ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้าสายสีฟ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 33:
}}
{{ความหมายอื่น||โครงการรถไฟฟ้าที่มักจะสับสนเพราะชื่อใกล้เคียงกัน|รถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน}}
'''รถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) ''' เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าตาม[[โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง|แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล]] พ.ศ. 2553-2572 โดย[[สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร|สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)]] เป็นเส้นทางใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 พร้อมกับเส้นทาง[[รถไฟฟ้าสายสีเทา]] ในรูปแบบ[[รถไฟฟ้ารางเดี่ยว]] (โมโนเรล) ที่เชื่อมต่อจุดสำคัญใจกลางเมือง มีจุดมุ่งหมายเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ย่าน[[เขตดินแดง|ดินแดง]] ซึ่งมีโครงการพัฒนาเคหะชุมชนดินแดง โครงการพัฒนาย่านมักกะสัน และการเปิดใช้[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2]] ระยะที่ 2-4 รวมทั้งเพื่อเชื่อมต่อกับย่านธุรกิจบน[[ถนนสาทร]] โดยมีแนวเส้นทางจากเคหะชุมชนดินแดง เข้าสู่[[สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง|ศูนย์คมนาคมมักกะสัน (สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง)]] ไปยัง[[ถนนวิทยุ]] และ[[ถนนสาทร]] รวมระยะทาง 9.5 [[กิโลเมตร]] คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 319,000 รายต่อวันในปี พ.ศ. 2572
 
ปัจจุบันโครงการได้ถูกนำมาบรรจุลงไปใหม่ ในแผนแม่บทระยะที่ 1 (M Map1) ที่ประกาศยืนยันโดย[[กรมการขนส่งทางราง]] เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้ก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2572
บรรทัด 41:
 
== แนวเส้นทาง ==
เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน เริ่มต้นจากสถานีประชาสงเคราะห์ ของ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม]] บริเวณที่ตั้งของศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ลงมาทางทิศใต้ตามแนว[[ถนนประชาสงเคราะห์]]ผ่านเคหะชุมชนดินแดง แยกประชาสงเคราะห์ จุดตัด[[ถนนอโศก-ดินแดง]] ยกระดับข้าม[[ทางพิเศษศรีรัช]]บริเวณ[[บึงมักกะสัน]] เข้าสู่พื้นที่ของ[[สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง|ศูนย์คมนาคมมักกะสัน]] โดยวิ่งไปทางทิศตะวันออกตามแนวเขตทางที่เตรียมไว้สำหรับระบบรางเดี่ยวภายในศูนย์ฯ ผ่าน[[สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง|สถานีมักกะสัน]] แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่[[ถนนอโศก-ดินแดง]] เลี้ยวขวาอีกครั้งที่[[แยกอโศก-เพชรบุรี]] และเลี้ยวไปทางทิศตะวันตกเข้าสู่แนว[[ถนนเพชรบุรี]] ผ่าน[[แยกมิตรสัมพันธ์]] จุดตัด[[ถนนนิคมมักกะสัน]] และ[[ถนนซอยนานาเหนือ]] ยกระดับข้าม[[ทางพิเศษเฉลิมมหานคร]] บริเวณทางขึ้น-ลงทางด่วนเพชรบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายที่[[แยกวิทยุ-เพชรบุรี]]เข้าสู่แนว[[ถนนวิทยุ]]ลงมาทางทิศใต้ ผ่าน[[แยกเพลินจิต]] [[สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย|สถานทูตอเมริกา]] [[แยกสารสิน]] [[สวนลุมพินี]] ยกข้าม[[สะพานลอยไทย-เบลเยี่ยม]] [[ถนนพระรามที่ 4]] ที่[[แยกวิทยุ]] เข้าสู่[[ถนนสาทร]] ผ่านแยก[[ถนนสวนพลู]] ไปสิ้นสุดที่[[แยกสาทร-นราธิวาส]] จุดตัด[[ถนนนราธิวาสราชนครินทร์]] ใกล้[[สถานีช่องนนทรี|สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี]] รวมระยะทาง 9.5 กิโลเมตร
 
== สถานี ==
บรรทัด 49:
 
== การเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนอื่น ==
* สถานีประชาสงเคราะห์ เชื่อมต่อกับสถานีประชาสงเคราะห์ ของ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม]] '' (โครงการ) ''
* สถานีมักกะสัน เชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] และ[[รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน]] ภายใน[[สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง|ศูนย์คมนาคมมักกะสัน]] และเชื่อมต่อกับ[[สถานีเพชรบุรี (รถไฟฟ้ามหานคร)|สถานีเพชรบุรี]] ของ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล]]
* สถานีเพลินจิต เชื่อมต่อกับ[[สถานีเพลินจิต]] ของ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท]]