ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธรรมยุติกนิกายในประเทศกัมพูชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัด 6:
 
== ประวัติ ==
[[ธรรมยุติกนิกาย]]เป็นพุทธศาสนาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้นเมื่อพระองค์ยังทรงผนวชในรัชกาลที่ 3 ต่อมาในปี ค.ศ. 1864 [[สมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดี]] (พระองค์ด้วง) ได้ขอพระราชทานธรรมยุติกนิกายไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระอมรภิรักขิต (เกิด) [[สมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปาน ปญฺญาสีโล)|พระมหาปาน ปญฺญาสีโล]] (ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสุคนธาธิบดี พระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติ)<ref> [ศานติ ภักดีคำ,ความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างสยามสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับกรุงกัมพูชา", ในวารสาร สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 ก.ค.-ก.ย. 2555 หน้า 3-19]</ref> และพระสงฆ์ 8 รูป อุบาสก 4 คน เดินทางไปสืบศาสนายังกรุงกัมพูชา สมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดีได้ทรงอาราธนาพระมหาปานให้จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลาคู่ (วัดอ์พิลปี) กรุงอุดงค์มีชัย พุทธศาสนาแบบธรรมยุติกนิกายจึงเริ่มมีขึ้นในประเทศกัมพูชาตั้งแต่ครั้งนั้น <ref> พระระพิน พุทธิสาโร. (2559). [http://gps.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2-20-%E0%B8%81.%E0%B8%9E.60-1.pdf ธรรมยุติกนิกายในกัมพูชา : ความสัมพันธ์ทางการเมืองและศาสนาของไทยและกัมพูชา.] วารสารพุทธอาเซียน ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559 https://joo.gl/BDmVbDgtpeGqjtzNsCB </ref>
 
การนำเอาธรรมยุตินิกาย (ซึ่งเน้นที่การทำให้พระธรรมวินัยบริสุทธิ์ตามที่มีมาในพระไตรปิฎก) จากสยามเข้ามาเผยแพร่ ได้ทำให้พุทธศาสนาเถรวาทในกัมพูชาเกิดการแบ่งแยกเป็น 2 คณะ โดยคณะสงฆ์เถรวาทเดิมได้ชื่อว่า คณะมหานิกาย เช่นเดียวที่เกิดขึ้นในประเทศสยาม คณะธรรมยุติกนิกายในกัมพูชามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์เช่นเดียวกับที่เป็นในสยา มแต่คณะธรรมยุติกนิกายในกัมพูชากลับมีส่วนนำความก้าวหน้าเพียงเล็กน้อยมาสู่ชาวกัมพูชาที่ไม่ใช่เจ้านายและชนชั้นสูง อีกทั้งไม่ได้มีมีบทบาทในการนำความทันสมัยมาสู่สังคมกัมพูชาดังเช่นที่เป็นในสยาม ในขณะที่มหานิกายซึ่งเป็นนิกายดั้งเดิมซึ่งมีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยน้อยกว่า กลับมีบทบาทที่โดดเด่นกว่าคณะธรรมยุติกนิกาย<ref>ธิบดี บัวคำศรี. ประวัติศาสตร์กัมพูชา. กรุงเทพมหานคร : เมืองโบราณ, 2555.</ref>