ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 57:
1) ''หม่อมเจ้าชั้นเอก''​ พระราชนัดดา​ หลานหลวง​ ของกษัตริย์​ เป็นพระโอรสธิดาของเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าลูกหลวง โดยสกุลยศ [และเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา แม้ว่าจะเป็นพระโอรสหรือพระธิดาของกรมพระราชวังบวร แต่มารดามิได้เป็นเจ้า จะเป็นเพียงแค่หม่อมเจ้า เช่น หม่อมเจ้าอาทิตย์ ในกรมพระราชวังบวรเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ] อาทิ หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล พระราชนัดดาในร.9 พระธิดาสมเด็จเจ้าฟ้ามหาอุปราช (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) , หม่อมเจ้ากรณิกา​ จิตรพงศ์​ พระราชนัดดาใน​ร.4​ พระธิดาของเจ้าฟ้า (พระธิดา ​สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์)​ และ​ หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์​ สวัสดิวัตน์​ พระราชนัดดาในร.4​ พระโอรสของพระองค์เจ้าลูกหลวง (พระโอรส​ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ​ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์)​ เป็นต้น
 
อนึ่ง เนื่องด้วยมีการตรากฎหมายเรื่องการสืบสันดานสกุลยศ ในรัชกาลที่ 7 แห่งพระราชวงศ์จักรีว่าด้วย พระโอรสธิดา​เพิ่มเติม ทำให้หม่อมเจ้าหลานหลวง​ ที่มีพระชนกดำรงสกุลยศเจ้าฟ้าชั้นเอก​(ประสูติแต่พระชนนีชั้นสมเด็จ)​ หม่อมมารดาเป็นสามัญชน พระบุตรได้เพิ่มอิสริยยศตั้งเป็นพระองค์เจ้าชั้นตรี​ เช่น​ หม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช ​ จุฑาธุช​ พระราชนัดดาในร.5​ เพิ่มอิสริยยศตั้งเป็น พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช โดยโอรสธิดาของหม่อมเจ้าชั้นเอก​ และ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้า​ ​นี้​ สมภพ(เกิด)​เป็น​ หม่อมราชวงศ์ ทั้งนี้พึงสังเกตว่าสำหรับประเด็นนี้ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 นั้นนับว่ามีพระราชกุศโลบายต่างไปจากสมัยในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 อยู่บ้างกล่าวคือ ในสองรัชสมัยหลัง จะเป็นพระองค์เจ้าหลานหลวงชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอ(พระองค์เจ้าชั้นโท)ได้นั้น ต้องเป็นพระบุตรของเจ้าฟ้ากับพระมารดาที่เป็นเจ้าเท่านั้น <ref> http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/A/99.PDF </ref> ถ้าพระมารดาเป็นหม่อมสามัญแม้จะมีศักดิ์เป็นสะใภ้หลวง พระบุตรก็เป็นเพียงพระวรวงศ์เธอหรือพระองค์เจ้าชั้นตรีเท่านั้น <ref> http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2470/A/253.PDF</ref> ในขณะที่ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นไม่มีเงื่อนไขว่าพระมารดาต้องเป็นเจ้า แค่ต้องเป็นหม่อมที่พระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีเสกสมรสพระราชทานให้ หรือได้รับตราตั้งเป็นสะใภ้หลวง <ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/003/17.PDF</ref> อาทิ หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช แต่ไม่นับรวมกรณีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งล้นรัชกาลที่ 6 มีพระมหากรุณาธิคุณสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าตั้งเป็นกรณีพิเศษแยกต่างหากโดยพระราชอัธยาศัย
 
2) ''หม่อมเจ้าชั้นโท''​ พระราชปนัดดา​ เหลนหลวง​ ของกษัตริย์ ​คือ​ พระโอรส​ธิดา ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระ​องค์เจ้า​ หลานหลวงของกษัตริย์​ อาทิ​ หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม​ ยุคล​ พระราชปนัดดา​ เหลนหลวงในร.5​ (พระโอรสใน​ พระเจ้าวรวงศ์เธอ ​พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิคัมพร พระราชนัดดาในร.5)​ โอรสธิดาของหม่อมเจ้าชั้นโท​ เหลนหลวงนี้​ สมภพ(เกิด)​เป็น​ หม่อมราชวงศ์ ทั้งนี้ หม่อมเจ้าชั้นโทหรือชั้นเหลนหลวงนี้ สำหรับสายรัชกาลที่ 4 จะมีแค่ใน 2 ราชสกุลเท่านั้นคือ ราชสกุลจักรพันธ์ุ กับราชสกุลภาณุพันธุ์ ส่วนสายรัชกาลที่ 5 ก็มีแค่ใน 2 ราชสกุลคือ ราชสกุลบริพัตร กับราชสกุลยุคล