ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
เรารักลุงตู่เพราะเป็นทหารชอบเรือดำน้ำ
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{ฉันทลักษณ์ไทย}}
'''ฉันทลักษณ์''' หมายถึง ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ไทย ซึ่ง[[กำชัย ทองหล่อ]]ให้ความหมายไว้ว่า '''ฉันทลักษณ์''' คือตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำหรือเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามลักษณะบังคับและบัญญัติที่นักปราชญ์ได้ร่างเป็นแบบไว้ ถ้อยคำที่ร้อยกรองขึ้นตามลักษณะบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ เรียกว่า ''คำประพันธ์''<ref name=kamchai>กำชัย ทองหล่อ. '''หลักภาษาไทย'''. รวมสาส์น (1977) : กรุงเทพฯ, 2545.</ref> และได้ให้ความหมายของ ''คำประพันธ์'' คือถ้อยคำที่ได้ร้อยกรองหรือเรียบเรียงขึ้น โดยมีข้อบังคับ จำกัดคำและวรรคตอนให้รับสัมผัสกัน ไพเราะ ตามกฎเกณฑ์ที่ได้วางไว้ในฉันทลักษณ์ โดยแบ่งเป็น 7 ชนิด คือ [[โคลง]] [[ร่าย]] [[ลิลิต]] [[กลอน]] [[กาพย์]] [[ฉันท์]] [[กลบท|กล]] ซึ่งก็คือ [[ร้อยกรอง|ร้อยกรองไทย]] นั่นเอง
 
ร้อยกรองไทยมีความหมาย 2 นัย นัยหนึ่งหมายถึงการแต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ อีกนัยหนึ่งหมายถึงถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบทบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ ทั้งนี้ ยังมีอีกหลายคำที่มีความหมายทำนองเดียวกัน เช่น [[กวีนิพนธ์]] บทกวี บทประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานต์ กานต์ รวมทั้งคำว่าฉันท์ กาพย์และกลอนด้วย<ref name=kapkanlon>กรมศิลปากร. ครรภครรลองร้อยกรองไทย. กรุงเทพฯ, 2545.</ref> บทความนี้มุ่งให้ความรู้เรื่องลักษณะบังคับของร้อยกรองไทยเป็นสำคัญ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจคำประพันธ์ไทยต่อไป
 
== ตำราฉันทลักษณ์ไทย ==