW/upload/module_cms/title_cms/file_cbbe49a141f7a94c8a382670ac51c39d.pdf]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> ซึ่งมาจากการค้าปลีกและค้าส่งมากที่สุด ร้อยละ 24.31 รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมโรงงาน ร้อยละ 21.23 อุตสาหกรรมขนส่งและอุตสาหกรรมสื่อสาร ร้อยละ 13.89 [[โรงแรม]]และ[[ภัตตาคาร]] ร้อยละ 9.04
 
กรุงเทพมหานครยังเป็นอีกเมืองหนึ่งที่กลุ่มทุนข้ามชาติต้องการเข้ามาทำธุรกิจในกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง โดยใน [[พ.ศ. 2529]] บริษัทญี่ปุ่นต่าง ๆ ได้ดำเนินการอย่างจริงจังในการเคลื่อนไหวที่จะย้ายฐานการผลิตออกสู่ต่างประเทศ เป้าหมายหนึ่งคือ ที่กรุงเทพมหานคร<ref>[http://www.th.emb-japan.go.jp/th/relation/economic.htm สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย<!-- Bot generated title -->]</ref><!-- ล้าสมัย -->
 
จากการขยายธุรกิจของต่างชาติส่งผลให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานครจำนวนมาก<ref>[http://www.ryt9.com/s/bkp/1375849 กรุงเทพโพลล์: แรงงานต่างด้าว ปัญหาและความจำเป็นต่อเศรษฐกิจไ<!-- Bot generated title -->]</ref> ส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหาความแออัดในกรุงเทพมหานครมากขึ้น แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ถูกยกเป็นข้อสนับสนุนและเป็นหลักฐานว่า กรุงเทพมหานครกำลังเผชิญกับภาวะการขาดแคลนแรงงานเพราะโครงสร้างประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง<ref>http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q2/2008april29p1.htm</ref>
 
การคมนาคมเข้าสู่กรุงเทพมหานครมีมากกว่าจังหวัดอื่น เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง รวมถึงถนนในกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนกว่า 250 สาย กรุงเทพมหานครเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม 4 แห่ง<ref>[http://archive.is/20120802174252/www.ieat.go.th/ieat/index.php?option=com_content&view=article&id=76&Itemid=116&lang=th นิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย<!-- Bot generated title -->]</ref> ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสาหกรรมบางชัน นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี โครงการ 2 และ นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี
 
อนึ่ง เมื่อปี [[พ.ศ. 2552]] เป็นปีแรกในรอบ 5 ปี ซึ่งโครงสร้างเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครหดตัวลง ยกเว้นภาคธนาคารและภาคบริหารของรัฐ<ref name="autogenerated1"/> และในปี [[พ.ศ. 2557]] อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (อีไอยู) หน่วยงานวิจัยในเครือ อีโคโนมิสต์ กรุ๊ป รายงานการจัดอันดับ เมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลกประจำปี ผลปรากฏว่า กรุงเทพมหานครอยู่ในอันดับที่ 61<ref>[http://englishnews.thaipbs.or.th/bangkok-ranks-61st-place-list-worlds-expensive-cities-2014/ Bangkok ranks 61st place in list of world’s most expensive cities in 2014 - Thai PBS English News<!-- Bot generated title -->]</ref>
 
ในปี [[พ.ศ. 2559]] รายงานการศึกษาตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้าจากบริษัทที่ปรึกษาและบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เจแอลแอล (โจนส์ แลง ลาซาลล์) เปิดเผยว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีแบรนด์ระหว่างประเทศสนใจเข้ามาเปิดร้านจำหน่ายสินค้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก<ref>[http://www.acnews.net/view_news_breaking.php?news_id=B255917118 เบรกกิ้งนิวส์ : กรุงเทพฯ เป็นแหล่งรวมแบรนด์สินค้าอินเตอร์มากที่สุดอันดับที่ 18 ของโลก<!-- Bot generated title -->]</ref>
 
== พลังงาน ==
ในปี [[พ.ศ. 2555]] กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแรกของประเทศไทยที่เปิดสถานีพลังงานสีเขียว โดยใช้พลังงานทดแทนโดยความร่วมมือจากบริษัท [[บางจากปิโตรเลียม]]<ref>[http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=374426 อารักษ์เปิดปั๊มBangchak Green Station : INN News<!-- Bot generated title -->]</ref>
 
== การศึกษา ==
{{See also|รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร}}
[[ไฟล์:CUAuditorium.jpg|thumb|200px|[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร]]
กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศ มีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยทั้งของภาครัฐและเอกชนตั้งอยู่ในหรือรอบ ๆ เมืองหลวง [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] [[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] [[มหาวิทยาลัยมหิดล]] [[มหาวิทยาลัยศิลปากร]] [[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] ปัญญาชนต่าง ๆ ของประเทศล้วนมาจากการบ่มเพาะทั้งศาสตร์และศิลป์จากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในระดับอุดมศึกษาของกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ปูรากฐานให้นักคิดมาเกือบศตวรรษ กว่าทศวรรษที่ผ่านมา แนวโน้มของการใฝ่หาการศึกษาระดับปริญญาทำให้เกิดมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียนไทย กรุงเทพมหานครไม่กลายเป็นเพียงสถานที่ที่ผู้อพยพและคนต่างจังหวัดแสวงหาโอกาสในการทำงาน แต่ยังเป็นโอกาสที่จะได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัย [[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]] ก่อตั้งเมื่อ [[พ.ศ. 2514]]<ref>[http://archive.is/20121222081549/www.ru.ac.th/newRU/aboutRU.html ข้อมูลมหาวิทยาลัย] มหาวิทยาลัยรามคำแหง สืบค้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555</ref> เป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาเพียงแห่งเดียวในประเทศ แต่ก็มีการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาสูงที่สุดเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ของไทย [[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]เป็นหนึ่งในวิธีที่รัฐบาลไทยใช้จัดการกับการเพิ่มขึ้นของความต้องการการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ความต้องการในการศึกษาระดับสูงได้นำไปสู่​​การก่อตั้งมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอื่น ๆ อีกมากมายในเขตเมือง วิทยาลัยอาชีวและวิทยาลัยเทคนิคก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ในปีที่ผ่านมา สถาบันเอกชนจำนวนมากได้ริเริ่มจัดตั้งโปรแกรมการแลกเปลี่ยนและหลักสูตรสองปริญญากับสถาบันจากตะวันตกขึ้นในกรุงเทพ การเพิ่มขึ้นของจำนวนโรงเรียนที่มีหลักสูตรนานาชาติได้ช่วยยกระดับมาตรฐานการแข่งขันของสถาบันของรัฐให้สามารถแข่งขันกับเอกชนได้ นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยสงฆ์อีกสองแห่ง ได้แก่ [[มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย]] [[มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]] และมหาวิทยาลัยในกำกับของกรุงเทพมหานคร อีก 1 แห่งได้แก่ [[มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช]]
{{โครงส่วน}}
 
== สาธารณสุข ==
{{ดูเพิ่มที่|รายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร}}
[[ไฟล์:King chulalongkorn memorial hospital 20-10-2017.jpg|left|thumb|345px|[[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]] โดยความร่วมมือกับ[[คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]]]
[[ไฟล์:HS-BHQ (37274645562).jpg|220px|thumbnail|Airbus Helicopters HS-BHQ ใช้ทางการแพทย์ลำที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานดอนเมือง]]
ปี พ.ศ. 2562 กรุงเทพมหานครมีโรงพยาบาลตามกฎหมาย 147 แห่งในจำนวนนี้เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางทันตกรรม 3 แห่ง กรุงเทพมหานครยังมีศูนย์การแพทย์อีกหลายแห่ง ซึ่งรวมสถาบันแพทยศาสตร์ 8 แห่งจาก 15 แห่งของประเทศ โรงพยาบาลหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร เป็นระดับตติยภูมิ ซึ่งรับการส่งต่อโรคที่ต้องการวิธีรักษาที่ซับซ้อนจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ กรุงเทพมหานครมีโรงพยาบาลรัฐ 33 แห่ง ในจำนวนนี้สังกัดกรุงเทพมหานคร 11 แห่งสังกัดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร 1 แห่ง<ref name="bangkok1">[http://citymap.bangkok.go.th/info/index2.asp?gid=5012 Bangkok Directory (คลังข้อมูลแผนที่ของกรุงเทพมหานคร)<!-- Bot generated title -->]</ref> มีโรงพยาบาลเอกชน 107 แห่ง<ref name="bangkok1" /> ที่มีชื่อเสียงมาก เช่น [[โรงพยาบาลกรุงเทพ]] [[โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์]] เป็นโรงพยาบาลระดับนานาชาติ โรงพยาบาลที่ใกล้เคียงคือ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และทั้ง 3 แห่งได้การรับรองจากคณะกรรมการร่วมระหว่างประเทศ {{อ้างอิง}}
 
ด้านโรงพยาบาลรักษาสัตว์ กรุงเทพมหานครมีทั้งหมดอย่างน้อย 34 แห่ง
ด้านการเสริมสร้างสาธารณสุขกรุงเทพมหานครได้มีศูนย์กีฬาทางน้ำบึงหนองบอน<ref>[http://www.thaidragonnews.com/index.php?option=com_content&view=article&id=5415:qq-&catid=46:2010-11-25-10-10-31&Itemid=86 Thaidragonnews.com<!-- Bot generated title -->]</ref> ไว้บริการประชาชน
 
=== สาธารณภัย ===
การสาธารณภัยในกรุงเทพมหานครเริ่มอย่างจริงจังเมื่อ [[พ.ศ. 2502]] โดยได้มีการจัดตั้งสถานีดับเพลิงบางรัก ในซอยเจริญกรุง 36 ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ไปรษณีย์บางรัก โดยอาคารดังกล่าว สร้างตั้งแต่ [[พ.ศ. 2433]] ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีสถานีดับเพลิง 35 แห่ง<ref>http://www.bangkokfire.com/index.php/th/organization/chief-executive-fire</ref>ภายใต้การควบคุมของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันมี พ.ต.ท.[[สมเกียรติ นนทแก้ว]]<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/334/T_0025.PDF</ref>เป็นผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร และมี นาย ธีรยุทธ์ ภูมิภักดิ์ และ ดร.ประยูร ครองยศ เป็นรองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร
 
