ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การทับศัพท์ชื่อภาษาญี่ปุ่นกรณีคำประสม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
 
::{{ความเห็น}} ยากเหมือนกันนะครับ อันนี้คงต้องสืบหาตัวอย่างการทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเกี่ยวกับสถานที่จากราชบัณฑิตฉบับใหม่ (อาจมีตัวอย่างแสดงในวันข้างหน้า กรณีปรับปรุงใหม่ หรือในฉบับล่าสุดหากมี) และอีกทางเลือกหนึ่ง ผมเสนอให้อาจารย์ทวีธรรม (อดีตผู้ดูแลระบบ) มาร่วมพิจารณา เพราะเขาพอที่จะคุ้นเคยกับวิถีชาวญี่ปุ่นพอประมาณ (แต่ระยะหลัง นาน ๆ เขาจะเข้ามาครับ) --[[ผู้ใช้:B20180|B20180]] ([[คุยกับผู้ใช้:B20180|คุย]]) 01:05, 21 มกราคม 2563 (+07)
::{{ความเห็น}}ที่ผู้เปิดประเด็นอ้างว่า "ทั้งที่จริงออกเสียงเป็น" "-ะ" "โ-ะ" ฯลฯ นั้น ตามหลักเกณฑ์ พ.ศ. 2561 ก็บอกอยู่แล้วในข้อ 4. ว่า "เสียงสั้นในภาษาญี่ปุ่นโดยปรกติไม่ปิดเส้นเสียง [ʔ] ข้างท้าย" ดังนั้นจึงต่างจากเสียงสั้นในภาษาไทยที่มีการปิดเส้นเสียงข้างท้าย เช่น ก<u>'''ะ'''</u> /k'''àʔ'''/ แม้ว่าจะใช้รูปสระสั้นจากชุดอักษรไทยในการถอดเสียงก็ไม่ตรงกับเสียงสระสั้นในภาษาญี่ปุ่นอยู่ดี เพราะฉะนั้นหลักเกณฑ์จึงไม่คำนึงถึงความสั้น-ยาวของเสียงสระในภาษาญี่ปุ่น และไม่ได้คำนึงถึงว่ามาจากคำประสมหรือไม่ ดูได้จากข้อ 14. ที่ทับศัพท์ Arakawa ว่า อารากาวะ ไม่ใช่ อาระคาวะ หรือ Kinkakuji ที่ทับศัพท์ว่า คิงกากูจิ ไม่ใช่ คิงกากุจิ ถ้าต้องการแสดงว่าพยางค์ไหนเป็นเสียงสระสั้นในภาษาญี่ปุ่น ก็ควรย้อนกลับไปใช้หลักเกณฑ์ พ.ศ. 2535 ทั้งหมดเสียเลย จะได้ไม่ต้องมาอ้างว่า "บางจุดมันก็พอจะถูไถด้วยเกณฑ์ของราชบัณฑิตได้ แต่บางจุดมันก็ไม่ได้เด็ดขาด" ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่าขึ้นอยู่กับความรู้สึกของปัจเจกบุคคล แทนที่จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์หนึ่ง --[[ผู้ใช้:Potapt|Potapt]] ([[คุยกับผู้ใช้:Potapt|คุย]]) 04:20, 21 มกราคม 2563 (+07)
 
::ที่ผู้เปิดประเด็นอ้างว่า "ทั้งที่จริงออกเสียงเป็น" "-ะ" "โ-ะ" ฯลฯ นั้น ตามหลักเกณฑ์ พ.ศ. 2561 ก็บอกอยู่แล้วในข้อ 4. ว่า "เสียงสั้นในภาษาญี่ปุ่นโดยปรกติไม่ปิดเส้นเสียง [ʔ] ข้างท้าย" ดังนั้นจึงต่างจากเสียงสั้นในภาษาไทยที่มีการปิดเส้นเสียงข้างท้าย เช่น ก<u>'''ะ'''</u> /k'''àʔ'''/ แม้ว่าจะใช้รูปสระสั้นจากชุดอักษรไทยในการถอดเสียงก็ไม่ตรงกับเสียงสระสั้นในภาษาญี่ปุ่นอยู่ดี เพราะฉะนั้นหลักเกณฑ์จึงไม่คำนึงถึงความสั้น-ยาวของเสียงสระในภาษาญี่ปุ่น และไม่ได้คำนึงถึงว่ามาจากคำประสมหรือไม่ ดูได้จากข้อ 14. ที่ทับศัพท์ Arakawa ว่า อารากาวะ ไม่ใช่ อาระคาวะ หรือ Kinkakuji ที่ทับศัพท์ว่า คิงกากูจิ ไม่ใช่ คิงกากุจิ ถ้าต้องการแสดงว่าพยางค์ไหนเป็นเสียงสระสั้นในภาษาญี่ปุ่น ก็ควรย้อนกลับไปใช้หลักเกณฑ์ พ.ศ. 2535 ทั้งหมดเสียเลย จะได้ไม่ต้องมาอ้างว่า "บางจุดมันก็พอจะถูไถด้วยเกณฑ์ของราชบัณฑิตได้ แต่บางจุดมันก็ไม่ได้เด็ดขาด" ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่าขึ้นอยู่กับความรู้สึกของปัจเจกบุคคล แทนที่จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์หนึ่ง --[[ผู้ใช้:Potapt|Potapt]] ([[คุยกับผู้ใช้:Potapt|คุย]]) 04:20, 21 มกราคม 2563 (+07)
 
