ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Hokey176 (คุย | ส่วนร่วม)
- ikkue - (คุย | ส่วนร่วม)
Fixed typo and grammar
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับไอโอเอส
บรรทัด 253:
 
== ความคืบหน้า ==
* [[สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)]] โดยบริษัทที่ปรึกษาโครงการได้จัด '''การประชุมสัมมนาการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1''' เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการออกแบบเบื้องต้น โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเหลือง สายสีน้ำตาล และสายสีชมพู (พื้นที่โครงการสายสีชมพูและสายสีน้ำตาล) เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.. 2550 ที่โรงแรมทีเคพาเลซ แจ้งวัฒนะ ซึ่งโครงการนี้จะใช้เวลาศึกษาอีก 15 เดือน การศึกษาจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2551
 
* 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 [[สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)]] รองบประมาณในโครงการลงทุนภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 มูลค่า 5,413 ล้านบาท ซึ่งจะได้รับงบประมาณในปี 2553 แบ่งเป็นใช้ในรถไฟฟ้าสายสีชมพู 3,711 ล้านบาท สายสีน้ำตาล 1,702 ล้านบาท
บรรทัด 263:
* 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553 รฟม. ปรับแบบก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว เพื่อแก้ปัญหาที่เสาตอม่อล้ำเข้าไปในพื้นที่วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน จึงปรับแบบย้ายให้เสาตอม่อไปอยู่ที่แขวงการทางเขตบางเขน ของกรมทางหลวงแทน
 
* 24 กันยายน พ.ศ. 2553 นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้ใช้บริการ นักลงทุน และนักวิชาการ ที่มีต่อโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีชมพู และ สายสีส้ม วงบางกะปิ-บางบำหรุ ว่าทั้ง 2 เส้นทางมีปริมาณการใช้ของประชาชนอย่างไร และมีความจำเป็นเร่งด่วนแค่ไหน เพื่อนำมาประกอบการการพิจารณาและเร่งรัดโครงการ
 
* 27 กันยายน พ.ศ. 2554 กระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณาทบทวนการปรับแบบการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด - มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. ซึ่งอยู่ในขั้นตอนที่ รฟม. เตรียมลงนามในสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบก่อสร้าง '''จากเดิมเป็นการก่อสร้างแบบรางเดี่ยว (Monorail) อาจปรับเป็นแบบรถไฟฟ้า MRT หรือรถไฟฟ้าขนาดหนัก (Heavy Rail)''' เพื่อให้คุ้มค่า และเหมาะสมกับการรองรับผู้โดยสารในเส้นทางดังกล่าว
* 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 นางกฤตยา สุมิตนันท์ รักษาการผู้ว่าการ [[การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย]] มีมติอนุมัติให้การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดเบา (รางเดี่ยว) หลังจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มีการทบทวนโครงการแล้วเห็นว่าการใช้รถไฟฟ้ารางเดี่ยวจะเหมาะสมกว่าเป็นรถไฟฟ้าขนาดหนัก และหลังจากนี้จะนำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป<ref>http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1337424620&grpid=03&catid=&subcatid=</ref>
 
* 25 กันยายน พ.ศ. 2555 นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นความประชาชน โครงการศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุง และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร ว่า คาดว่าจะสามารถเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติได้ภายในเดือนตุลาคมนี้ และจะเปิดประกวดราคาได้ประมาณเดือนมีนาคม 2556 เริ่มก่อสร้างเดือนเมษายน 2557 ซึ่งตามแผนจะเปิดให้บริการได้ในเดือนตุลาคม 2560 โดยรูปแบบการก่อสร้างจะเป็นการออกแบบไปพร้อมกับการก่อสร้าง (Design & Build) ซึ่งจะทำให้การดำเนินโครงการมีความรวดเร็วขึ้น และในอนาคต รฟม.จะเสนอรัฐบาลพิจารณาการก่อสร้างรถไฟฟ้าในรูปแบบ Design & Build ทั้งหมด<ref>http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9550000118104</ref>
 
* 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ดร.สุรศักดิ์ ทวีศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญระบบรถไฟฟ้า บริษัท ทีม คอนซัลติ้งฯ เปิดเผยว่า ตลอดเส้นทาง จะมี การเวณคืน 5 จุดใหญ่ คือ
1.บริวณ บริเวณห้าแยกปากเกร็ด ก่อนเลี้ยวขวาเข้า ถนนแจ้งวัฒนะ ปัจจุบันเป็นสนามฟุตบอลเก่า เพื่อสร้างสถานีปากเกร็ด มีพื้นที่เวนคืน 7,155 ตารางเมตร
2. บริเวณสะพานข้ามแยกเมืองทองธานี เพื่อหลีกเลี่ยงสะพานข้ามแยกของกรมทางหลวง (ทล.) มีพื้นที่เวนคืน 7,800 ตารางเมตร
3.บริเวณ บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ข้ามแยกหลักสี่ เพื่อลดระดับโครงสร้างลอดใต้โทลล์เวย์ มีพื้นที่เวนคืนรวม 7,300 ตารางเมตร
4. บริเวณอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ มีพื้นที่เวนคืนรวม 7,500 ตารางเมตร กว้างด้านละ 4 เมตร ตั้งแต่หน้า มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ไปถึง ป.กุ้งเผา และ
5. บริเวณมีนบุรี เวนคืนพื้นที่กว่า 280 ไร่ เพื่อสร้างที่จอดรถ และศูนย์ซ่อมบำรุง ส่วนบริเวณอื่น ๆ
นอกเหนือจากนี้จะมีเวนคืนเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อสร้างจุดขึ้น-ลงของสถานีทั้ง 30 สถานีที่ดินแพง-ค่าเวนคืนพุ่ง 1 เท่า เงินลงทุนโครงการเพิ่มขึ้นจากเดิมที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาไว้เมื่อ 5 ปีที่แล้วอยู่ที่ 3.8 หมื่นล้านบาท ล่าสุดค่าก่อสร้างแตะ 5.4 หมื่นล้านบาทโดยมีหลายปัจจัยที่ผลักให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานีใหม่ 6 สถานี ต้นทุนวัสดุก่อสร้าง ค่าแรง 300 บาท และราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ที่ประกาศใช้เมื่อ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีผลทำให้ค่าชดเชยที่ดินเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากเดิมประเมินไว้ 2 พันล้านเป็น 4 พันล้านบาท