{{โครงส่วน}}
 
== การท่องเที่ยว ==
 
[[ไฟล์:Temple of the Emerald Buddha 2012.JPG|thumb|300px|[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] และ [[พระบรมมหาราชวัง]]]]
[[ไฟล์:Vladimir Putin at APEC Summit in Thailand 19-21 October 2003-12.jpg|thumb|300px|กรุงเทพมหานครยามค่ำคืน]]
 
กรุงเทพมหานครเป็นจุดท่องเที่ยวจุดหนึ่ง โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ [[พระบรมมหาราชวัง]] [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] (วัดพระแก้ว) [[วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร|วัดอรุณราชวราราม]] [[วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร|วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม]] [[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] [[หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร]] [[ถนนสีลม]] [[สยามสแควร์]] [[มาดามทุซโซต์ กรุงเทพ]] [[พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย]] [[เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์]] (เจริญกรุง)
 
=== ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า ===
[[ไฟล์:Iconsiam shopping mall.jpg|thumb|350px|ศูนย์การค้า[[ไอคอนสยาม]] ถ่ายจากฝั่งตรงข้าม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]]]
ห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในกรุงเทพมหานครเปิดใน [[พ.ศ. 2368]] เมื่อ [[หลวงอาวุธวิเศษประเทศพาณิช (โรเบิร์ต ฮันเตอร์)]] ได้ขอพระบรมราชานุญาต [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่งพระองค์พระบรมราชานุญาตให้เช่าที่ดินของ [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)]] สร้างอาคารสำนักงานและโรงเก็บสินค้าคนไทยสมัยนั้นเรียกว่า ห้างหันแตร<ref>[http://www.watcafe.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=423996&Ntype=17 ลำดับเหตุการณ์ ใน "ข้าบดินทร์"<!-- Bot generated title -->]</ref> ปัจจุบัน [[ศูนย์การค้า]] เป็นที่นิยมมากกว่า [[ห้างสรรพสินค้า]] ทั้งด้านการท่องเที่ยวและการพาณิชย์ {{อ้างอิง}} ศูนย์การค้าต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครได้สร้างรายได้ทั้งจาก [[ภาษีมูลค่าเพิ่ม]] และ [[ภาษีธุรกิจเฉพาะ]] ให้แก่กรุงเทพมหานครด้วย<ref name=autogenerated4 />โดยศูนย์การค้าที่เปิดทำการล่าสุด คือ [[ไอคอนสยาม]] ซึ่งจะเปิดในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และในบริเวณจะมี[[รายชื่ออาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย|ตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย]]อีกด้วย
 
=== โรงภาพยนตร์ ===
โรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานครเกิดขึ้นเมื่อ [[พ.ศ. 2440]]<ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=38900 á¹Ð¹Ó˹ѧÊ×Í - µÓ¹Ò¹âç˹ѧ ¨Ò¡ºÅçÍ¡ âÍà¤à¹ªÑè¹ oknation.net<!-- Bot generated title -->]</ref> ได้แก่ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ โรงภาพยนตร์ [[ศาลาเฉลิมกรุง]] เป็นโรงมหรสพแห่งแรกของเอเชียที่ใช้เครื่องปรับอากาศ<ref>[http://www.salachalermkrung.com/salachalermkrung02.php]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> ปัจจุบัน โรงภาพยนตร์มักตั้งอยู่ในศูนย์การค้าต่าง ๆ
{{See also|รายชื่อโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานคร}}
 
=== วัดและพระราชวัง ===
 
{{ดูเพิ่มที่|รายชื่อวัดในกรุงเทพมหานคร}}
{{ดูเพิ่มที่|รายชื่อพระราชวังและวังในประเทศไทย}}
 
กรุงเทพมหานครมีวัดทั้งหมด 449 แห่ง<ref group = note> เฉพาะวัดที่ขึ้นทะเบียนกับ[[กรมการศาสนา]] [[กระทรวงวัฒนธรรม]]</ref><ref name="autogenerated2">[http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=917&Itemid=299 หน้าแรก Onab - สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ<!-- Bot generated title -->]</ref> โดยเขตที่มีวัดมากที่สุดได้แก่ [[เขตบางกอกน้อย]] มีทั้งสิ้น 32 วัด<ref name="autogenerated2"/> พระราชวังมีทั้งหมด 8 แห่ง วังมีทั้งหมด 17 แห่ง<ref group = note>เฉพาะส่วนที่[[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]]ดูแลหรือเป็นเจ้าของร่วมและไม่รวมที่ถูกทำลายทิ้งและใช้งานโดยบุคคลทั่วไปหรือมีสถานภาพปัจจุบันเป็น [[พิพิธภัณฑ์]] สถานท่องเที่ยว และสถานที่ราชการ</ref> (ข้อมูลวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554)
 
=== การจัดลำดับเมืองท่องเที่ยว ===
==== ประเภทจำนวนนักท่องเที่ยว ====
 
* ในปี [[พ.ศ. 2555]] การจัดลำดับโดย Master Card Global Deslination Cities Index 2012 กรุงเทพมหานครคว้าอันดับ 1 สุดยอดเมืองจุดหมายปลายทางของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นอันดับ 3 ของโลก<ref>[http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000075343 กรุงเทพฯแรงไม่หยุด คว้าแชมป์สุดยอดเมืองจุดหมายปลายทางแห่งเอเชีย - Manager Online<!-- Bot generated title -->]</ref>
* ในปี พ.ศ. 2556 MasterCard Global Destination Cities Index 2013 ระบุว่ากรุงเทพมหานครมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับ 1 ของโลก<ref>[http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=184574:-1-2013-&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref>
* ในปี พ.ศ. 2557 MasterCard Global Destination Cities Index 2014 ระบุว่ากรุงเทพมหานครมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับ 2 ของโลก<ref>[http://newsroom.mastercard.com/press-releases/london-tops-mastercard-global-destination-cities-index-as-most-visited-city/ London Tops MasterCard Global Destination Cities Index as Most Visited City | Global Hub<!-- Bot generated title -->]</ref> 16.42 ล้านคน
* ในปี พ.ศ. 2558 บริษัทวิจัย Euromonitor International ของอังกฤษ เปิดเผยรายงานการศึกษาประจำปี 2017 ชื่อ Top 100 City Destinations Ranking โดยในรายงานระบุว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 2 รองจาก [[ฮ่องกง]] โดยมีนักท่องเที่ยว 18.7 ล้านคน<ref>[http://thaipublica.org/2017/01/pridi27/ การจัดอันดับ Top 100 City Destinations Ranking กรุงเทพฯ ภูเก็ต และพัทยา ติด 20 เมืองยอดนิยมของโลก | ThaiPublica<!-- Bot generated title -->]</ref>
 
==== ประเภทเมืองท่องเที่ยว ====
 
* การจัดอันดับของนิตยสาร [[ทราเวลแอนด์เลเชอร์]] (Travel and Leisure)<ref>ซึ่งรายงานว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าเที่ยวอันดับ 1 ของโลก[http://www.travelandleisure.com/worldsbest/2010/cities], พ.ศ. 2554 [http://www.travelandleisure.com/worldsbest/2011/cities]</ref>กรุงเทพมหานครได้รับเลือกให้เป็นเมืองน่าเที่ยวอันดับหนึ่งของโลกใน พ.ศ. 2551, 2553, 2554 และ 2555<ref>[http://news.voicetv.co.th/thailand/45109.html กทม.คว้ารางวัลเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก 3 สมัย - VoiceTV<!-- Bot generated title -->]</ref>
* ด้านเว็บไซต์ TripAdvisor ได้เปิดเผยผลสำรวจว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ประหยัดค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเป็นอันดับที่ 3 จาก 48 เมืองทั่วโลก<ref>[http://www.manager.co.th/travel/viewnews.aspx?NewsID=9550000072697 กรุงเทพฯมีดี คว้าที่ 3 เมืองท่องเที่ยวถูกสุดในโลก - Manager Online<!-- Bot generated title -->]</ref>ในปีพ.ศ. 2556 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 1 ของเอเซียและอันดับที่ 13 ของโลก<ref name="tripadvisor1">[http://www.tripadvisor.com/TravelersChoice-Destinations-cTop-g1 Best Destinations in the World - Travelers' Choice Awards - TripAdvisor<!-- Bot generated title -->]</ref>จากเว็บไซต์ TripAdvisor
 
* ด้านเว็บไซต์ TripAdvisor ได้เปิดเผยผลสำรวจในปี พ.ศ. 2557 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 5 ของเอเซียและอันดับที่ 20 ของโลก รวมทั้งเป็นเมืองที่มีราคาที่พักถูกและคุ้มที่สุดในโลกเป็น อันดับ 4 ของโลก<ref name="tripadvisor1"/>จากเว็บไซต์ TripAdvisor
 
* ด้านเว็บไซต์ economist.com ได้เปิดเผยผลสำรวจในปี พ.ศ. 2557 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวปลอดภัยอันดับ 39 ของโลกจาก 50 อันดับ และได้การอันดับ 14 จาก 18 อันดับของเอเซีย<ref>[http://englishnews.thaipbs.or.th/bangkok-ranked-39th-safe-cities-index-2015 Bangkok ranked 39th in Safe Cities Index 2015 - Thai PBS English News<!-- Bot generated title -->]</ref>
 
* ด้านเว็บไซด์ www.agoda.com ได้เปิดเผยผลสำรวจเมืองท่องเที่ยวยอดเยี่ยมในการมาท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่ กรุงเทพมหานครได้รับการจัดลำดับเป็นลำดับ 1<ref>[http://www.agoda.com/info/new-year-eve.html Agoda Survey Reveals Bangkok Best Spot to Celebrate New Year’s Eve<!-- Bot generated title -->]</ref>
 
* ในปี พ.ศ. 2559 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ยกกรุงเทพฯ เป็นอันดับ 1 ใน 23 เมือง ที่มีอาหารข้างถนน หรือ Street food ดีที่สุดในโลก<ref>[http://manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9590000079728 ยกกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีอาหารริมทางดีที่สุดในโลก!! - Manager Online<!-- Bot generated title -->]</ref>
 
== การคมนาคม ==
[[ไฟล์:Makkasan Interchange at night by Mark Fischer.jpg|thumb|right|ภาพทางด่วนบริเวณทางแยกมักกะสันยามค่ำคืน ซึ่งมีปริมาณรถ 1.5 ล้านคันต่อวัน<ref>{{cite web|title=สรุปรายได้และปริมาณรถ: สิงหาคม 2555 (Revenue and traffic, August 2012)|work=EXAT website|date=4 September 2012|publisher=Expressway Authority of Thailand|url=http://www.exat.co.th/statistics/10/12/|accessdate=11 September 2012|language=Thai}}{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref>]]
 
เดิมทีกรุงเทพมหานครใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก โดยมีคลองจำนวนมากจนได้ฉายาว่า "เวนิสตะวันออก" แต่ปัจจุบันได้มีการถมคลองเพื่อทำเป็นถนน การคมนาคมจึงเน้นหนักไปทางบกแทน โดยถนนสายแรกคือ [[ถนนเจริญกรุง]] ซึ่งสร้างเสร็จใน [[พ.ศ. 2407]] หลังจากนั้น ได้มีการสร้างถนนใหม่ขึ้นมากมาย เช่น [[ถนนบำรุงเมือง]] [[ถนนเฟื่องนคร]] ประมาณ [[พ.ศ. 2533]] ได้มีการสร้าง[[ทางพิเศษในประเทศไทย|ทางพิเศษ]]ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด ส่วน[[ระบบขนส่งทางราง]] ได้มีส่วนเข้ามาดำเนินการตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2436]] โดยมีการให้บริการระบบ[[รถราง]] ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ [[พ.ศ. 2437]] แต่ได้ถูกยกเลิกไปในปี [[พ.ศ. 2511]] และใน[[พ.ศ. 2542]]ได้มีการเปิดบริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายแรกชื่อว่า รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาหรือ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] ต่อมาในปี พ.ศ. 2547
[[รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล]] ได้เปิดให้บริการ และในปี พ.ศ. 2553 ได้เปิดเดินรถโครงการ
[[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] และ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม]] ในปี พ.ศ. 2559 ส่วน[[ระบบขนส่งทางน้ำ]]นั้น ให้บริการเส้นทางในแม่น้ำเจ้าพระยาและ[[คลองแสนแสบ]]
 
การเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดต่าง ๆ มีหลายเส้นทาง ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดิน ทางรถไฟ นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้อีกด้วย
 
=== ทางรถยนต์ ===
[[ไฟล์:Rama II road at Central Rama II.jpg|thumb|ถนนพระรามที่ 2 ในกรุงเทพมหานคร|left]]
กรุงเทพมหานครเป็นจุดเริ่มต้นของถนนหลักของประเทศไทย ได้แก่
* [[ถนนพหลโยธิน]] (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1)
* [[ถนนสุขุมวิท]] (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3)
* [[ถนนเพชรเกษม]] (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4)
* [[ถนนพระรามที่ 2]] (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35)
ทั้งนี้ มีทางหลวงสายหลักที่ไม่ได้เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร คือ [[ถนนมิตรภาพ]] (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) ซึ่งเริ่มต้นที่[[จังหวัดสระบุรี]]
 
ในเขตกรุงเทพมหานครมีทางหลวงพิเศษ 3 สาย ได้แก่
# [[ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7]] รวม 126 กิโลเมตร เปิดใช้บริการครั้งแรก 79 กิโลเมตร เมื่อวันที่ [[1 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2541]] <!--และเปิดใช้บริการส่วนต่อขยายเพิ่มอีก 46 กิโลเมตร [[28 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2553]] ส่วนต่อขยายอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรี ไม่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร -->
# [[ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9]] (ถนนกาญจนาภิเษก) เปิดใช้บริการส่วนต่อขยายครั้งล่าสุด (ด้านใต้) วันที่ [[15 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2550]]
# [[ถนนบรมราชชนนี|ทางหลวงหมายเลข 338]] (ถนนบรมราชชนนี)
{{ดูเพิ่มที่|ทางหลวงพิเศษ}}
 
;ทางยกระดับ
# [[ทางยกระดับอุตราภิมุข]] มีระยะทางรวมประมาณ 28 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ในการบริหารจัดการโดยบริษัททางยกระดับดอนเมืองจำกัด (มหาชน) ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตรจากดินแดงถึง[[อนุสรณ์สถานแห่งชาติ]] (ทางยกระดับดอนเมือง) เปิดบริการเมื่อ [[14 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2537]] และอยู่ในการบริหารจัดการโดย[[กรมทางหลวง]] ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร จากอนุสรณ์สถานแห่งชาติถึงรังสิต (ส่วนของกรมทางหลวง) เปิดบริการเมื่อ [[3 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2541]]
# ทางคู่ขนานลอยฟ้าพระบรมราชชนนี จากทางแยกอรุณอมรินทร์ถึงทางแยกต่างระดับสิรินธรระยะทาง 4.50 กิโลเมตร และจากทางแยกต่างระดับสิรินธรถึงจุดสิ้นสุดโครงการ บริเวณเลยจุดข้ามทางแยกต่างระดับพุทธมณฑล สาย 2 ไปอีก 500 เมตร ระยะทาง 9.30 กิโลเมตร เปิดเมื่อวันที่ [[21 เมษายน]] [[พ.ศ. 2541]]<ref>[http://3armyarea-rta.com/wpmu/kindness/2010/03/20/โครงการคู่ขนานลอยฟ้าถน/]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref>
 
;ทางพิเศษ
{{ดูเพิ่มที่|ทางพิเศษในประเทศไทย}}
[[ไฟล์:Din Daeng 1 Toll Plaza, Airport Expressway.JPG|thumb|ทางพิเศษดินแดง ช่วงทางขึ้น]]
กรุงเทพมหานครมีทางพิเศษ (ทางด่วน) ทั้งหมด 9 เส้นทาง ทางเชื่อมพิเศษทั้งหมด 2 เส้นทาง แบ่งเป็น[[ทางพิเศษในประเทศไทย|ทางพิเศษ]]ของ[[การทางพิเศษแห่งประเทศไทย]] 8 เส้นทาง<ref>[http://www.exat.co.th/projects/]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> ทางเชื่อมพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2 เส้นทาง และ[[ทางหลวงพิเศษ]]ของ[[กรมทางหลวง]] 1 เส้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด โดยประชาชนต้องชำระเงินเป็นกรณีพิเศษ
 
* ทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้แก่
# [[ทางพิเศษเฉลิมมหานคร]] (ระบบทางด่วนขั้นที่ 1) ระยะทางรวม 27.1 กิโลเมตร ประกอบด้วย
## สายดินแดง-ท่าเรือ ระยะทาง 8.9 กิโลเมตร เปิดให้บริการ [[29 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2524]]
## สายบางนา-ท่าเรือ ระยะทาง 7.9 กิโลเมตร เปิดให้บริการ [[17 มกราคม]] [[พ.ศ. 2526]]
## สายดาวคะนอง-ท่าเรือ ระยะทาง 10.3 กิโลเมตร เปิดให้บริการ [[5 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2530]]
# [[ทางพิเศษศรีรัช]] (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2) ระยะทางรวม 28.4 กิโลเมตร เปิดให้บริการ [[2 กันยายน]] [[พ.ศ. 2536]]
# [[ทางพิเศษฉลองรัช]] (ทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์) ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร ทางพิเศษฉลองรัชได้เปิดให้บริการตลอดสาย เมื่อวันที่ [[6 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2539]]
# [[ทางพิเศษบูรพาวิถี]] (ทางด่วนสายบางนา-ชลบุรี) ระยะทาง 55 กิโลเมตร เปิดให้บริการตลอดสายเมื่อวันที่ [[4 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2543]]
# [[ทางพิเศษอุดรรัถยา]] (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) ระยะทางรวม 32 กิโลเมตร ระยะที่ 1 ทาง 22 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 2 ธันวาคม 2541 และระยะที่ 2 ระยะทาง 10 กิโลเมตร เปิดให้บริการ [[1 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2542]]
# [[ทางพิเศษสาย S1]] ระยะทาง 4.7 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็นทางยกระดับ 6 ช่องจราจร เปิดให้บริการ [[15 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2548]]
# ทางพิเศษสาย[[ทางพิเศษฉลองรัช|รามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร]] ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ [[23 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2552]]
# ทางพิเศษสาย[[ถนนกาญจนาภิเษก|สายบางพลี-สุขสวัสดิ์]] ก่อสร้างเป็นทางขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร เปิดให้บริการวันที่ [[15 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2550]]
#[[ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร]] ก่อสร้างเป็นทางขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทาง 16.7 กิโลเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559
 
* ทางเชื่อมพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้แก่
# ทางเชื่อมทางพิเศษ [[ถนนกาญจนาภิเษก|สายบางพลี-สุขสวัสดิ์]] กับ [[ทางพิเศษบูรพาวิถี]]<ref>[http://www.otp.go.th/th/index.php/introduce-otp/vision/2964-2011-03-23-04-18-26.html]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> เปิดบริการ [[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2552]]
# ทางเชื่อมต่อทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์กับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม 2 กิโลเมตร<ref>[http://www.exat.co.th/news/4/1/3624/]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> เปิดใช้ [[23 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2554]]
#ทางเชื่อม[[ทางพิเศษศรีรัช]] กับ[[ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร]] ระยะทาง 360 เมตร เปิดให้บริการเมือวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561<ref>[https://www.posttoday.com/economy/566031 เปิดใช้แล้ว! ทางเชื่อมด่วนศรีรัช-วงแหวนฯมุ่งหน้าแจ้งวัฒนะ-บางปะอิน]</ref>
 
=== ทางรถโดยสารประจำทาง ===
[[ไฟล์:Bmta 145.jpg|thumb|20ฃ50px|right|รถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร]]
[[รถโดยสารประจำทาง]]มีหลายสายเพื่อเป็นการบริการประชาชน ให้บริการในราคาย่อมเยา โดยรถโดยสารประจำทางเฉพาะพื้นที่[[กรุงเทพมหานครและปริมณฑล]] มีทั้งหมด 254 สาย ซึ่งในจำนวนนี้มีที่ขึ้นทางด่วนของ[[การทางพิเศษแห่งประเทศไทย]] 36 เส้นทาง และเป็นเส้นทางที่ใช้รถปรับอากาศในเส้นทางเดียวกับเส้นทางปกติ 143 เส้นทาง ดังนั้นจึงคงเหลือรถธรรมดาที่ไม่ขึ้นทางด่วนและไม่มีรถปรับอากาศบริการในเส้นทางนั้น ๆ 75 เส้นทาง รถโดยสารร่วมบริการขนาดเล็ก (มินิบัส) ราคา 10 บาทตลอดสาย รถโดยสารธรรมดาของ ขสมก. ราคา 8 บาทตลอดสาย รถโดยสารธรรมดาร่วมบริการราคา 10 บาทตลอดสาย รถโดยสารปรับอากาศราคาเริ่มต้น 12 บาท [[รถโดยสารปรับอากาศแบบยูโร 2]] ราคาเริ่มต้น 13 บาท ส่วนรถปรับอากาศรุ่นใหม่ (ใช้ก๊าซธรรมชาติ) ราคาเริ่มต้น 15 บาท โดยหากใช้บริการในยามค่ำระหว่างช่วง 23.00 น. ถึง 5.00 น.ราคาจะเพิ่มขึ้น 1.50 บาท ตลอดสาย(ค่าธรรมเนียมรถบริการตลอดคืน จะจัดเก็บเฉพาะรถโดยสารธรรมดา ส่วนรถโดยสารปรับอากาศ จะไม่มีการจัดเก็บแต่อย่างใด) และหากรถขึ้นทางด่วนจะเพิ่มราคาขึ้นอีก 2 บาท (ค่าธรรมเนียมรถบริการทางด่วนนี้ จะจัดเก็บทั้งรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ)
 
