ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมหมื่นเทพพิพิธ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 24:
}}
 
'''พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าแขก กรมหมื่นเทพพิพิธ''' พระนามเดิมคือ ''พระองค์เจ้าแขก'' พระราชโอรสใน[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]] ผนวชในรัชสมัย[[สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ]] ต่อมามีความผิดฐานคิด[[กบฏ]] จึงถูกเนรเทศออกไปอยู่ที่[[ลังกา]] และ เมื่อ[[พระเจ้ามังระ]]ส่งกองทัพมาตี[[กรุงศรีอยุธยา]] กรมหมื่นเทพพิพิธได้ทราบว่าพม่าทำ[[การปิดล้อมอยุธยา (2309-2310)|การปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา]] จึงได้เดินทางกลับไทย เกลี้ยกล่อมผู้คนทางหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออกเพื่อจะเข้ากู้กรุงศรีฯ แต่ไม่สำเร็จ จึงหนีไปเกลี้ยกล่อม พระยานครราชสีมา เจ้าเมือง[[นครราชสีมา]]ให้เข้าร่วมช่วยกอบกู้กรุงศรีฯ แต่พระยานครราชสีมาไม่ยอม จึงทำการเกลี้ยกล่อมชาวบ้านบริเวณนั้นให้เข้าร่วมเป็นพวกของพระองค์ และให้ หม่อมเจ้าประยง พระโอรส กับ หลวงมหาพิชัย นำไพร่พลไปลอบสังหารพระยานครราชสีมา และยึดเมืองได้ในที่สุด
 
ต่อมา หลวงแพ่ง น้องพระยานครราชสีมาได้ไปเกณฑ์พลจากเมือง[[พิมาย]] เพื่อไปตีเมืองนครราชสีมาเอาเมืองคืน ปรากฏว่ารบชนะ จึงจับกรมหมื่นเทพพิพิธได้ หลวงแพ่งต้องการที่จะประหารชีวิตกรมหมื่นเทพพิพิธเสีย แต่เจ้าพิมายมีความสงสารจึงขอชีวิตไว้ และขอนำกรมหมื่นเทพพิพิธไปคุมไว้ที่เมืองพิมาย แต่เจ้าพิมายจงรักภักดีต่อเจ้ากรุงศรีอยุธยามาก จึงยกกรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินเมืองพิมาย สถาปนาเมืองพิมายเป็นราชธานีต่อจากกรุงศรีอยุธยา<ref>พระจรัสชวนะพันธ์ เจ้ากรมราชบัณฑิต. ''พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (พระเจ้าตากสิน)''. กรุงเทพฯ : กรมตำรา กระทรวงธรรมการ. ๒๔๗๒</ref> ส่วนเจ้าพิมายนั้นนั้นได้ถูกแต่งตั้งให้เป็น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการบ้านเมืองทั้งหมด หลังจากนั้น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็ได้สังหารหลวงแพ่ง แล้วยึดเมืองนครราชสีมา และ หัวเมืองน้อยใหญ่ทั้งปวงมารวมกับพิมายทั้งหมด เมืองพิมายมีอาณาเขตตั้งแต่แขวงหัวเมืองตะวันออกฝ่ายดอน ไปจนถึงแดนกรุงศรีสัตนาคนหุตและกรุงกัมพูชาธิบดี ฝ่ายใต้ลงมาถึงเมืองสระบุรีตลอดลำน้ำแควป่าสัก <ref>พระจรัสชวนะพันธ์ เจ้ากรมราชบัณฑิต. ''พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (พระเจ้าตากสิน)''. กรุงเทพฯ : กรมตำรา กระทรวงธรรมการ. ๒๔๗๒</ref>