::ส่วนประเด็นเสียง /p t k/ ที่อยู่กลางคำประสม เช่น ในชื่อ Kita'''k'''yūshū นั้น หลักเกณฑ์ พ.ศ. 2561 ข้อ 7. ก็ระบุไว้แล้วเช่นกันว่า "ในภาษาญี่ปุ่นพยัญชนะ ch k p และ t เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นคำจะเป็นเสียงพ่นลม แต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งอื่น ๆ จะเป็นเสียงแบบไม่พ่นลมหรือพ่นลมค่อนข้างเบา" ในเมื่อ k ใน kyūshū ในกรณีนี้อยู่ภายในคำ (ที่ประสมแล้ว) ไม่ได้อยู่ต้นคำ จึงออกเสียงไม่พ่นลม (หรือพ่นลมน้อย) ซึ่งเทียบได้กับ ก ในภาษาไทย ก็ถูกต้องตามคำอธิบายแล้ว แม้ว่า Kitakyūshū จะเป็นคำประสม แต่ k ใน kyūshū ก็ออกเสียงต่อเนื่องจากพยางค์หน้า จึงไม่ได้อยู่<s>ต้น</s>หลังช่วงหยุด (pause) และอีกประการหนึ่ง ในภาษาญี่ปุ่นไม่มีการจำแนกความต่างระหว่างเสียง /พ ท ค/ กับ /ป ต ก/ อย่างในภาษาไทย การอ้างว่า "การทับศัพท์ตามเกณฑ์ของราชบัณฑิตจะให้เสียงบางพยางค์ผิดไปจากความเป็นจริง<u>อย่างเห็นได้ชัด</u>" ในกรณีนี้จึงน่าจะเป็นการกล่าวเกินจริง --[[ผู้ใช้:Potapt|Potapt]] ([[คุยกับผู้ใช้:Potapt|คุย]]) 04:48, 21 มกราคม 2563 (+07)
 
::{{ความเห็น}}ผมเห็นด้วยกับคุณ Potapt และคุณ Setawut แบบกึ่ง ๆ นะครับ ประเด็นที่ผมเห็นด้วยกับคุณ Potapt ก็คือในแง่ที่ว่าไม่จำเป็นจะต้องมาพะวงว่าคำไหนประสมไม่ประสมถึงขั้นนั้น เพราะชื่อเฉพาะส่วนใหญ่ที่มีคันจิมากกว่า 1 ตัวก็ตีเป็นคำประสมได้หมด อย่างเช่นนามสกุล 山田 (Yamada) ก็มาจาก 山 (Yama) + 田 (Da) หรือชื่อจังหวัด 山梨 (Yamanashi) ก็มาจาก 山 (Yama) + 梨 (Nashi) ถ้ายึดถือว่าให้แยกเป็นคำประสมก็คงกลายเป็น "ยามะดะ" กับ "ยามะนาชิ" แทนที่จะเป็น "ยามาดะ" หรือ "ยามานาชิ" อย่างไรก็ตาม ก็มีบางกรณีที่ชื่อบางชื่อมาจากชื่อสองชื่อรวมกัน อย่างเช่น Yamatokōriyama ที่คุณ Setawut ยกตัวอย่างมา ชื่อนี้ค่อนข้างชัดเจนว่ามาจาก Yamato + Kōriyama หรือชื่อที่เกิดจากชื่อของอีกเมืองที่มีอยู่แล้วบวกกับคำระบุที่ตั้ง เช่น 中 (naka; กลาง) 北 (kita; เหนือ) 南 (minami; ใต้) 東 (higashi; ตะวันออก) 西 (nishi; ตะวันตก) 上 (kami; บน) 下 (shimo; ล่าง) เช่น Kitatsugaru ซึ่งแปลว่า Tsugaru เหนือ หรือ Shimogyō ซึ่งแปลว่านครล่าง เป็นต้น ซึ่งคล้าย ๆ กับที่ในประเทศไทยมีบางสะพาน (ใหญ่) กับบางสะพานน้อย สามเสนนอกกับสามเสนใน หรือโรงเรียนราชินีกับโรงเรียนราชินีบน ชื่อกลุ่มนี้จะแตกต่างกับ Yamada และ Yamanashi ตรงที่ว่ามันยังไม่ได้ประสมกันเป็นชื่อใหม่โดยสมบูรณ์ (อธิบายไม่ถูกเหมือนกันครับ)
 
