ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรสุโขทัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 159.192.104.67 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 171.100.115.150
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 105:
| today = {{flag|ไทย}}<br /> {{flag|พม่า}}<br /> {{flagicon|ลาว}}[[ลาว]]
}}
'''อาณาจักรสุโขทัย'''<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_image_detail.php?id=178</ref> เป็นรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่ม[[แม่น้ำยม]] สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1782 [[พ่อขุนบางกลางหาว]]และ[[พ่อขุนผาเมือง]]ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจาก[[ขอมสบาดโขลญลำพง]]เป็นผลสำเร็จ และได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัย[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]] ก่อนจะค่อย ๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของ[[อาณาจักรอยุธยา]]ไปในที่สุด
 
== ที่ตั้งและอาณาเขต<!--อย่าเปลี่ยน--> ==
**
อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่าง[[อ่าวเมาะตะมะ]]และ[[ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง]] มีอาณาเขตดังนี้<ref>http://www.sac.or.th/Subdetail/article/2549/January/article6.html</ref>
 
# '''ทิศเหนือ''' มี[[เมืองแพล]] (ปัจจุบันคือ[[เทศบาลเมืองแพร่|แพร่]]) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด
# '''ทิศใต้''' มี[[เมืองพระบาง]] (ปัจจุบันคือ[[เทศบาลนครนครสวรรค์|นครสวรรค์]]) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้
# '''ทิศตะวันตก''' มี[[เมืองฉอด]] (ปัจจุบันคือ[[เทศบาลนครแม่สอด|แม่สอด]]) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยัง[[อาณาจักรมอญ]]
# '''ทิศตะวันออก''' มี[[เมืองสะค้า]]ใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ
 
=== การแทรกแซงจากอยุธยา ===
หลังจากพ่อขุนรามคำแหงแล้ว เมืองต่างๆเริ่มอ่อนแอลงเมือง ส่งผลให้ในรัชกาลพญาเลอไท และรัชกาลพญาไสลือไท ต้องส่งกองทัพไปปราบหลายครั้งแต่มักไม่เป็นผลสำเร็จ และการปรากฏตัวขึ้นของอาณาจักรอยุธยาทางตอนใต้ซึ่งกระทบกระเทือนเสถียรภาพของสุโขทัยจนในท้ายที่สุดก็ถูกแทรกแทรงจากอยุธยา จนมีฐานะเป็นหัวเมืองของอยุธยาไปในที่สุด โดยมีพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครองสุโขทัยในฐานะรัฐอิสระพระองค์สุดท้าย โดยขณะนั้น ด้วยการแทรกแซงของอยุธยา รัฐสุโขทัยจึงถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
* เมืองสรวงสองแคว (พิษณุโลก) อันเป็นเมืองเอก มีพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครอง
* เมืองสุโขทัย เมืองรอง มี พระยาราม เป็นผู้ปกครองเมือง
* เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) มี พระยาเชลียง เป็นผู้ปกครองเมือง
* เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) มี พระยาแสนสอยดาว เป็นผู้ปกครองเมือง
 
หลังสิ้นรัชกาล[[พระมหาธรรมราชาที่ 4]] (บรมปาล) [[พระยายุทธิษเฐียร]]ซึ่งเดิมทีอยู่ศรีสัชนาลัย ได้เข้ามาครองเมืองสองแคว (พิษณุโลก) และเมื่อแรกที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นผ่านพิภพ เป็นพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่าขณะนั้นพระยายุทธิษเฐียรเกิดน้อยเนื้อต่ำใจที่ได้เพียงตำแหน่งพระยาสองแคว เนื่องด้วย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]ทรงเคยดำริไว้สมัยทรงพระเยาว์ว่า หากได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ จะชุบเลี้ยงพระยายุทธิษฐิระให้ได้เป็นพระร่วงเจ้าสุโขทัย พ.ศ. 2011 พระยายุทธิษฐิระจึงเอาใจออกห่างจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไปขึ้นกับ พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนาในขณะนั้น เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการเฉลิมพระนามกษัตริย์ล้านนาจากพระยาเป็นพระเจ้า เพื่อให้เสมอศักดิ์ด้วยกรุงศรีอยุธยา พระนามพระยาติโลกราช จึงได้รับการเฉลิมเป็น[[พระเจ้าติโลกราช]]
 
