ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏแมนฮัตตัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 34:
ในที่สุดมีการทิ้งระเบิดขนาด 50 กก. จากเครื่องบินแบบ [[Spitfire]] และ T6 ใส่[[เรือรบหลวงศรีอยุธยา]]ที่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ลูกระเบิดดังกล่าวทะลุดาดฟ้าลงไประเบิดในคลังกระสุนใต้ท้องเรือ<ref>{{cite web | url = https://www.silpa-mag.com/old-photos-tell-the-historical-story/article_1309 | title = นายทหารผู้ทำลาย “เรือหลวงศรีอยุธยา” เผย “เสียใจ-ไม่ได้ตั้งใจ” แต่เป็นเพราะ “ระเบิดเสื่อม” | publisher = ''ศิลปะวัฒนธรรม'' | date = 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 | quote = แต่ระเบิดที่เอาไปใช้มันเสื่อม ถ้าเป็นระเบิดใหม่กระทบดาดฟ้าก็ระเบิด ถึงไฟไหม้ก็ไหม้เพียงบนดาดฟ้าพอดับได้ไม่ถึงกับจม แต่นี่มันเป็นระเบิดเก่าทะลวงดาดฟ้าลงไประเบิดข้างล่าง แถมเจอกองกระสุนในเรือเข้าอีก เลยระเบิดกันใหญ่ (น.ต. พร่างเพชร์ บุญยพันธ์)}}</ref> จึงจนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เรือก็จม และในเวลา 17.00 เรือหลวงคำรณสินธุ์ ซึ่งทำหน้าที่คุ้มครองคลังน้ำมันอยู่ที่บริเวณกรมอู่ทหารเรืออับปางลงอีกลำหนึ่ง ส่วน[[กรมอู่ทหารเรือ]]ไฟไหม้เสียหายทั้งหมด จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกทหารเรือที่อยู่บนเรือสวมเสื้อชูชีพนำว่ายน้ำหลบหนีออกมาได้ ที่สุดทั้งฝ่ายกบฏและรัฐบาลเปิดการเจรจากัน ฝ่ายกบฏได้ปล่อยตัวจอมพล ป. ให้กับฝ่ายรัฐบาล โดยผ่านทางทหารเรือด้วยกัน ซึ่ง พล.ร.อ.สินธุ์ ก็ได้นำตัวคืนสู่[[วังปารุสกวัน]] กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในเวลาประมาณ 23.00 น. ของวันนั้น
 
ต่อมาในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 22]] และกระทรวงกลาโหมได้มีประกาศและคำสั่ง ให้ พลเรือเอก [[หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)]] ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือโท หลวงเจริญราชนาวา (เจริญ ทุมมานนท์) รองผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือโท ผัน นาวาวิจิต ผู้บัญชาการกองเรือรบ พลเรือตรี [[ชลิต กุลกำม์ธร]] รองผู้บัญชาการกองเรือรบ พลเรือตรี กนก นพคุณ ผู้บังคับการมณฑลทหารเรือที่ 1 พลเรือตรี ประวิศ ศรีพิพัฒน์ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ พลเรือตรี ดัด บุนนาค เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ พลเรือตรี [[แชน ปัจจุสานนท์]] รองเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการ พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ ผู้บังคับการกองสัญญาณทหารเรือ และ พลเรือตรี สงวน รุจิราภา นายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ ถูกพักราชการและปลดออกจากตำแหน่ง และในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกองทัพเรือในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2494<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/045/4.PDF พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกองทัพเรือในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2494]</ref> ต่อมาในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2494 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกเลิก[[กฎอัยการศึก]]ใน[[จังหวัดพระนคร]]และ[[จังหวัดธนบุรี]] ในวันที่ โดยผ่าน[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร]]<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/056/1.PDF</ref> และในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 คณะบริหารประเทศชั่วคราวก่อ [[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494]] และได้แต่งตั้ง พลตำรวจโท [[เผ่า ศรียานนท์]] อธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้รักษาความสงบทั่วราชอาณาจักร<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/D/071/9.PDF</ref>เป็นอันสิ้นสุดเหตุการณ์
 
ในส่วนของผู้ก่อการได้ถูกบีบบังคับให้ขึ้นรถไฟไปทางภาคเหนือ จากนั้นจึงแยกย้ายกันหลบหนีข้ามพรมแดนไป[[พม่า]]และ[[สิงคโปร์]] ในส่วนของ น.ต.มนัส จารุภา ร.น. ผู้ทำการจี้จอมพล ป. ได้หลบหนีไปพม่าได้สำเร็จ แต่ถูกจับกุมได้หลังจากลักลอบกลับเข้าประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2495