ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหาธรรมราชาที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 8685006 สร้างโดย 2001:44C8:470A:8EDB:1:0:67EE:E641 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 2:
{{Infobox royalty
| image = ภาพ:Mahathammaracha I.JPG|250px|center|
| title = พระบาทกมรเตงอัญศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช
| birth_style = {{Nowrap|พระราชสมภพ}}
| birth_date = พ.ศ. 1843
เส้น 10 ⟶ 9:
| spouse-type = {{Nowrap|อัครมเหสี}}
| spouse = [[สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา]]
| succession = [[พระมหากษัตริย์]]แห่ง[[อาณาจักรสุโขทัย]]
| reign = พ.ศ. 1890 - 1911 (21 ปี)
| father = [[พระยาเลอไทย]]
เส้น 21 ⟶ 20:
}}
 
'''พระมหาธรรมราชาที่ 1''' หรือ '''พระบาทกมรเตงอัญศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช'''<ref name="จารึกวัดป่ามะม่วง">{{cite book | author = ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย | title = จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาเขมร) ด้านที่ 1 | url = https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/1330 | publisher =ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) | location = กรุงเทพฯ | year = 2549}}</ref>, '''พระบาทกมรเตงอัญฦๅไทยราช '''<ref name="จารึกวัดป่ามะม่วง"/>, '''พระยาลือไทย'''<ref>ศานติ ภักดีคำ. "พระนามกษัตริย์สุโขทัย : ความสัมพันธ์กับเขมรโบราณ". ''ดำรงวิชาการ''. 6:1 (มกราคม-มิถุนายน 2550), หน้า 92</ref> หรือ '''พญาลิไทย'''<ref>''นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย'', หน้า 33</ref> (ประสูติ พ.ศ. 1843 - 1911) เป็นพระมหากษัตริย์สุโขทัยลำดับที่ 6 ใน[[ราชวงศ์พระร่วง]] เป็นพระราชโอรสของ[[พระยาเลอไทย]] และพระราชนัดดาของ[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]]
 
==พระราชประวัติ==
{{พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง}}
พระยาลิไทยเป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง[[อาณาจักรสุโขทัย]] มีพระนามเดิมว่า'''ฦๅไทย''' (ลือไทย) ซึ่งภาษาบาลีสะกดว่า '''ลิเทยฺย'''<ref>''พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยสุโขทัย ไตรภูมิกถา'', หน้า 3</ref> (ลิไทย) ขึ้นครองราชย์ต่อจาก[[พระยางั่วนำถุม]] เดิมทรงปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ในฐานะองค์อุปราชหรือรัชทายาท[[อาณาจักรสุโขทัย|เมืองสุโขทัย]] เมื่อปี พ.ศ. 1882
 
เมื่อ[[พระยาเลอไทย]]เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1884 [[พระยางั่วนำถุม]]ได้ขึ้นครองราชย์จนเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1890 พระยาลิไทยโดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม พระยาลิไทยยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติได้ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890 ทรงพระนามว่า ''พระบาทกมรเตงอัญศรีสุริยพงษ์รามมหาธรรมราชาธิราช''
 
==พระราชกรณียกิจ==
===การศาสนา===
 
พระยาลิไทยทรงเลื่อมใสใน[[พระศาสนาพุทธศาสนา]]เป็นอย่างมากนโยบายการปกครองที่ใช้[[ศาสนา]] เป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้ ด้วยทรงดำริว่าการจะขยายอาณาเขตต่อไปเช่นเดียวกับในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง พระอัยกา ก็จักต้องนำไพร่พลไปล้มตายอีกเป็นอันมาก พระองค์จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะปกครองบ้านเมืองเช่นเดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราชที่ทรงปกครองอินเดียให้เจริญได้ด้วยการส่งเสริมพระพุทธศาสนา และสั่งสอนชาวเมืองให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันจะเป็นวิธีรักษาเมืองให้ยั่งยืนอยู่ได้
 