หลังจากที่พระยายุทธิษฐิระ นำสุโขทัยออกจากอยุธยาไปขึ้นกับล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงเสด็จจากกรุงศรีอยุธยา กลับมาพำนัก ณ เมืองสรลวงสองแคว พร้อมทั้งสร้างกำแพงและค่ายคู ประตู หอรบ แล้วจึงสถาปนาขึ้นเป็นเมือง พระพิษณุโลกสองแคว เป็นราชธานีฝ่ายเหนือของอาณาจักรแทนสุโขทัย ในเวลาเจ็ดปีให้หลัง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงตีเอาสุโขทัยคืนได้ แต่เหตุการณ์ทางเมืองเหนือยังไม่เข้าสู่ภาวะที่น่าไว้วางใจ จึงทรงตัดสินพระทัยพำนักยังนครพระพิษณุโลกสองแควต่อจนสิ้นรัชกาล ส่วนทางอยุธยานั้น ทรงได้สถาปนา[[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3]] พระราชโอรส เป็นพระมหาอุปราช ดูแลอยุธยาและหัวเมืองฝ่ายใต้
ด้วยความที่เป็นคนละประเทศมาก่อน และมีสงครามอยู่ด้วยกัน ชาวบ้านระหว่างสุโขทัยและอยุธยา จึงมิได้ปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จึงต้องแยกปกครอง โดยพระมหากษัตริย์อยุธยา จะทรงสถาปนาพระราชโอรส หรือพระอนุชา หรือพระญาติ อันมีเชื้อสายสุโขทัย ปกครองพิษณุโลกในฐานะราชธานีฝ่ายเหนือ และควบคุม[[หัวเมืองเหนือ]]ทั้งหมด
 
=== การสิ้นสุด ===
{{ประวัติศาสตร์ไทย}}
พ.ศ. 2127 หลังจากชนะศึกที่[[แม่น้ำสะโตง]]แล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัว[[หัวเมืองเหนือ]]ทั้งปวง ([[เมืองพระพิษณุโลกสองแคว]] [[เมืองสุโขทัย]] [[เมืองพิชัย]] [[เมืองสวรรคโลก]] [[เมืองกำแพงเพชร]] [[เมืองพิจิตร]] และ[[เมืองพระบาง]])<ref>{{อ้างหนังสือ
| ผู้แต่ง = พิเศษ เจียจันทร์พงษ์
| ชื่อหนังสือ = พระมหาธรรมราชากษัตราธิราช
| URL = http://www.matichonbook.com/index.php?mnuid=5&selmnu=470426104014
| จังหวัด = กรุงเทพฯ
| พิมพ์ที่ = สำนักพิมพ์มติชน
| ปี = [[พ.ศ. 2546]]
| ISBN = 974-322-818-7
| จำนวนหน้า = 184
| หน้า = 57
}}
</ref> ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขทัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ
 
ในด้านวิชาการ มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์[[แผ่นดินไหว]]ครั้งใหญ่ บน[[รอยเลื่อนวังเจ้า]] ในราวพุทธศักราช 2127 แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้แต่[[แม่น้ำแควน้อย (น่าน)|แม่น้ำแควน้อย]] ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ (ปัจจุบันคือ[[แม่น้ำน่าน]]) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทน ทั้งหมด
 
== ความเจริญรุ่งเรือง ==
=== ด้านเศรษฐกิจ ===
สภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบ[[เสรีนิยม]] ดังข้อความปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 "…ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้า ทองค้า " และ "...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว..." ประชาชนประกอบอาชีพ[[เกษตรกรรม]]ด้วยระบบ[[การเกษตรแบบพึ่งพาธรรมชาติ]] เช่นสังคมไทยส่วนใหญ่ในชนบทปัจจุบัน และส่งออกเครื่องถ้วยชามสังคโลก
 
=== ด้านสังคม ===
การใช้ชีวิตของผู้คนในสมัยสุโขทัยมีความอิสระเสรี มีเสรีภาพอย่างมากเนื่องจากผู้ปกครองรัฐให้อิสระแก่ไพร่ฟ้า และปกครองแบบพ่อกับลูก ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกว่า "…ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…"
 
