ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิศวกรรมชีวเวช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 57:
ทั้งนี้ มี 6 สถาบันที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิตและวิทยาศาสตรบัณฑิต) โดยเน้นการพัฒนากำลังคนเข้าสู่วงการอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่เปิดสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2545-2554 ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ และ เมื่อ พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน ได้ปรับปรุงหลักสูตรและเปิดสอนหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดยความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ต่อมาในปีการศึกษา2559 มหาวิทยาลัยรังสิตได้ยกระดับจากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ และในปีการศึกษา2561 ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ยกระดับจากมหาวิทยาลัยรังสิตอีกครั้งหนึ่งโดยเปลี่ยนจากคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ซึ่งถือว่าเป็นวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยในปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรในระดับปริญญาตรี เมื่อ พ.ศ. 2550
 
สถาบันที่มีการเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทและปริญญาเอก/ปริญญาโท) ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เปิดสอนถึงระดับปริญญาโท และมหาวิทยาลัยรังสิต เปิดสอนทั้งระดับ ปริญญาโทและปริญญาเอก
 
แนวโน้มสำหรับหลักสูตรนี้ในประเทศไทยคือการเปิดทำการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น เปิดทำการสอนทั้งภาษาไทยและนานาชาติ โดยมีมหาวิทยาลัยเหล่านี้เป็นต้นแบบและกำลังหลักต่อไป