ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 55:
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีรูปร่างพื้นฐานเป็น[[การเดินด้วยสี่เท้า|สัตว์สี่เท้า]] (Quadruped) และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนมากใช้ส่วนปลายทั้งสี่นี้ใน[[การเคลื่อนที่บนบก]] แต่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิด ส่วนปลายดังกล่าวปรับตัวใช้[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเล|ในทะเล]] [[สัตว์บินและร่อน|บนอากาศ]] [[การเคลื่อนที่บนต้นไม้|บนต้นไม้]] [[ฟอสซอเรียล|ใต้ดิน]] หรือ[[การเดินด้วยสองเท้า|ด้วยสองขา]] สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีขนาดตั้งแต่[[ค้างคาวคุณกิตติ]]ขนาด 30–40 มิลลิเมตร (1.2–1.6 นิ้ว) จนถึงวาฬสีน้ำเงินขนาด 30 เมตร (98 ฟุต) ซึ่งอาจเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีชีวิตมา ช่วงชีวิตสูงสุดแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2 ปีของ[[หนูผี]]จนถึง 211 ปีของ[[วาฬหัวคันศร]] สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทั้งหมดในปัจจุบันออกลูกเป็นตัว ยกเว้น[[โมโนทรีม]]ห้า[[สปีชีส์|ชนิด]]ที่ออกลูกเป็นไข่ กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีสปีชีส์มากที่สุด คือ [[พลาเซนทาเรีย]] ซึ่งมี[[รก]]ที่ทำหน้าที่เลี้ยงตัวอ่อนระหว่าง[[ระยะมีครรภ์|ที่อยู่ในครรภ์]]
 
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนมาก[[การรับรู้ในสัตว์|ฉลาด]] โดยมีสมองขนาดใหญ่ มี[[การรับรู้ตนเอง]] และสามารถ[[การใช้อุปกรณ์ในสัตว์|ใช้อุปกรณ์]]ได้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสามารถสื่อสารและส่งเสียงได้ด้วยหลายวิธีการ รวมถึงการปล่อย[[คลื่นเสียงความถี่สูง]] [[อาณาเขต (สัตว์)|การสร้างอาณาเขตด้วยการปล่อยกลิ่นตัว]] [[การส่งสัญญาณเตือน]] [[การร้องเพลง]] และ[[การกำหนดวัตถุที่ตั้งด้วยเสียงสะท้อนในสัตว์|การกำหนดวัตถุที่ตั้งด้วยเสียงสะท้อน]] สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสามารถจัดระเบียบตัวเองให้เป็น[[สังคมฟิซชัน–ฟิวชัน]], [[ฮาเร็ม (สัตววิทยา)|ฮาเร็ม]] และ[[ลำดับขั้น]] แต่ก็สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวและครองอาณาเขต สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนมาก[[การมีตัวเมียผัวเดียวหลายตัวเมีย|มีตัวเมียหลายตัว]] แต่บางชนิดอาจ[[การมีคู่ผสมพันธุ์ตัวผัวเดียวเมียเดียว|มีคู่เพียงตัวเดียวทั้งชีวิต]] หรือ[[การมีตัวผู้หลายตัว|มีตัวผู้หลายตัว]]
 
[[การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง|การปรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดให้เป็นสัตว์เลี้ยง]]โดยมนุษย์นั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญใน[[การปฏิวัติยุคหินใหม่]] และทำให้[[เกษตรกรรม]]เป็นแหล่งอาหารหลักของมนุษย์แทนที่[[คนเก็บของป่าล่าสัตว์|การเก็บของป่าล่าสัตว์]] เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ในสังคมมนุษย์จากการเร่ร่อนเป็นการตั้งหลักปักฐาน ณ ที่ใดที่หนึ่ง และด้วยความร่วมมือระหว่างกลุ่มที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในท้ายที่สุดก็พัฒนาเป็น[[อารยธรรม]]แรก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เลี้ยงนั้นเป็นแรงงานสำหรับการขนส่งและเกษตรกรรม เป็นอาหารให้กับมนุษย์ (เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม) และเป็นผู้ให้ขนและหนังสัตว์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมยัง[[การล่าสัตว์|ถูกล่า]]และถูกจับมาแข่งขันเป็นกีฬา และยังใช้เป็นสิ่งมีชีวิตตัวแบบในทางวิทยาศาสตร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมยังได้รับการพรรณนาใน[[ศิลปะ]]ตั้งแต่[[ยุคหินเก่า]] และยังปรากฏในวรรณกรรม, ภาพยนตร์, เรื่องปรัมปรา และศาสนา จำนวนสัตว์ที่ลดลงและการสูญพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจำนวนมากเป็นผลมาจาก[[การบุกรุกเข้าไปล่าสัตว์]]ของมนุษย์และ[[การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ]]ด้วย[[การทำลายป่า]]เป็นส่วนใหญ่