ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนสคัพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หัวใจไร้ข้อแม้ (คุย | ส่วนร่วม)
หัวใจไร้ข้อแม้ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
 
== ประวัติการแข่งขัน ==
การแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรในประเทศไทย ที่ได้รับการยอมรับอย่างหนึ่งคือ [[ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน]] ซึ่งเป็นถ้วยที่ทาง [[สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย|สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ]] รับรองและเป็นถ้วยหลักที่ทำการแข่งขัน แต่ว่า การแข่งขันฟุตบอลกระชับในระดับสโมสร เพื่อเตรียมพร้อมในการแข่งขัน ยังไม่มีหนัก โดยได้มีความพยายามจัดการแข่งขันในปี 2508 โดยเป็น [[สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ|สโมสรทหารอากาศ]] ได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลกระชับมิตรสโมสรในระบบทัวร์นาเม้นต์ โดยแข่งเป็นกระชับมิตรสามเส้า ระหว่าง [[สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ|สโมสรธนาคารกรุงเทพ]] [[สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ|สโมสรทหารอากาศ]] และ[[สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ|สโมสรตำรวจ]] ชิงถ้วย [[รายชื่อผู้บัญชาการทหารอากาศไทย|ผู้บัญชาการทหารอากาศ]] แต่ก็เป็นการจัดเพียงครั้งเดียวเท่านั้น<ref name=":0">https://www.facebook.com/queencup2513/photos/a.101492384732245/101399494741534/?type=3&theater อ้างอิง จาก สูจิบัตรการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนินีนาถ พ.ศ. 2513</ref>
 
จนกระทั่งในปี 2513 [[บุญชู โรจนเสถียร]] นายกสโมสรธนาคารกรุงเทพ (''ในขณะนั้น'') ไดมีดำริที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับกระชับมิตรสโมสร โดยได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ|สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ]] เพื่อขอพระบรมราชานุญาต ใช้ชื่อการแข่งขันนี้ว่า '''การแข่งขันชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (ควีนสคัพ)''' ซึ่งก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศล และเพื่อให้สโมสรต่างๆ ได้มีโอกาสเข้าแข่งขันเพื่อหาประสบการณ์ รวมไปถึงเป็นเวทีในการคัดเลือกนักฟุตบอลในระดับสโมสร เพื่อเข้าสู่สารระบบฟุตบอลทีมชาติไทย