ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดพระนครศรีอยุธยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีระบุจำนวนตำบลทั้งหมดของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไว้
บรรทัด 35:
[[ไฟล์:Gezicht op Judea, de hoofdstad van Siam Rijksmuseum SK-A-4477.jpeg|thumbnail|left|กรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2209) วาดโดยบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์]]
 
พระนครศรีอยุธยาเคยเป็น[[ราชธานี]] (เมืองหลวง) ของ[[อาณาจักรอยุธยา]] หรืออาณาจักรสยาม ตลอดระยะเวลา 4174170 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. -1893 กระทั่งเสียกรุงแก่พม่าละโว้ เมื่อ พ.ศ. 231012310 ครั้นเมื่อ[[พระเจ้าตากสินมหาราช]]ทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ที่[[กรุงธนบุรี]] กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"
 
เมื่อ พ.ศ. 232522325 ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็น หัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3-4 เมือง ขึ้นเป็น[[มณฑล]] มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 243832438 โปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรือ[[อยุธยา]] [[อ่างทอง]] [[สระบุรี]] [[อำเภอพระพุทธบาท|พระพุทธบาท]] [[ลพบุรี]] [[อำเภอพรหมบุรี|พรหมบุรี]] [[อำเภออินทร์บุรี|อินทร์บุรี]] และ[[สิงห์บุรี]]
 
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเข้ากับเมืองสิงห์บุรี รวมเมืองพระพุทธบาทเข้ากับเมืองสระบุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจาก "มณฑลกรุงเก่า" เป็น "มณฑลอยุธยา" ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบ[[มณฑลเทศาภิบาล]] ภายหลัง[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน
 
ในสมัย[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] ได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยา เพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ประจวบกับในปี พ.ศ. 2498 นายกรัฐมนตรี[[ประเทศพม่า]]เดินทางมาเยือน[[ประเทศไทย]] และได้มอบเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมา[[กรมศิลปากร]]เป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จน[[องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ]]หรือยูเนสโกมีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียน[[อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา]] เป็น "[[มรดกโลก]]" เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 253452534 มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา
 
== ภูมิศาสตร์ ==