ด้านความเชื่อและศาสนา สังคมยุคสุโขทัยประชาชนมีความเชื่อทั้งเรื่องวิญญาณนิยม (Animism) ไสยศาสตร์ ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และพุทธศาสนา ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 5 ว่า "…เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎิวิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดพงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง ป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขระพุงผี เทพยาดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ว ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยว เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย…"
 
ส่วนด้านศาสนา ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา[[นิกายเถรวาท]]แบบ[[ลังกาวงศ์]]จาก[[นครศรีธรรมราช]] ในวันพระ จะมี[[ภิกษุ]]เทศนาสั่งสอน ณ [[ลานธรรม]]ใน[[สวนตาล]] โดยใช้[[พระแท่นมนังคศิลาอาสน์]] เป็น[[อาสนะสงฆ์]] ในการบรรยายธรรมให้ประชาชนฟัง ยังผลให้ประชาชนในยุคนี้นิยมปฏิบัติตนอยู่ใน[[ศีลธรรม]] มีการถือ[[ศีล]] โอย[[ทาน]]กันเป็นปกติวิสัย ทำให้สังคมโดยรวมมีความสงบสุขร่มเย็น
 
=== ด้านการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย ===
อาณาจักรสุโขทัยปกครองด้วยระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]] ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ
 
# '''แบบราชาธิปไตย''' ในระยะแรกสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระมหากษัตริย์เรียกว่า "พ่อขุน" ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อที่จะต้องดูแลคุ้มครองลูก ในสมัย[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]] โปรดให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ไปสั่นกระดิ่งร้องเรียน พระองค์ก็จะเสด็จมารับเรื่องราวร้องทุกข์ และโปรดให้สร้างพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ได้กลางดงตาล ในวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน หากเป็นวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าและตัดสินคดีความด้วยพระองค์เอง การปกครองแบบนี้ปรากฏในสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น
#'''แบบ[[ธรรมราชา]]''' กษัตริย์ผู้ทรงธรรม ในสมัยของ[[พระมหาธรรมราชาที่ ๑]] มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็ง ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้น พระองค์ทรงเกรงภัยอันตรายจะบังเกิดแก่อาณาจักรสุโขทัย หากใช้กำลังทหารเพียงอย่างเดียว พระองค์จึงทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง โดยพระองค์ทรงเป็น แบบอย่างในด้านการปฏิบัติธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่อง [[ไตรภูมิพระร่วง]] ที่ปรากฏแนวคิดแบบธรรมราชาไว้ด้วย การปกครองแบบนี้ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาที่ 1 - 4
 
ด้านการปกครองส่วนย่อยสามารถแยกกล่าวเป็น 2 แนว ดังนี้
 
* '''ในแนวราบ''' จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและ[[ความยุติธรรม]]กับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "…ในปาก[[ประตู]]มี[[กระดิ่ง]]อันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้
 
* '''ในแนวดิ่ง''' ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น 4 ชนชั้น คือ
** '''พ่อขุน''' เป็นชนชั้นผู้ปกครอง อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น [[เจ้าเมือง]] [[พระมหาธรรมราชา]] หากมีโอรสก็จะเรียก "[[ลูกเจ้า]]"
** '''[[ลูกขุน]]''' เป็น[[ข้าราชบริพาร]] ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ช่วงปกครอง[[เมืองหลวง]] [[หัวเมืองใหญ่น้อย]] และภายใน[[ราชสำนัก]] เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและได้รับการไว้วางใจจากเจ้าเมืองให้ปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า
** '''[[ไพร่]]'''หรือ[[สามัญชน]] ได้แก่ราษฎรทั่วไปที่อยู่ใน[[ราชอาณาจักร]] ([[ไพร่ฟ้า]])
** '''[[ทาส]]''' ได้แก่ชนชั้นที่ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิตอย่างสามัญชนหรือไพร่ (อย่างไรก็ตามประเด็นทาสนี้ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่){{อ้างอิง}}
 
== รายพระนามและรายนามผู้ปกครอง ==