ในการขึ้นค่าโดยสารครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562 ได้กำหนดราคาค่าโดยสารไว้ดังนี้<ref>[https://www.facebook.com/pg/bangkokbusclubpage/photos/?tab=album&album_id=2177116209069935 ขึ้นค่ารถเมล์ 22 เมษายน 2562]</ref>
 
{| class="wikitable"
|-
! ประเภทของรถ !! สี
!ผู้ให้บริการ!! ค่าโดยสาร !! เวลาบริการ !! ทางด่วน
|-
| rowspan="4" | รถธรรมดา || rowspan="2" | ครีม-แดง
| rowspan="2" |[[องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ|ขสมก.]]|| 8 || 05:00-23:00 || 10
|-
| 9.50 || 23.00-05.00 ||
|-
| rowspan="2" | ขาว-น้ำเงิน,ชมพู
| rowspan="4" |เอกชน|| 10 || 05.00-23.00 || 12
|-
| 11.50 || 23.00-05.00 ||
|-
| rowspan="2" | รถมินิบัส || rowspan="2" | ส้ม || 10 || 05.00-23.00 ||
|-
| 11.50 || 23.00-05.00 ||
|-
| rowspan="7" | รถปรับอากาศ || rowspan="2" | ครีม-น้ำเงิน
|[[องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ|ขสมก.]]|| 12 14 16 18 20 || ตลอด 24 ชม. ||14 16 18 20 22
|-
|เอกชน
|13 15 17 19 21
|05:00-23:00
|15 17 19 21 23
|-
| ส้ม,ขาว
|[[องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ|ขสมก.]]|| 13 15 17 19 21 23 25 || ตลอด 24 ชม. ||15 17 19 21 23 25 27
|-
| rowspan="3" |เหลือง
| rowspan="3" |เอกชน
|14 16 18 20 22 24 26
| rowspan="4" |05:00-23:00
|16 18 20 22 24 26 28
|-
|13 15 17 19 21<ref name=":0" group="note">เฉพาะบางสาย</ref>
|15 17 19 21 23<ref name=":0" group="note" />
|-
|14<ref name=":0" group="note" />
|
|-
|ฟ้า
|[[องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ|ขสมก.]]
เอกชน
|15 20 25
|17 22 27
|}
 
;รถโดยสารประจำทางต่างจังหวัด
[[ไฟล์:SouthernBusTerminal (Thanon Borommaratchachonnani).jpg|thumb|190px|left|สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)]]
รถโดยสารประจำทางหรือรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สำหรับเดินทางไปจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยมีสถานีหลักอยู่ที่
* [[สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)]] (หรือที่เรียกกันติดปากว่า หมอชิตใหม่ หรือ หมอชิต 2) สำหรับเดินทางไปภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง (รวมทั้งภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ในบางเส้นทาง)
* [[สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)]] สำหรับเดินทางไปภาคตะวันออก
* [[สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)]] สำหรับเดินทางไปภาคใต้<ref group=note> เปิดทำการเดินรถ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550</ref> และภาคตะวันตก<ref group=note> เปิดทำการเดินรถ [[15 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2550]] </ref>
 
;รถโดยสารประจำทางต่างประเทศ
รถโดยสารประจำทางหรือรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ที่สำหรับเดินทางไปยังต่างประเทศโดยตรงจากกรุงเทพมหานคร มี 4 เส้นทาง ไป [[ประเทศกัมพูชา]] และ [[ประเทศลาว]] โดยมีสถานีหลักอยู่ที่ [[สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)]] ดังนี้
*กรุงเทพฯ – [[อรัญประเทศ]] – [[ปอยเปต]] – [[เสียมราฐ]]
*กรุงเทพมหานคร – [[ปากเซ]] <ref>[http://home.transport.co.th/index.php/th/dynamic-pagee/executive/การเดินรถระหว่างประเทศ.html]</ref>
*กรุงเทพมหานคร – [[นครหลวงเวียงจันทน์]]
* กรุงเทพฯ – [[อรัญประเทศ]] – [[ปอยเปต]] – [[พระตะบอง]] – [[พนมเปญ]] <ref>[http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1361508509&grpid=&catid=12&subcatid=1204 นั่ง"บ.ข.ส."เยือน"เขมร" ตีตั๋วได้แล้ว-ราคาไม่ถึงพัน : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์<!-- Bot generated title -->]</ref>
 
;รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ
[[ไฟล์:Bangkok BRT 01.jpg|thumb|250px|right|รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์]]
 
กรุงเทพมหานครมีบริการ[[รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล|รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ]] เป็นระบบขนส่งมวลชนที่มีลักษณะคล้ายกับรถประจำทาง แต่การเดินของรถนั้นแยกออกจากถนนปกติ ปัจจุบันเปิดให้บริการ 1 เส้นทาง คือ [[รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์]] ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร
 
;รถปรับอากาศพิเศษ
รถปรับอากาศพิเศษ (metrobus) เป็นรถของบริษัท พรีเมียร์ เมโทรบัส จำกัด<ref>[http://www.metrobusbkk.com/ metrobusbkk.com<!-- Bot generated title -->]</ref> บริการเดินรถในกรุงเทพมหานคร โดยปัจจุบันได้ยกเลิกการให้บริการทั้งหมดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557<ref>[https://www.facebook.com/bangkokbusclubpage/photos/a.327583934023181/700743050040599/?type=3&theater เมโทรบัส ประกาศหยุดการเดินรถสาย ปอ.พ.4-2 (เคหะร่มเกล้า - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป] </ref> โดยสายสุดท้ายที่ให้บริการ คือสาย ปอ.พ.4-2 เคหะร่มเกล้า-[[อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]]
 
;รถตู้ประจำทาง
ปัจจุบันมีทั้งหมด 126 สาย ให้บริการระหว่าง 05.00 น. ถึง 22.00 น. ค่าบริการอยู่ที่ 10-35 บาท<ref>[http://www.pnmap.com/bk-0102]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> เป็นรถปรับอากาศร่วมบริการ ขสมก. เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้โดยสารที่ต้องการนั่งบนรถตลอดการเดินทาง
 
;รถจักรยานยนต์ประจำทาง
รถจักรยานยนต์ในกรุงเทพมหานคร มีอัตราบริการขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 10 บาท ทั้งนี้แล้วแต่ท้องที่นั้น ๆ จะเรียกเก็บค่าโดยสารตามระยะทางที่เดินทางโดยสูงสุดอาจถึง 500 บาท หากไปยังพื้นที่ที่ต้องไปในระยะไกล
 
=== ทางรถแท็กซี่ ===
[[ไฟล์:Taxi-meter in Bangkok 04.JPG|thumbnail|รถ[[แท็กซี่]]ในกรุงเทพมหานคร]]
 
ค่าโดยสารแท็กซี่มิเตอร์ในเขตกรุงเทพฯ ยุคแรก จะถูกกำหนดโดยประกาศกระทรวงคมนาคม [[พ.ศ. 2535]] ลงนามโดยนายบรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร โดยจะเป็นดังนี้<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/060/5105.PDF ราชกิจจานุเบกษา : ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราค่าโดยสารสำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (รถแท็กซี่) โดยมาตรค่าโดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร]</ref>
 
{|class=wikitable
|-
| กิโลเมตรที่ || ค่าโดยสาร
|-
| 0-2 || 35 บาท
|-
| 2-3 || 5.00 บาท/กิโลเมตร
|-
| 3-5 || 4.50 บาท/กิโลเมตร
|-
| 5-7 || 4.00 บาท/กิโลเมตร
|-
| 7 ขึ้นไป || 3.50 บาท/กิโลเมตร
|}
ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 1.00 บาท/นาที
 
ใน[[เดือนพฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2539]] ได้มีการอนุมัติปรับค่าโดยสารแท็กซี่ขึ้นครั้งที่ 1 ซึ่งใช้อัตรานี้มาจนถึง [[พ.ศ. 2551]] โดยอัตราค่าโดยสารเป็นดังนี้<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/D/095/28.PDF ราชกิจจานุเบกษา : ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารและพื้นที่ที่ต้องใช้มาตรค่าโดยสารสำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (TAXI-METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร]</ref>
 
{|class=wikitable
|-
| กิโลเมตรที่ || ค่าโดยสาร
|-
| 0-2 || 35 บาท
|-
| 2-12 || 4.50 บาท/กิโลเมตร
|-
| 12-20 || 5.00 บาท/กิโลเมตร
|-
| 20 ขึ้นไป || 5.50 บาท/กิโลเมตร
|}
ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 1.25 บาท/นาที
 
ในช่วงเดือนกรกฎาคม [[พ.ศ. 2551]] ได้มีการปรับอัตราค่าโดยสารแท็กซี่ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งใช้อัตราค่าโดยสารนี้จนถึงปี [[พ.ศ. 2557]] โดยอัตราค่าโดยสารใหม่คือ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/110/83.PDF ราชกิจจานุเบกษา : ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราคาจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถยนตรับจ้างบรรทุกคนโดยสารไมเกิน 7 คน (TAXI-METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร]</ref>
 
{|class=wikitable
|-
| กิโลเมตรที่ || ค่าโดยสาร
|-
| 0-1 || 35 บาท
|-
| 1-12 || 5 บาท/กิโลเมตร
|-
| 12-20 || 5.50 บาท/กิโลเมตร
|-
| 20-40 || 6 บาท/กิโลเมตร
|-
| 40-60 || 6.50 บาท/กิโลเมตร
|-
| 60-80 || 7.50 บาท/กิโลเมตร
|-
| 80 ขึ้นไป || 8.50 บาท/กิโลเมตร
|}
 
ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 1.50 บาท/นาที
 
ปัจจุบัน กระทรวงคมนาคม ได้อนุมัติการปรับขึ้นค่าโดยสารแท็กซี่มิเตอร์เป็นครั้งที่ 3 โดยมีผลตั้งแต่[[เดือนธันวาคม]] [[พ.ศ. 2557]] เป็นต้นไป โดยอัตราค่าโดยสารใหม่คือ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/251/1.PDF ราชกิจจานุเบกษา : ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราคาจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถยนตรับจ้างบรรทุกคนโดยสารไมเกิน 7 คน (TAXI-METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร]</ref>
 
{|class=wikitable
|-
| กิโลเมตรที่ || ค่าโดยสาร
|-
| 0-1 || 35 บาท
|-
| 1-10 || 5.50 บาท/กิโลเมตร
|-
| 10-20 || 6.50 บาท/กิโลเมตร
|-
| 20-40 || 7.50 บาท/กิโลเมตร
|-
| 40-60 || 8.00 บาท/กิโลเมตร
|-
| 60-80 || 9.00 บาท/กิโลเมตร
|-
| 80 ขึ้นไป || 10.50 บาท/กิโลเมตร
|}
 
ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 2.00 บาท/นาที
 
โดยการคิดค่าโดยสารนั้น จะคิดแยกเป็นส่วน ๆ (ส่วนของระยะทาง และส่วนของเวลา) ส่วนของระยะทาง มิเตอร์คำนวณค่าโดยสารได้เท่าไร จะปัดขึ้นเป็นจำนวนเต็มคี่ที่อยู่ถัดขึ้นไป (เช่น คำนวณได้ 47.75 บาท ก็จะปัดขึ้นเป็น 49 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเต็มคี่ที่อยู่ถัดไป) ส่วนของมิเตอร์เวลา มิเตอร์เวลาคำนวณค่าโดยสารได้เท่าไร จะปัดลงเป็นจำนวนเต็มคู่ที่อยู่ลงมา (เช่น มิเตอร์เวลาเดินไปได้ 3.75 บาท ก็จะปัดทิ้งเป็น 2 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเต็มคู่ที่อยู่ถัดลงมา){{อ้างอิง}}
 
นอกจากนี้ปัจจุบัน ยังได้ลดอายุการวิ่งบนท้องถนน 9 ปี จากรถรุ่นก่อน ๆ สามารถวิ่งได้ 12 ปี แต่ยกเว้นแท็กซี่สีเหลือง-ดำ ซึ่งเป็นแท็กซี่รุ่นเก่าประมาณ ซึ่งสามารถวิ่งเป็นแท็กซี่บนท้องถนนได้ต่อไปเรื่อย ๆ เนื่องจากไม่มีการจำกัดอายุการใช้งานเป็นแท็กซี่แต่อย่างใด {{อ้างอิง}}
 
ปัจจุบันได้มีบริการเรียกรถแท็กซี่ผ่านระบบคอมพิวเตอร์โดยจะเสียค่ารถวิ่งเปล่า 25 บาท รู้จักในนาม Grab taxi
 
=== ทางระบบขนส่งมวลชนเร็ว ===
{{บทความหลัก|รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล|ระบบขนส่งทางรางในประเทศไทย|การขนส่งระบบรางในประเทศไทย}}
[[ไฟล์:BTS Skytrain over Sala Daeng Intersection.jpg|thumb|รถไฟฟ้าบีทีเอสวิ่งผ่านทางแยกศาลาแดงตามแนวถนนสีลม ซึ่งรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ก็วิ่งตามแนวถนนพระรามที่ 4 ในบริเวณนี้ด้วย]]
 
กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของ[[ระบบขนส่งมวลชนเร็ว]] [[สถานีรถไฟกรุงเทพ]] (หัวลำโพง) ซึ่งเป็นสถานีศูนย์กลางของ[[ประเทศไทย]] ในปัจจุบัน ซึ่งมีผู้คนมากมายมาใช้บริการรถไฟไปยังจังหวัดในภูมิภาคต่าง ๆ
 
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองเดียวในประเทศไทยที่มีระบบรถไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย 3 ระบบ คือ [[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] [[รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล]] และ [[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] และในอนาคต อาจมีความยาวเกือบ 400 กิโลเมตร ในเขต[[กรุงเทพและปริมณฑล]] ซึ่งได้มีโครงการรถไฟฟ้ามาตั้งแต่ [[พ.ศ. 2518]] แล้ว<ref>{{cite journal|title=Bangkok transport system development: what went wrong?|first=Wiroj|last=Rujopakarn|journal=Journal of the Eastern Asia Society for Transportation Studies|volume=5|date=October 2003|pages=3302–15}}</ref>
 
'''[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]]''' เปิดให้บริการในปี [[พ.ศ. 2542]] แบ่งการเดินรถเป็น 2 เส้นทาง ได้แก่ [[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท|สายสุขุมวิท]] และ [[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม|สายสีลม]] รวมระยะทาง {{convert|30.95|km}} ส่วน '''[[รถไฟฟ้ามหานคร]]''' เปิดให้บริการในปี [[พ.ศ. 2547]] สายที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน คือ [[รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล]] ระยะทาง {{convert|21|km}} จำนวน 19 สถานี รวมทั้งบางส่วนของ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม]] และ'''[[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]]''' เปิดให้บริการในปี [[พ.ศ. 2553]] ดำเนินการโดย [[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] เพื่อเชื่อมต่อ[[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]]ไปยังใจกลางเมือง ระยะทาง {{convert|28|km}} จำนวน 8 สถานี
 
โดยรถไฟฟ้าสายล่าสุดที่เปิดให้บริการ คือ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท]] ส่วนต่อขยายจาก[[สถานีสำโรง]] ถึง[[สถานีเคหะฯ]] เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561
 
ในขณะนี้ [[รถไฟฟ้าบีทีเอส]]และ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล]] อยู่ในระหว่างการก่อสร้างส่วนต่อขยาย เส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างใหม่ ได้แก่ [[รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง]]ส่วนต่อขยาย และ[[รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง]] เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเส้นทางรถไฟฟ้าในโครงการอีก 10 สาย มีทั้งรถไฟฟ้าขนาดหนัก (Heavy rail) และรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือรางเบา (Monorail) ซึ่งจะเร่งรัดให้เสร็จภายใน [[พ.ศ. 2572]]
 
กรุงเทพมหานครมีบริการรถรางของรัฐได้แก่ รถรางรอบเกาะรัตนโกสินทร์คิดค่าบริการ 30 บาท ดำเนินการขนส่งภายใน [[เขตพระนคร]] ลักษณะรถทัวร์ชมเมืองวิ่งบนถนน ไม่ใช่รถรางไฟฟ้า<ref>[http://www.thaitravelhealth.com/blog/รถรางรอบเกาะรัตนโกสินท/ thaitravelhealth.com<!-- Bot generated title -->]</ref><ref>[http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G6774372/G6774372.html PANTIP.COM : G6774372 ข้างหลังภาพ...พานั่งรถราง กทม สายสีเหลือง วนรอบเกาะรัตนโกสินทร์ [&#93;<!-- Bot generated title -->]</ref>
 
=== ทางรถราง ===
ในเขตกรุงเทพมหานคร มี[[รถราง]]ให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวภายใน[[เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์]] [[เขตบางคอแหลม]] ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ของบริษัท ริเวอร์ไซด์ มาสเตอร์แพลน ในส่วนของรถรางที่ใช้ล้อยางที่ไม่ใช้ระบบรางได้แก่ รถรางชมเมือง ซึ่งกรุงเทพมหานครมีบริการ 3 ขบวน เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ให้บริการในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556 ภายหลังหยุดประกอบกิจการในปี พ.ศ. 2553 ดำเนินกิจการโดย บริษัท ศรีกัลยาทัวร์ จำกัด<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/527805 กทม.ฟื้นวิ่งรถรางรอบเกาะรัตนโกสินทร์]</ref>
 
=== ทางอากาศ ===
[[ไฟล์:Suvarnabhumi Airport inside.jpg|thumb|right|ทางออกขึ้นเครื่องภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]]
กรุงเทพมหานครมีท่าอากาศยานหลัก 2 ท่าอากาศยาน คือ [[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]]ใน[[อำเภอบางพลี]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]] และ [[ท่าอากาศยานดอนเมือง]] ซึ่งทั้ง 2 ท่าอากาศยาน เป็นท่าอากาศยานนานาชาติขนาดใหญ่ที่รองรับผู้โดยสารจากต่างประเทศเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และ ผู้โดยสารภายในประเทศไทยออกสู่ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม [[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] เป็นท่าอากาศยานหลักในการทำการขนส่งทางอากาศในกรุงเทพมหานคร
 
ในปี พ.ศ. 2561 จำนวนประเทศที่ทำการบินมาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้แก่ 55 ประเทศ ไม่รวมประเทศไทย โดยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้มาตั้งแต่วันที่ [[28 กันยายน]] [[พ.ศ. 2549]] แทน [[ท่าอากาศยานดอนเมือง]]ที่เปิดใช้มาตั้งแต่ [[พ.ศ. 2457]]
 
ตลอดทั้งปี [[พ.ศ. 2562]] มีสายการบินจำนวน 118 สายการบินใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แบ่งเป็น เครื่องขนส่งผู้โดยสาร 105 สายการบิน และเครื่องบิน[[ขนส่งอากาศยาน]]ขนส่งสินค้าไม่มีผู้โดยสาร 13 สายการบิน
 
โดยสายการบินขนส่งผู้โดยสาร สายการบิน อาร์เคียอิสราเอล เลิกบิน เส้นทาง [[เทลอาวีฟ]] ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2562
 
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังให้บริการ [[สายการบินเช่าเหมาลำ]] ระหว่างประเทศ 2 สายการบิน [[สายการบินเช่าเหมาลำ]] ภายในประเทศ ทำการบินไป [[สนามบินเกาะไม้ซี้]] 1 สายการบิน รวมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้บริการ ตลอดปี พ.ศ. 2562 ทั้งสิ้น 121 สายการบิน
 
ในส่วน ท่าอากาศยานดอนเมือง กลับมาบริการสายการบินระหว่างประเทศ อีกครั้ง ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555
 
