ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันกองทัพไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 7:
 
ราวปี พ.ศ. 2535 - 2538 นักคำนวณปฏิทินที่สำคัญ ได้แก่ นาย [[ประเสริฐ ณ นคร]] ราชบัณฑิต, พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ เลขาธิการมูลนิธิพระดาบส และ นายลอย ชุนพงษ์ทอง ที่ปรึกษาการคำนวณปฏิทินสำนักพระราชวัง และสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสภา ได้ตรวจสอบและลงความเห็นตรงกันว่า วันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ [[18 มกราคม]] ปีดังกล่าว ทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยต่อไป จนกระทั่งวันที่ [[22 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2549]] คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่[[กระทรวงกลาโหม]]เสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี '''และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม'''
 
อนึ่ง ม.ล.ปิ่น มาลากุล เป็นท่านแรก ที่คำนวณไว้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ว่าตรงกับ 18ม.ค. แต่ทางกองทัพไม่ทราบเรื่อง จึงมิได้นำไปใช้
ม.ล.ปิ่น มาลากุล อดีตมหาดเล็กรับใช้ในรัชกาลที่ ๖ เล่าไว้เมื่อปลายชีวิตของท่านว่า สมัยที่ท่านผู้เล่ายังเป็นมหาดเล็กรับใช้อายุราว ๑๕ ปี วันหนึ่งล้นเกล้าฯ มีพระราชกระแสรับสั่งถามว่า ปิ่นรู้ไหม สมเด็จพระนรเศวรยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาไปทำยุทธหัตถีวันไหน ท่านว่าไปเปิดพงศาวดาร ๓ ฉบับกล่าวไว้ไม่ตรงกันเลย จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คิดสมการคณิตศาสตร์สำหรับคำนวณปฏิทินล้านปีได้สำเร็จเมื่อไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และเมื่อมีการจัดตั้งท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ ขึ้นแล้ว ท่านได้ขอให้ อ.สิงโต ปุกหุต หมุนปฏิทินดวงดาวย้อนหลังไปตามที่พงศาวดารทั้ง ๓ ฉบับบันทึกไว้ ผลที่ได้รับคือ วันกระทำยุทธหัตถีที่บันทึกไว้ในพงศาวดารฉบับกลวงประเสริฐอักษรนิติ (แพ ตาละลักษณ์ - พระยาปริยัติธรรมธาดา) ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ตามที่แสดงไว้ในปฏิทินดวงดาววันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๗ ซึ่งตรงกับที่ท่านคำนวณไว้ในปฏิทินล้านปีก่อนหน้านั้น
 
เรื่องวันที่ ๑๘ มกราคม เป็นวันกระทำยุทธหัตถีนี้ เคยเรียนถามท่านว่า ทำไมท่านไม่ประกาศให้โลกรู้ ท่านตอบสั้นๆ ว่า คนเขาเชื่อว่าเป็นวันที่ ๒๕ มกราคมแล้ว ก็ยากที่จะไปเปลี่ยนแปลง
 
นายลอย ชุนพงษ์ทอง ได้อธิบายสาเหตุที่คำนวณผิด ในการประชุมทางวิชาการปฏิทินไทย เชิงดาราศาสตร์ จัดโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ พ.ศ. 2550 ว่า น่าจะเกิดจากนับจำนวนวัน ถอยหลังจากวันเถลิงศกของปีนั้น ซึ่งใน ค.ศ.1593 นั้น ตรงกับวันที่ 9 เมษายน แต่เข้าใจผิดว่า วันเถลิงศกตรงกับวันที่ 15 เมษายน เหมือน พ.ศ. 2522 ที่คำนวณ ประกอบกับ ค่ำกำเนิดของวันเถลิงศกตามหลักสุริยยาตร์ ตรงกับขึ้น 8 ค่ำ แต่ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และหลักปฏิทินไทย ควรเป็นขึ้น 9 ค่ำ เมื่อตามนับถอยหลัง จึงทำให้วันทีได้ช้าไป 7 วัน กลายเป็น 25 ม.ค. อาจกล่าวอีกอย่างว่า แทนที่จะนับถอยหลังจาก ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ของวันที่ 9 เม.ย. ก็นับจาก 8 ค่ำ เดือน 5 ของวันที่ 15 เม.ย. จึงผิด 2 ต่อ รวมกันได้ 7 วัน