ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทวารวดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{ประวัติศาสตร์ไทย}}
 
'''ทวารวดี''' เป็นคำ[[ภาษาสันสกฤต]] เกิดขึ้นครั้งแรกในปี แรกดปเปรต[[พ.ศ. 2427]] โดยนายแซมมวล บีล ({{lang-en|Samuel Beel}}) ได้แปลงมาจากคำว่า ''โถโลโปตี้'' ({{lang-en|Tolopoti}}) ที่มีอ้างอยู่ในบันทึกของ[[ภิกษุ]]จีนจิ้นฮง ({{lang-en|Hiuantsang}}) ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า ''โถโลโปตี'' เป็นชื่อของอาณาจักรหนึ่งตั้งอยู่ระหว่าง[[อาณาจักรศรีเกษตร]] และ[[อาณาจักรอิศานปุระ]] และเขาได้สรุปด้วยว่าอาณาจักรนี้เดิมตั้งอยู่ในดินแดน[[ประเทศไทย]] (สยาม) ปัจจุบัน และยังสันนิษฐานคำอื่น ๆ ที่มีสำเนียงคล้ายกันเช่น จวนโลโปติ ({{lang-en|Tchouanlopoti}}) หรือ เชอโฮโปติ ({{lang-en|Chohopoti}}) ว่าคืออาณาจักรทวารวดีด้วย
 
ต่อมาความคิดเห็นนี้ได้มีผู้รู้หลายท่านศึกษาต่อและให้การยอมรับเช่น นายเอดัวร์ ชาวาน ({{lang-en|Edourd Chavannes}}) และ นายตากากุสุ ({{lang-en|Takakusu}}) ผู้แปลจดหมายเหตุการเดินทางของภิกษุอี้จิงในปี [[พ.ศ. 2439]] และ นายโปล เปลลิโอต์ ({{lang-en|Paul Pelliot}}) ผู้ขยายความอาณาจักรทวารวดีเพิ่มอีกว่ามีประชาชนเป็น[[ชาวมอญ]]ในปี พ.ศ. 2447 เป็นต้น ดังนั้นบรรดาเมืองโบราณรวมทั้งโบราณวัตถุสถานต่าง ๆ ที่พบมากมายโดยเฉพาะในบริเวณลุ่มน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแต่เดิมไม่สามารถจัดกลุ่มได้ว่าเป็นของขอม–เขมรหรือของไทย แต่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียสมัย[[ราชวงศ์คุปตะ]] - หลังคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 ที่พันตรีลูเนต์ เดอ ลาจองกีเยร์ ({{lang-en|Lunet de Lajonguiere}}) เรียกว่า กลุ่มอิทธิพล[[อินเดีย]]แต่ไม่ใช่ขอม–เขมร จึงถูกนำมาสัมพันธ์กลายเป็นเรื่องเดียวกัน โดยศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2468) และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. 2469) เป็นกลุ่มบุคคลแรกที่กำหนดเรียกชื่อดินแดนที่เมืองโบราณเหล่านี้ตั้งอยู่ รวมทั้งงานศิลปกรรมที่พบนั้นว่าทวารวดี โดยใช้เหตุผลของตำแหน่งที่ตั้งอาณาจักรและอายุตามบันทึกของจีน กับอายุของงานศิลปกรรมที่ตรงกัน อาณาจักรทวารวดีจึงกลายเป็นอาณาจักรแรกในดินแดนไทย กำหนดอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16