ทรงสร้างเจดีย์ที่เมืองนครชุม ([[กำแพงเพชร]]) ผนวช(ผะ-หนวด)ในพระพุทธศาสนาเมื่อ [[พ.ศ. 1905]] ที่[[วัดป่ามะม่วง]]การที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัย[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]]แล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่าง ๆ เช่น อโยธยา [[หลวงพระบาง]] [[เมืองน่าน]] แม้แต่[[พระเจ้ากือนาธรรมิกราชพญากือนา]]แห่ง[[อาณาจักรล้านนา]]ก็นิมนต์พระสุมณเถระจากสุโขทัยไปเพื่อเผยแพร่ธรรมที่[[อาณาจักรล้านนา|ล้านนา]]
 
นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก ทรงอาราธนาพระสามิสังฆราชจากลังกาเข้ามาเป็น[[สังฆราช]]ในกรุงสุโขทัย เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนามากยิ่งขึ้น ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น [[พระพุทธชินสีห์]] [[พระศรีศาสดา]] และพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศคือ [[พระพุทธชินราช]] ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่[[วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร]]
เส้น 40 ⟶ 39:
พระยาลิไทย ทรงปราดเปรื่องในความรู้ในพระพุทธศาสนา ทรงมีความรู้แตกฉานใน[[พระไตรปิฎกภาษาบาลี]] พระองค์ได้ทรงแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่าย "[[คามวาสี]]" และฝ่าย "[[อรัญวาสี]]" โดยให้ฝ่ายคามวาสีเน้นหนักการสั่งสอนราษฎรในเมืองและเน้นการศึกษา[[พระไตรปิฎก]] ส่วนฝ่ายอรัญวาสีเน้นให้หนักด้านการ[[วิปัสสนา]]และประจำอยู่ตามป่าหรือชนบท ด้วยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระศาสนาตลอดพระชนม์ชีพ ราษฎรจึงถวายพระนามว่า "'''พระมหาธรรมราชา'''"
 
พระยาลิไท ได้สร้างและบรรจุ[[พระบรมสารีริกธาตุ]]ในพระธาตุช่อแฮ ([[วัดพระธาตุช่อแฮพระอารามหลวง]] อำเภอเมือง [[จังหวัด|จังหวัดแพร่]] ปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๒1902
 
นอกจากศาสนาพุทธแล้ว พญาลิไทยยังทรงอุปถัมภ์[[ศาสนาฮินดู]]ด้วยโดยทรงสร้าง[[เทวรูป]]ขนาดใหญ่หลายองค์ซึ่งยังเหลือปรากฏให้ศึกษาใน[[พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ]]ใน[[กรุงเทพมหานคร]]และที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ[[จังหวัดพิษณุโลก]]
เส้น 55 ⟶ 54:
 
===ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ===
นับแต่พระยาลิไทยได้ครองราชย์มา 2 ปี [[พระเจ้าอู่ทองสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1]] ผู้ครอง[[กรุงศรีอยุธยา]] ได้ให้[[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 |ขุนหลวงพระงั่ว]]ยกทัพมาตีเมืองชัยนาท หัวเมืองชั้นในของกรุงสุโขทัยด้วยขณะนั้นกรุงสุโขทัยอ่อนแอจากทุพภิกขภัย ข้าวกล้าในนาเสียหาย ชาวเมืองอดอยาก
 
ต่อมาพระยาลิไทยได้ส่งทูตไปเจรจาให้กรุงศรีอยุธยาคืนเมืองชัยนาทแต่โดยดี และจะยินยอมให้เป็นประเทศอิสระและมีไมตรีกันเช่นเดียวกับขอมที่ครองเมืองลพบุรี กรุงศรีอยุธยาเห็นควรด้วยเกรงว่าขอมจะร่วมมือกับกรุงสุโขทัยจัดทัพกระหนาบมาตี กรุงศรีอยุธยาจึงคืนเมืองชัยนาทให้พระยาลิไทย