ตั้งแต่เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานดอนเมือง รับเที่ยวบิน จาก [[ประเทศจีน]] [[ประเทศเกาหลีใต้|เกาหลีใต้]] [[ประเทศญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]] [[ประเทศสิงคโปร์|สิงคโปร์]] [[ประเทศมาเลเซีย|มาเลเซีย]] [[ประเทศมัลดีฟส์|มัลดีฟส์]] [[ประเทศพม่า|พม่า]] [[ประเทศเวียดนาม|เวียดนาม]] [[ประเทศอินโดนีเซีย|อินโดนีเซีย]] [[ประเทศไต้หวัน|ไต้หวัน]] [[ประเทศอินเดีย|อินเดีย]] [[กัมพูชา]] [[ฮ่องกง]] [[มาเก๊า]] [[ประเทศฟิลิปปินส์]] [[ประเทศออสเตรเลีย]] รวม 16 ประทศ
 
ส่วนเที่ยวบินภายในประเทศที่มีบริการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองเท่านั้นได้แก่เที่ยวบินไปกลับ [[ท่าอากาศยานแพร่]] [[ท่าอากาศยานตรัง]] [[ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด]] [[ท่าอากาศยานนครพนม]] [[ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช]] [[ท่าอากาศยานระนอง]] [[ท่าอากาศยานสกลนคร]] [[ท่าอากาศยานบุรีรัมย์]] [[ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน]] [[ท่าอากาศยานพิษณุโลก]] [[ท่าอากาศยานน่านนคร]] [[ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด]] ท่าอากาศยานชุมพร ซึ่งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่มีบริการใน 13 จังหวัดดังกล่าว
 
=== ทางน้ำ ===
[[ไฟล์:Watertaxi_on_the_Khlong_Saen_Saeb.JPG|thumbnail|left|[[เรือโดยสารคลองแสนแสบ]]]]
เรือโดยสารทั้งทางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองมีดังนี้
* [[เรือโดยสารคลองแสนแสบ]]
* เรือหางยาวโดยสาร[[คลองพระโขนง]] ([[พระโขนง]]-[[ตลาดเอื่ยมสมบัติ]])
* [[เรือด่วนเจ้าพระยา]]: เรือด่วนประจำทางและเรือด่วนพิเศษ (ธงส้ม ธงเหลือง ธงฟ้า และธงเขียว-เหลือง)
* เรือหางยาวด่วนคลองบางกอกน้อย
* เรือโดยสารคลองภาษีเจริญ
* เรือด่วนสาทร-คลองเตย
 
ส่วนท่าเรือสำหรับขนส่งผู้โดยสารและรับส่งสินค้าที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร คือ [[ท่าเรือกรุงเทพ]] ซึ่งตั้งอยู่ที่[[เขตคลองเตย]]
 
=== ระยะทางจาก[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย|กม.0]]ไปเขตต่างๆ ===
*[[เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย]] – 1 กิโลเมตร
*[[เขตพระนคร]] – 1 กิโลเมตร
*[[เขตดุสิต]] – 3 กิโลเมตร
*[[เขตปทุมวัน]] – 3 กิโลเมตร
*[[เขตคลองสาน]] – 4 กิโลเมตร
*[[เขตราชเทวี]] – 4 กิโลเมตร
*[[เขตสัมพันธวงศ์]] 4 กิโลเมตร
*[[เขตธนบุรี]] – 5 กิโลเมตร
*[[เขตบางกอกน้อย]] – 5 กิโลเมตร
*[[เขตบางรัก]] – 5 กิโลเมตร
*[[เขตบางกอกน้อย]] – 6 กิโลเมตร
*[[เขตบางพลัด]] – 6 กิโลเมตร
*[[เขตพญาไท]] – 6 กิโลเมตร
*[[เขตดินแดง]] – 7 กิโลเมตร
*[[เขตตลิ่งชัน]] – 7 กิโลเมตร
*[[เขตบางซื่อ]] – 8 กิโลเมตร
*[[เขตบางคอแหลม]] – 9 กิโลเมตร
*[[เขตสาทร]] – 9 กิโลเมตร
*[[เขตจอมทอง]] – 10 กิโลเมตร
*[[เขตราษฎร์บูรณะ]] – 10 กิโลเมตร
*[[เขตภาษีเจริญ]] – 11 กิโลเมตร
*[[เขตห้วยขวาง]] – 11 กิโลเมตร
*[[เขตวัฒนา]] – 12 กิโลเมตร
*[[เขตคลองเตย]] – 13 กิโลเมตร
*[[เขตจตุจักร]] – 13 กิโลเมตร
*[[เขตยานนาวา]] – 13 กิโลเมตร
*[[เขตบางกะปิ]] – 18 กิโลเมตร
*[[เขตลาดพร้าว]] – 18 กิโลเมตร
*[[เขตทวีวัฒนา]] – 19 กิโลเมตร
*[[เขตวังทองหลาง]] – 19 กิโลเมตร
*[[เขตสวนหลวง]] – 19 กิโลเมตร
*[[เขตพระโขนง]] – 20 กิโลเมตร
*[[เขตหลักสี่]] – 20 กิโลเมตร
*[[เขตบางแค]] – 21 กิโลเมตร
*[[เขตดอนเมือง]] – 22 กิโลเมตร
*[[เขตบางนา]] – 22 กิโลเมตร
*[[เขตบึงกุ่ม]] – 22 กิโลเมตร
*[[เขตทุ่งครุ]] – 23 กิโลเมตร
*[[เขตบางขุนเทียน]] – 23 กิโลเมตร
*[[เขตบางเขน]] – 25 กิโลเมตร
*[[เขตหนองแขม]] – 26 กิโลเมตร
*[[เขตประเวศ]] – 27 กิโลเมตร
*[[เขตสะพานสูง]] – 28 กิโลเมตร
*[[เขตสายไหม]] – 29 กิโลเมตร
*[[เขตมีนบุรี]] – 30 กิโลเมตร
*[[เขตบางบอน]] – 31 กิโลเมตร
*[[เขตคันนายาว]] – 32 กิโลเมตร
*[[เขตคลองสามวา]] – 33 กิโลเมตร
*[[เขตลาดกระบัง]] – 34 กิโลเมตร
*[[เขตหนองจอก]] – 46 กิโลเมตร
 
== ปัญหาในปัจจุบัน ==
=== การจราจรติดขัด ===
[[ไฟล์:Bangkok traffic by g-hat.jpg|thumbnail|ปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร]]
{{See also|ยอดผู้เสียชีวิตจากยานพาหนะในประเทศไทยแบ่งตามปี}}
ปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร นอกจากจะมีสาเหตุจากจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นทุกปีแล้ว ยังมีปัจจัยเร่งให้ปัญหาทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น คือ มีประชาชนจากต่างจังหวัดเข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก<ref>http://reportdd.com/สังคมสงเคราะห์-social-work/ปัญหาการอพยพเข้าเมืองห-3.html</ref> ทุกครั้งเมื่อถึงช่วงเทศกาล [[สงกรานต์]] มักพบว่ามีผู้เดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้แตกต่างจากกรุง[[ปักกิ่ง]] เท่าใดนัก<ref>[http://www.manager.co.th/China/viewnews.aspx?NewsID=9530000137644 ปักกิ่งแชมป์รถติด - Manager Online<!-- Bot generated title -->]</ref><ref>[http://www.youtube.com/watch?v=cJ_lj21-p-M รถติดนับ10วันบนถนนชานกรุงปักกิ่ง - YouTube<!-- Bot generated title -->]</ref>ปัญหาการจราจรติดขัดยังนำไปสู่ปัญหา[[มลพิษ]]ทางอากาศและ [[มลภาวะทางเสียง]]<ref>[http://hilight.kapook.com/view/28970 ข่าวมลพิษ 10 อันดับถนนกรุงเทพ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง สูง<!-- Bot generated title -->]</ref>รวมถึงอุบัติเหตุ ในปี พ.ศ. 2551 มีถนนที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเกิน 10 [[ไมโครเมตร]] (ค่ามาตรฐาน) จำนวน 10 สายในกรุงเทพมหานคร และมี 2 สาย ที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานทุกวัน กล่าวคือเกิน 70 [[เดซิเบล]] และมีถนนที่มีการจราจรหนาแน่นเกินมาตรฐาน 3 สาย<ref>[http://www.tcijthai.com/tcijthai/view.php?ids=1213]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 กรมมลพิษรายงานจากผลการวิจัยวัดค่าฝุ่นละอองในอากาศ ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ตั้งแต่ พ.ศ. 2549–2552 พบว่า มีค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของสารก่อมะเร็ง PAHs อยู่ที่ 554 พิโคกรัม (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 250 พิโครกรัม/ลบ.ม.)โดยสาเหตุหลักมาจากท่อไอเสียรถยนต์ [[วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2553|วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศ]] เป็นปัจจัยเร่งให้ปัญหานี้เพิ่มมากขึ้น<ref>http://th.88db.com/th/Knowledge/Knowledge_Detail.page?kid=7110600</ref> วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555 สำนักข่าว[[บีบีซี]]รายงานว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงที่มีการจราจรทางถนนหนาแน่นที่สุดของโลก จากนโยบายคืนภาษีรถคันแรกของรัฐบาล นางสาว[[ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร]] เป็นผลให้มีรถยนต์แล่นบนท้องถนนกว่า 5 ล้านคัน ทั้งที่พื้นที่ของถนนของกรุงเทพมหานครรองรับรถยนต์ได้เพียง 2 ล้านคันเท่านั้น<ref>[http://www.bbc.co.uk/news/magazine-19716687 10 monster traffic jams from around the world - BBC News<!-- Bot generated title -->]</ref> ด้านกรมขนส่งทางบกระบุจำนวนรถทุกประเภทที่จดทะเบียนสะสม กรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่ 9,096,936 คัน<ref>[https://data.go.th/DatasetDetail.aspx?id=21372366-e78b-4d4a-b040-8a702ecedd5f&AspxAutoDetectCookieSupport=1 จำนวนรถจดทะเบียน (สะสม) ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559]</ref>
 
