ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 8665838 สร้างโดย พุทธามาตย์ (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44:
[[บานแผนก]]ของพงศาวดารกล่าวว่า พงศาวดารนี้เกิดจากการที่มีรับสั่งใน จ.ศ. 1042 (พ.ศ. 2223) ให้คัดจดหมายเหตุต่าง ๆ เข้าด้วยกัน<ref name = ":2"/> และนักประวัติศาสตร์เห็นว่า ผู้มีรับสั่ง คือ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] เพราะปีที่ระบุไว้ตรงกับรัชสมัยของพระองค์<ref name = ":10"/><ref name = ":15"/><ref name = ":16"/><ref name = ":4"/> นอกจากนี้ พงศาวดารไม่ได้เอ่ยถึงผู้แต่ง แต่นักประวัติศาสตร์ตะวันตกบางคนเชื่อว่า เป็นผลงานของโหรหลวงที่มีบรรดาศักดิ์ว่า "โหราธิบดี"<ref name = ":12"/><ref name = ":13"/>
 
เนื้อหาของพงศาวดารว่าด้วยเหตุการณ์เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่การสร้างพระพุทธรูป[[พระพุทธไตรรัตนนายก (วัดพนัญเชิง)|เจ้าพแนงเชีง]]ใน จ.ศ. 686 (พ.ศ. 1867) ตามด้วยการสถาปนากรุงศรีอยุธยาใน จ.ศ. 712 (พ.ศ. 1893) มาจนค้างที่รัชกาล[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]คราวที่ทรงยกทัพไปอังวะใน จ.ศ. 966 (พ.ศ. 2147) ต้นฉบับมีเนื้อหาเท่านี้ แต่[[สมเด็จพรเจ้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงเชื่อว่า น่าจะมีต่อ จึงทรงเพียรหา กระทั่งทรงได้ฉบับคัดลอกในสมัย[[กรุงธนบุรี]]มาเมื่อ พ.ศ. 2456 ซึ่งมีเนื้อหาเท่ากัน จึงทรงเห็นว่า เนื้อหาที่เหลือคงสูญหายมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีเป็นอย่างน้อยแล้ว<ref name = ":0"/>
 
พงศาวดารนี้เป็นที่เชื่อถือด้านความแม่นยำ<ref name = ":10"/><ref name = ":7"/><ref name = ":6"/> เหตุการณ์และวันเวลาที่ระบุไว้สอดคล้องกับเอกสารต่างประเทศ<ref name = ":14"/> ทั้งให้ข้อมูลที่ไม่ปรากฏในพงศาวดารสมัยหลัง<ref name = ":7"/> นอกจากนี้ ยังเขียนโดยใช้ศิลปะทางภาษาน้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงการแทรกความคิดความรู้สึกส่วนตัวของผู้แต่งลงไป<ref name = ":6"/> อย่างไรก็ดี เนื้อหาที่เขียนแบบย่อ ๆ ไม่ลงรายละเอียด และไม่พรรณนาเหตุการณ์ให้สัมพันธ์กันนั้น ถูกวิจารณ์ว่า เข้าใจยาก<ref name = ":6"/> และแทบไม่เป็นประโยชน์ต่อนักประวัติศาสตร์ที่พยายามจำลองภาพในอดีตของไทย<ref name = ":17"/>