ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Country Ball Thailand 2 (คุย | ส่วนร่วม)
เชื่อมลิ้งแก่ รัฐมนตรีต่างๆ
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 74:
 
==การเมือง==
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว หลวงสินธุสงครามชัย รับตำแหน่งรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง (รัฐมนตรีลอย), รักษาราชการตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ระหว่าง พ.ศ. 2477-2478 และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ระหว่าง พ.ศ. 2481<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/D/2645.PDF ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ]</ref>-2494 <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/D/044/2808.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ]</ref> เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงธรรมการ]] (พ.ศ. 2478-2484), [[กระทรวงเศรษฐกิจ]] (พ.ศ. 2485), [[กระทรวงเกษตราธิการ]] (พ.ศ. 2485-2488) และ[[กระทรวงกลาโหม]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2487/A/046/733.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)]</ref> (พ.ศ. 2487-2488) นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดี[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]เป็นคนแรกอีกด้วย (พ.ศ. 2486–2488)
 
ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิก[[บรรดาศักดิ์ไทย]] หลวงสินธุสงครามชัยในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วย[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 9|คณะรัฐมนตรีชุดที่ 9]] จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยกลับไปใช้ชื่อเดิม<ref>ราชกิจจานุเบกษา [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/D/4525_1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์]</ref>
 
ภายหลังเหตุการณ์[[กบฏแมนฮัตตัน]] ในปี พ.ศ. 2494 หลวงสินธุสงครามชัย เป็นผู้บัญชาการทหารเรือในขณะนั้น ถูกปลดออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2494<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/D/044/2808.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ]</ref>เนื่องจากคณะรัฐบาลโดย จอมพล[[ป. พิบูลสงคราม]] เคลือบแคลงว่าอาจจะมีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในการก่อกบฏ ซึ่งหลวงสินธุสงครามชัยได้รับโทษจำคุกเป็นเวลานานถึง 3 ปี ทั้งที่ไม่มีความผิด
 
นอกจากนี้แล้ว หลวงสินธุสงคราม ยังเป็นบุคคลแรกที่บัญญัติศัพท์คำว่า "[[เรือดำน้ำ]]" ขึ้นมาในภาษาไทย โดยเรียกตามลักษณะการใช้งาน <ref name="ทหารเรือปฏิวัติ">{{อ้างหนังสือ