=== ถนนชำรุด ===
ใน พ.ศ. 2554 ได้เกิด[[อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554|อุทกภัยในกรุงเทพมหานคร]] เป็นปัจจัยเร่งในการทำให้เกิดถนนชำรุด<ref>[http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000139763 คาดพิษน้ำท่วมพังถนนกรุงเทพฯกว่า 100 สาย - Manager Online<!-- Bot generated title -->]</ref> ต่อมาใน พ.ศ. 2555 ได้เกิดเหตุถนนทรุดตัวที่ [[ถนนพระรามที่ 4]] [[แยกวิทยุ-เพชรบุรี]] วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555<ref>[http://www.komchadluek.net/detail/20120318/125748/ถนนพระราม4ทรุดกว้าง5 ม. ลึก2 ม..html]</ref> โดยถนนทรุดตัวกว้าง 5 เมตรลึก 2 เมตร และทางเดินเท้า [[ถนนพระรามที่ 3]] [[แยกเจริญราษฎร์]] วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 โดยถนนทรุดตัวกว้าง 5 เมตร ลึก 3 เมตร<ref>http://news.sanook.com/1109374/ถนนทรุดโผล่อีก-ทางเท้าถ.พระราม3 ลึก 3 ม/</ref> และในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555 [[ถนนเจริญกรุง]] บริเวณหน้าโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ [[เขตบางคอแหลม]] พบโพรงใต้ผิวถนนและเกิดโพรงขนาด 50 เซนติเมตร<ref>[http://www.komchadluek.net/detail/20120405/127246/กทม.พบถนนเจริญกรุงทรุดอีก.html กทม.พบ'ถนนเจริญกรุง'ทรุดอีก<!-- Bot generated title -->]</ref> ต่อมาในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555 ถนนพญาไทขาออก [[แยกปทุมวัน]] ได้ทรุดเป็นหลุมลึก 1 เมตร กว้างประมาณ 60 เซนติเมตร<ref>[http://www.manager.co.th/crime/viewnews.aspx?NewsID=9550000045487 ยุบอีกแล้ว! ถนนพญาไททรุดเป็นหลุมลึก 1 เมตร - Manager Online<!-- Bot generated title -->]</ref> และในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ถนนยุบตัวเป็นหลุมลึกกว่า 1 เมตร กลางแยกอโศก ถนนสุขุมวิท<ref>[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1345347827&grpid=00&catid=&subcatid=]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> จากการสำรวจของสำนักการโยธา ตรวจสอบพื้นผิวการจราจรทั้ง 50 เขตพบว่าในพื้นที่ 36 เขต มีจุดที่เสี่ยงต่อการทรุดตัวทั้งหมด 155 จุด คิดเป็นจำนวนถนน 65 สาย<ref>[http://m.thairath.co.th/content/region/256941 ไล่ซ่อมถนน 155 จุด 65 สาย กทม.ชี้ซ่อมเบา 1 เดือน ซ่อมหนัก 2 เดือน-ขอ วสท.หาสาเหตุ - thairath.co.th<!-- Bot generated title -->]</ref> และในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เกิดเหตุถนนยุบตัวเป็นหลุมกว้าง บริเวณถนนงามวงศ์วาน จากแยกเกษตร มุ่งหน้าถนนวิภาวดีรังสิต ตรงข้ามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้านหน้าร้านอาหารใบไม้ร่าเริง โดยจุดที่เกิดการยุบตัวนั้นมีขนาดความกว้างประมาณ 1.5 เมตร ยาวประมาณ 2 เมตร และลึก 3 เมตร<ref>[http://www.manager.co.th/crime/ViewNews.aspx?NewsID=9550000120748 ระทึก! ถนนงามวงศ์วานย่าน ม.เกษตร ยุบตัวเป็นหลุมกว้าง 2 เมตร - Manager Online<!-- Bot generated title -->]</ref> ในปี พ.ศ. 2556 กรุงเทพมหานครยังคงประสบปัญหาถนนชำรุดโดยรถประจำทางสาย 13 ได้ตกลงไปในหลุมขนาดใหญ่กลางถนนวิทยุใกล้แยกเพลินจิต ซึ่งเกิดทรุดตัวกะหันหันกว้าง 3 เมตร ลึก 1 เมตร คาดเกิดจากท่อประปาใต้ถนนแตก น้ำเซาะดินจนพื้นทรุด เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556<ref>[http://www.komchadluek.net/detail/20130101/148467/%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%94!%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95.html ถนนทรุด!รถเมล์ติดหล่มแยกเพลินจิต<!-- Bot generated title -->]</ref> ต่อมาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เกิดเหตุถนนทรุดตัว บริเวณปากซอยเจริญกรุง 70/2 กว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร<ref>[http://www.komchadluek.net/detail/20130208/151340/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%942%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94.html 'เจริญกรุง'ถนนทรุด2จุด<!-- Bot generated title -->]</ref>
 
{{โครงส่วน}}
 
=== ทัศนียภาพ ===
ปัญหาทัศนียภาพเป็นปัญหาหนึ่งในกรุงเทพมหานครที่แตกต่างจากเมืองอื่น เนื่องจากในกรุงเทพมหานครมีป้ายผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก{{อ้างอิง}} ประภากร วทานยกุล อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยาม กล่าวว่า ผลกระเทือนจากป้ายผิดกฎหมายทั้งหลายนี้ มีตั้งแต่ระดับเบา จนถึงรุนแรง เช่น บดบังความงามทางทัศนียภาพ ไปจนถึงถูกลมพัดพังถล่มทับบ้านเรือนประชาชน ในกรณีนี้มีให้เห็นกันเป็นประจำ โดยที่ยังไม่มีมาตรการใด ๆ ออกมาแก้ไขปรับปรุงปัญหาดังกล่าวได้<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20110615/395478/สงคราม-ป้าย---ดีไซน์หรือจะสู้ปากท้อง.html 404<!-- Bot generated title -->]</ref> ขณะที่ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่ากรุงเทพมหานครในขณะนั้น เปิดเผยเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554 ว่าป้ายผิดกฎหมายในกรุงเทพมีมากถึง 1,928 ป้าย อย่างไรก็ตาม สำนักเทศกิจและสำนักงานเขต 50 เขต จัดเก็บป้ายผิดกฎหมายในพื้นที่ และเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมือง [[พ.ศ. 2535]] และจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 จัดเก็บได้ 1,327,229 ป้าย<ref>http://www.teerachon.com/?p=2505</ref>
{{โครงส่วน}}
 
=== อาชญากรรม ===
ปัญหาอาชญากรรมในกรุงเทพมหานครยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยในรายงานของสำนักงานกิจการยุติธรรม [[กระทรวงยุติธรรม]] ได้ทำการรวบรวมวิจัยปัญหานี้ตลอดปี พ.ศ. 2550 พบว่าเหยื่ออาชญากรรมที่เป็นสมาชิกครัวเรือนมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 52,410 รายนั้น ส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมต่อทรัพย์สิน ร้อยละ 96.1 เหยื่ออาชญากรรมมีอายุระหว่าง 45 - 59 ปี มากที่สุดคือ ร้อยละ 33.2 เหยื่ออาชญากรรมเป็นเพศชาย ร้อยละ 46.4 และหญิง ร้อยละ 53.6 มีสัญชาติไทย ร้อยละ 99.6 เชื้อชาติไทย ร้อยละ 99.0 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 94.1 มีการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษาเป็นจำนวนมากที่สุดคือร้อยละ 31.2 เหยื่ออาชญากรรมในกรุงเทพมหานคร รายงานว่าอาชญากรรมที่ประสบในภาพรวมเกิดเหตุในช่วงเวลา 00.01–03.00 น. มากที่สุดถึงร้อยละ 21.1 สถานที่เกิดเหตุอาชญากรรมทั้งหมดในกรุงเทพมหานครพบว่า ส่วนใหญ่เหยื่อระบุว่า เกิดเหตุขึ้นบริเวณบ้านที่พักอาศัยของเหยื่อเอง คิดเป็นร้อยละ 74.8<ref>http://www.thaicvs.org/images/51/13Bkk.pdf</ref>
 
กรุงเทพมหานคร ยังมี กรณีอาชญากรรมในเด็ก โดย ใน วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 มีนักเรียน อายุ 13 ปี ใช้ปืนยิงเพื่อนเสียชีวิต ที่ โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ [[จังหวัดนนทบุรี]]<ref>[https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_3210955 แค้นโดนรังแก ท้าต่อย ไม่เลิก ม.1 ขโมยปืนพ่อ ลั่นไกเพื่อน ม.1 กลาง รร.]</ref>
 
{{โครงส่วน}}
 
=== การระบายน้ำ ===
เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีการขยายของเมืองส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมทันทีที่ฝนตกหนักโดยในคืนของวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ภายหลังฝนตกหนักทั้งคืน กรุงเทพมหานครน้ำท่วมทันทีในวันรุ่งขึ้น<ref>[http://www.thairath.co.th/content/642906 ฝนถล่ม กทม.ท่วมหลายพื้นที่ ลาดพร้าว-วิภาฯ-รัชดา-พหลฯ รถติดขัด - thairath.co.th<!-- Bot generated title -->]</ref> ส่งผลให้การจราจรติดขัดอย่างมาก การแก้ไขปัญหานี้สำนักระบายน้ำยอมรับว่ายากมากเนื่องจากใต้พื้นดินของกรุงเทพมหานครเต็มไปด้วยพื้นที่ใช้สอยของห้างร้านอาทิสายไฟฟ้าต่าง ๆ
=== ฝุ่นละอองมลพิษ ===
[[ไฟล์:Bangkok haze 2019 March.jpg|thumb|กรุงเทพมหานครบริเวณ[[เขตสาทร]]และ[[เขตบางรัก]] ปกคุลมไปด้วยมลพิษทางอากาศ ภาพนี้ถ่ายในเดือนมีนาคม 2562 ช่วงเวลาประมาณ 13.00 น.]]
ในปี พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2562 กรุงเทพมหานครประสบกับปัญหาค่าฝุ่นละอองเกิดมาตราฐาน ผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครรายงานว่าพบว่าเมืองอยู่ภายใต้หมอกสีน้ำตาล<ref>[https://www.bbc.com/thai/thailand-46643980 ฝุ่นละอองกรุงเทพฯ : เหตุใดสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก จึงพุ่งสูงขึ้นมาอีกครั้ง]</ref>ดร.สนธิ คชวัฒน์ เลขาธิการสมาคมอนามัยสิ่งแวดล้อมไทยได้เสนอว่า ควรประกาศเป็น พื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ ตามกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุข หรือ ประกาศเขตควบคุมมลพิษ ค่าฝุ่นละอองเกิดมาตรฐานในวันที่ 14 มกราคม ปี พ.ศ. 2562 มีมากถึง 34 พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร<ref>[https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000004418 ยังวิกฤต! “กทม.-ปริมณฑล” ค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานพุ่ง 34 พื้นที่]</ref>
 