::โดยสรุปก็คือผมมองว่าชื่อโดยส่วนใหญ่สมาสกันจนตีเป็นคำเดียวได้แล้ว อย่างกรณีของ Miyakonojō ตัวคันจิก็เหลือแค่ Miyako กับ Jō แล้ว ตัว no ที่เชื่อมระหว่างสองคำก็ย่นหายไปแล้ว ชื่อกลุ่มนี้ก็ให้ใช้หลักการทับศัพท์ พ.ศ. 2561 ไปเลย แต่ชื่ออย่าง Yamatokōriyama หรือ Shimogyō หรือ Rishiri-Rebun-Sarobetsu ก็ถือว่าเป็นข้อยกเว้นไป แล้วใช้[[แม่แบบ:ชื่อนี้เพราะ|แม่แบบชื่อนี้เพราะ]]อธิบายเหตุผลในหน้าพูดคุยเป็นกรณี ๆ เอาครับ
เส้น 36 ⟶ 34:
::โดยส่วนตัวมองว่าหลักการทับศัพท์ พ.ศ. 2561 ก็ทำประเด็นตกหายไปบางส่วน เช่นว่าเสียง ん เวลาใดควรเป็น น ง หรือ ม (พ.ศ. 2561 ไม่พูดถึงกรณีเสียง /ม/) หรือถ้าในคันจิตัวเดียวกันมีเสียงแถว う ติดกับเสียง い ควรทำอย่างไร เช่นชื่อ 唯 (Yui) ควรจะเป็น "ยูอิ" หรือ "ยุย"--[[ผู้ใช้:ZeroSixTwo|ZeroSixTwo]] ([[คุยกับผู้ใช้:ZeroSixTwo|คุย]]) 07:17, 21 มกราคม 2563 (+07)
 
:::{{ความเห็น}}ถ้าเป็นชื่อในลักษณะ Rishiri-Rebun-Sarobetsu นี่ผมยังพอเข้าใจนะครับว่าเป็นการตีความว่าเป็นชื่อหลายชื่อเรียงต่อกัน แล้ววิกิพีเดียในภาษาอื่นก็ไม่ได้ทับศัพท์คำบอกประเภทวิสามานยนามเป็นภาษาญี่ปุ่นต่อท้ายไว้ แสดงว่ายังไม่ถูกมองว่าเป็นชื่อเดียวกันทั้งดุ้น แต่ชื่ออย่าง Daigo-ji, Minato Mirai, Fujinomiya, Kitakyūshū ที่ผู้เปิดประเด็นกล่าวถึงและบอกว่าทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์ไม่ได้เด็ดขาดนั้น พอลองค้นดูในกูเกิล ยังเห็นเว็บนำเที่ยวญี่ปุ่นบางเว็บ "ถูไถ" ใช้ตามหลักเกณฑ์ได้อยู่เลย (ในจุดที่บอกว่าใช้ตามหลักเกณฑ์ไม่ได้) หรือเว็บเหล่านั้นยังเข้าใจภาษาญี่ปุ่นไม่ถึงขั้นก็ไม่ทราบ --[[ผู้ใช้:Potapt|Potapt]] ([[คุยกับผู้ใช้:Potapt|คุย]]) 07:58, 21 มกราคม 2563 (+07)
 
::{{ความเห็น}} ผมพยายามยกตัวอย่างคำที่ผมไม่เห็นด้วยตามเกณฑ์ 2561 ขึ้นมาเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าผมคัดค้านการใช้เกณฑ์ 2561 กับคำประสมทุกคำ อย่างที่บางท่านยก Arakawa, Kinkakuji หรือ Yama- อันนี้ผมโอเคการใช้เกณฑ์ปัจจุบันอยู่แล้ว ก็ไม่จะเป็นต้องไปแตะต้องอะไร--[[ผู้ใช้:Setawut|Setawut]] ([[คุยกับผู้ใช้:Setawut|คุย]]) 17:16, 22 มกราคม 2563 (+07)