3,054
การแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขขั้นสูงด้วยมือถือ |
|||
เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาล[[สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์]] ต่อมา พ.ศ. 2310 เกิด[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] พระองค์ได้เป็นผู้นำขับไล่ทหารพม่าที่ยึดครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ในเวลานั้น และได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาอีกเจ็ดเดือนถัดมา<ref name="ปราบดาภิเษก">จรรยา ประชิตโรมรัน. (2548). '''สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช'''. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 55</ref> โดยพระองค์ย้ายเมืองหลวงไปยัง[[อาณาจักรธนบุรี|กรุงธนบุรี]] และรวบรวมแผ่นดินซึ่ง[[สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|มีขุนศึกก๊กต่าง ๆ ปกครอง]]ให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง เช่นเดียวกับการขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ ยังทรงฟื้นฟูราชอาณาจักรในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทั้งส่งเสริมกิจการด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา ภายหลังรัฐบาลไทยประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานาม[[รายพระนามกษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช|มหาราช]]
พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อพระ
== พระราชประวัติก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ ==
{{ดูเพิ่มที่|การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี}}
[[ไฟล์:Wat Intharam (Wat Bang Yi Ruea Nok) - The stupa of King Taksin (1).JPG|thumb|150px|พระสถูปบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หน้าพระอุโบสถหลังเดิม [[วัดอินทารามวรวิหาร]] ภายหลังมีผู้ขนานพระสถูปนี้ว่า "พระเจดีย์กู้ชาติ" ร่วมกับพระสถูปอีกองค์หนึ่งที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน ซึ่งเชื่อกันว่าบรรจุพระบรมอัฐิของ[[กรมหลวงบาทบริจา]] พระอัครมเหสีของพระองค์]]
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2325 ขณะนั้นกรุงธนบุรีมีอายุได้ 15 ปี พระยาสรรค์กับพวกได้ก่อกบฏ [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก]]ซึ่งขณะนั้นไปทำศึกกับเขมรจึงกลับมายังกรุงธนบุรี เห็นว่าความไม่สงบของบ้านเมืองเกิดจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระสติวิปลาส จึงให้นำไปสำเร็จโทษด้วยการตัดพระเศียร<ref>''พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา'', กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2548, หน้า 230</ref> ณ [[ป้อมวิไชยประสิทธิ์]] แล้วฝังพระบรมศพที่[[วัดบางยี่เรือใต้]] (วัดอินทารามวรวิหาร) เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325<ref name="นามานุกรม"/> เสด็จสวรรคตขณะมีพระ
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากแนวคิดดังกล่าวแล้ว ยังมีแนวคิดอื่น เช่น ที่เสนอว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถูกสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทำรัฐประหาร และแนวคิดที่ว่าพระองค์ทรงสละราชบัลลังก์และลาผนวชไปยังนครศรีธรรมราช เป็นต้น<ref>ทศยศ กระหม่อมแก้ว. '''พระเจ้าตาก สิ้นพระชนม์ที่เมืองนคร'''. กรุงเทพฯ : กรีนปัญญาญาณ จำกัด, 2555. ISBN : 978-616-526-030-5</ref>
|
การแก้ไข