ในเดือน มกราคม พ.ศ. 2563 ฝุ่นละอองพิษ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ 47 พื้นที่<ref>[https://news.thaipbs.or.th/content/288095|กทม.-ปริมณฑล" เช้านี้ฝุ่น PM 2.5 เริ่มกระทบสุขภาพ 47 พื้นที่]</ref> กรุงเทพมหานครได้รับการจัดอันดับเป็นเมืองที่คุณภาพแย่เป็นอันดับ 8 ของโลก<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/862700|เช้านี้ กทม. อากาศแย่ที่สุด อันดับ 8 โลก ฝุ่นพิษ PM 2.5 พุ่ง 19 พื้นที่]</ref>วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563 นายแพทย์ [[ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์]] ระบุผ่าน[[เฟซบุ๊ก]]ว่า มีความเสี่ยงต่อการบกพร่องด้านการคิด พัฒนาการผิดปกติ และโรคทางจิตเวช ใน เด็ก เพื่อตอบโต้ โฆษกรัฐบาล ศาสตราจารย์ [[นฤมล ภิญโญสินวัฒน์]] ที่แถลงข่าวในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563 ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก<ref>[https://www.thebangkokinsight.com/274725/|อย่าตื่นฝุ่นพิษ โฆษกรัฐบาล ชี้สถานการณ์ดีขึ้น</ref>
 
== เมืองพี่น้อง ==
กรุงเทพมหานครได้สถาปนาความสัมพันธ์[[เมืองพี่น้อง]]กับหลายเมืองในหลายประเทศ และเมืองภายในประเทศ<ref name="sistercity">[http://www.bma.go.th/samnak/policyplan/international/p1.htm การสถาปนาความสัมพันธ์ บ้านพี่เมืองน้อง], กรุงเทพมหานคร, เรียกดูเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2550</ref> ได้แก่
{{บน}}
* {{flagicon|USA}} กรุง[[วอชิงตัน ดี.ซี.]] [[สหรัฐอเมริกา]] (2505) (หมายเหตุ:กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้สถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่น้องกับกรุงเทพมหานครเป็นแห่งแรก<ref>{{cite web|url=http://os.dc.gov/service/dc-sister-cities|title=DC Sister Cities|publisher=D.C. Office of the Secretary|accessdate=May 13, 2013}}</ref>)
* {{flagicon|China}} กรุง[[ปักกิ่ง]] [[ประเทศจีน]] (2536)
* {{flagicon|Russia}} กรุง[[มอสโก]] [[ประเทศรัสเซีย]] (2540)
* {{flagicon|Russia}} [[เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก]] [[ประเทศรัสเซีย]] (2540)<ref>{{cite web|url=http://eng.gov.spb.ru/figures/ities |title=St. Petersburg in figures > International and Interregional Ties |publisher=Eng.gov.spb.ru |date= |accessdate=2010-06-27}}</ref>
* {{flagicon|Philippines}} กรุง[[มะนิลา]] [[ประเทศฟิลิปปินส์]] (2540)
* {{Flagicon|Kazakhstan}} [[นูร์-ซุลตัน]] [[ประเทศคาซัคสถาน]] (2547)<ref name="oknation1">[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=296127 ÃÙé¨Ñ¡àÁ×ͧ¾ÕèàÁ×ͧ¹éͧ...¢Í§¡ÃØ§à·¾Ï ¨Ò¡ºÅçÍ¡ âÍà¤à¹ªÑè¹ oknation.net<!-- Bot generated title -->]</ref>
* {{flagicon|China}} [[จังหวัดแต้จิ๋ว|แต้จิ๋ว]] [[ประเทศจีน]] (2548)<ref>{{cite web|url=http://office.bangkok.go.th/iad/eng/viewpage.php?page_id=38 |title="Agreement of Sister City Relations" |publisher=Office.bangkok.go.th |date= |accessdate=2010-06-27|archiveurl=http://archive.is/lnF4|archivedate=2012-07-02}}</ref>
* {{flagicon|China}} [[เฉิงตู]] [[ประเทศจีน]] (2560)<ref>http://iad.bangkok.go.th/th/showsister_cities?id=115</ref>
* {{flagicon|USA}} [[นครนิวยอร์ก]] [[สหรัฐอเมริกา]] (2549)
* {{flagicon|South Korea}} [[โซล]] [[ประเทศเกาหลีใต้]] (2549)
* {{flagicon|Turkey}} กรุง[[อังการา]] [[ประเทศตุรกี]] (2549)
* {{flagicon|Thailand}} [[จังหวัดแพร่]] [[ประเทศไทย]] (2549)
* {{flagicon|Vietnam}} กรุง[[ฮานอย]] [[ประเทศเวียดนาม]] (2549)
* {{flagicon|Vietnam}} [[ดานัง]] [[ประเทศเวียดนาม]] (2555)
* {{flagicon|North Korea}} กรุง[[เปียงยาง]] [[ประเทศเกาหลีเหนือ]] (2555)
* {{flagicon|Vietnam}} [[นครโฮจิมินห์]] [[ประเทศเวียดนาม]] (2555)
* {{flagicon|Laos}} กรุง[[นครหลวงเวียงจันทน์|เวียงจันทน์]] [[ประเทศลาว]] (2555)
* {{flagicon|Laos}} [[แขวงหลวงพระบาง|หลวงพระบาง]] [[ประเทศลาว]] (2555)
* {{flagicon|Cambodia}} กรุง[[พนมเปญ]] [[ประเทศกัมพูชา]] (2555)
* {{flagicon|Mongolia}} กรุง[[อูลานบาตาร์]] [[ประเทศมองโกเลีย|มองโกเลีย]] (2549)
* {{flagicon|Germany}} กรุง[[เบอร์ลิน]] [[ประเทศเยอรมนี]] (2549)
* {{flagicon|Japan}} [[จังหวัดฟูกูโอกะ|ฟูกูโอกะ]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] (2549)<ref name="oknation1"/>
* {{flagicon|Argentina}} กรุง[[บัวโนสไอเรส]] [[ประเทศอาร์เจนตินา]] (2549)
* {{flagicon|Australia}} [[บริสเบน]] [[ประเทศออสเตรเลีย]] (2550)
{{กลาง}}
* {{flagicon|Italy}} [[มิลาน]] [[ประเทศอิตาลี]] (2550)
* {{flagicon|United Kingdom}} [[ลิเวอร์พูล]] [[สหราชอาณาจักร]] (2550)
* {{flagicon|United Kingdom}} [[กรุงลอนดอน]] [[สหราชอาณาจักร]] (2550)
* {{flagicon|Japan}} กรุง[[โตเกียว]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] (2550)
* {{flagicon|South Africa}} [[เคปทาวน์]] [[ประเทศแอฟริกาใต้]] (2550)
* {{flagicon|Hungary}} กรุง[[บูดาเปสต์]] [[ประเทศฮังการี]] (2550)
* {{flagicon|Australia}} [[ซิดนีย์]] [[ประเทศออสเตรเลีย]] (2550)
* {{flagicon|Australia}} [[เพิร์ท (ออสเตรเลีย)|เพิร์ท]] [[ประเทศออสเตรเลีย]] (2550)
* {{flagicon|Norway}} [[สยอร์ดัล]] [[ประเทศนอร์เวย์]] (2552)<ref>[http://stjordal.adressa.no/index.php?option=com_content_lokal&task=view&id=1852&Itemid=5 "Bangkok er ny vennskapsby"]. ''[[Adresseavisen]]''. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2552.</ref>
* {{flagicon|Turkey}} [[อิสตันบูล]] [[ประเทศตุรกี]] (2552)<ref>[http://haber.turk.net/ENG/2298708/-gen--Istanbul-and-Bangkok-Become-Sister-Cities >Istanbul and Bangkok Become Sister Cities]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref>
* {{flagicon|China}} [[กวางโจว]] [[ประเทศจีน]] (2552)<ref>[http://city.bangkok.go.th/th/news-special-info.php?id=1911]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2552.</ref>
* {{Flagicon|Sweden}} [[ลากุนดา]] [[ประเทศสวีเดน]] (2552)<ref>[http://www.ragunda.se/nyheter2005/bangkokbesokerragunda.5.d2883b1069c9064f6800034.html "Bangkok besöker Ragunda"]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}. Ragunda kommun. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2552. {{Sv icon}}</ref><ref>[http://www.ragunda.se/nyttigt/mediaservice/pressmeddelanden/ragundakommunfarbesokfransinvanortbangkok.5.69d68f47121308e50de800091.html "Ragunda kommun får besök från sin vänort Bangkok"]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}. Ragunda kommun. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2552. {{Sv icon}}</ref>
* {{Flagicon|Saudi Arabia}} กรุง[[ริยาด]] [[ประเทศซาอุดิอาระเบีย]] (2553)
* {{Flagicon|Spain}} กรุง[[มาดริด]] [[ประเทศสเปน]] (2553)
{{ล่าง}}
 
== เชิงอรรถ ==
<references group = note/>
 
== อ้างอิง ==
เส้น 298 ⟶ 1,083:
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[กรุงเทพมหานครและปริมณฑล]]
*
* [[สโมสรฟุตบอลกรุงเทพมหานคร]]
*
* [[เขต (หน่วยการปกครอง)|เขตในกรุงเทพมหานคร]]
* [[รายนามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]]
* [[รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร]]
* [[รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร]]
* [[รายชื่อวัดในกรุงเทพมหานคร]]
* [[รายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร]]
* [[รายชื่อโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานคร]]
* [[รายชื่อสาขาของธนาคารในกรุงเทพมหานคร]]
* [[รายชื่อห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพมหานคร]]
* [[รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร]]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Bangkok|กรุงเทพมหานคร}}
{{วิกิซอร์ซ|เมืองไทยในอดีต/กรุงเทพฯ เมื่อ ๕๐ ปีก่อน}}
* [http://www.bangkok.go.th/ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร]
* [http://www.bangkoktourist.com/ กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร]
* [http://www.bangkokgis.com/ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานคร]
 
{{ฟลิคเกอร์|bangkok}}
 
{{Geographic location
| Centre = กรุงเทพมหานคร
| North = [[จังหวัดปทุมธานี]]
| Northeast = [[จังหวัดนครนายก]]
| East = [[จังหวัดฉะเชิงเทรา]]
| Southeast = [[จังหวัดสมุทรปราการ]]
| South = ''[[อ่าวกรุงเทพ]]''
| Southwest = [[จังหวัดสมุทรสาคร]]
| West = [[จังหวัดนครปฐม]]
| Northwest = [[จังหวัดนนทบุรี]]
}}
 
{{เมืองหลวงในทวีปเอเชีย}}