ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 49:
* 27 ธันวาคม พ.ศ. 2455 เป็นพระยาประสิทธิ์ศุภการ เช่นเดียวกับบิดา (อายุ 22 ปี)
 
ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 ขณะอายุได้ 31 ปี มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระยาประสิทธิ์ศุภการ ขึ้นเป็นเจ้าพระยารามราฆพ มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฎว่า "เจ้าพระยารามราฆพ พัชรพัลลภมหาสวามิภักดิ์ สมัครพลวโรปนายก สุรเสวกวิศิษฏ์คุณ พึ่งบุญพงศ์บริพัตร นฤปรัตนราชสุปรีย์ ศรีรัตนไตรสรณธาดา เมตตาภิรัตมัทวสมาจาร สัตยวิธานอาชวาธยาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ คชนาม" "มีศักดินา 10000 ไร่ ได้รับพระบรมราชโองการต่อจาก[[เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร)]] และก่อน[[เจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร)]] กล่าวกันว่าเจ้าพระยารามราฆพเป็นเจ้าพระยาที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การแต่งตั้งของกรุงรัตนโกสินทร์
 
=== ตำแหน่งในราชการ และความสำคัญอื่นๆอื่น ๆ ===
* ผู้สำเร็จราชการ[[มหาดเล็ก]]
* [[คณะองคมนตรีไทย|องคมนตรี]]<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/114.PDF</ref>
บรรทัด 73:
* นายกสมาคมราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์<ref>http://www.raat.or.th/info.php</ref>
 
หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว เจ้าพระยารามราฆพ จึงออกไปศึกษาต่อที่[[ประเทศอังกฤษ]] จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถึงพ.ศ. 2477 จึงเดินทางกลับประเทศไทย ได้พำนักอยู่ที่บ้านบุญญาศรัย ถนนราชดำริ 1 ปี จึงมาพำนักที่[[ทำเนียบรัฐบาลไทย|บ้านนรสิงห์]] ถึงปี พ.ศ. 2484 ขายบ้านนรสิงห์ให้รัฐบาล แล้วย้ายไปพำนักที่บ้านท่าเกษม ตำบลบางขุนพรหม ถึงปี พ.ศ. 2505 จึงขายบ้านท่าเกษมให้กับ[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]] (เป็นโรงพิมพ์ธนบัตร ในปัจจุบันนี้) ท้ายที่สุด ใน[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหามหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|รัชกาลที่ 9]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบ้านให้พำนัก ที่ถนนเจริญนคร ฝั่งธนบุรี ท่านขนานนามบ้านนี้ว่า "บ้านพระขรรค์ชัยศรี" และพำนัก ณ ที่นี้จนถึงอสัญกรรม
 
ด้านการเมือง ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นนายกเทศมนตรี[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|เทศบาลนครกรุงเทพฯ]] คนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2480 โดยมี[[พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา)]] เป็นปลัดเทศบาลนครกรุงเทพฯ คนแรก
 
เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีแล้ว เจ้าพระยารามราฆพคงเป็นข้าราชการบำนาญและเป็นที่ปรึกษาราชการในพระราชสำนักต่อมาจนถึงสมัยหลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ใน พ.ศ. 2506 [[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบ[[สำนักพระราชวัง]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารามราฆพ รับราชการในหน้าที่ สมุหพระราชวัง และ ประธานกรรมการพระราชสำนัก นอกจากนั้นท่านยังได้สนองพระเดชพระคุณในหน้าที่ต่างๆต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกหลายหน้าที่ เช่น เป็นสภานายกสภา[[คณะลูกเสือแห่งชาติ|ลูกเสือแห่งชาติ]] กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและอุปนายกในคณะกรรมการอำนวยการ[[วชิราวุธวิทยาลัย]] กับยังเป็นประธานกรรมการ ในบริษัทเอกชนอีกหลายบริษัท ที่สำคัญคือ เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้ง[[ธนาคารกรุงเทพ จำกัด]]<ref>digi.library.tu.ac.th/thesis/ec/0815/15ภาคผนวกก.pdf</ref>
 
=== ครอบครัว ===
บรรทัด 122:
** คุณอำพลปนัดดา
 
ในบั้นปลายชีวิต นอกจากการรับราชการแล้ว เจ้าพระยารามราฆพ ก็ใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน มีกิจวัตรประจำวันคือการจดบันทึก ซึ่งทำมาตั้งแต่อยู่ในมัธยมวัยจนถึงอสัญกรรม นอกจากนี้ก็เพลิดเพลินอยู่กับการบำรุงดูแลเรือ ทั้งเรือยนต์และเรือกล อันเป็นของชอบของท่านตั้งแต่ยังรับราชการ และไปพักตากอากาศที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทุกๆทุก ๆ ปี
 
พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ ถึงแก่อสัญกรรมในวันเสาร์ ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เวลา 22 นาฬิกา 15 นาที ด้วยเส้นโลหิตแตก สิริรวมอายุได้ 77 ปี 16 วัน ณ ตึกธนาคารกรุงเทพ [[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]]
บรรทัด 129:
 
== บ้านนรสิงห์ ==
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง[[บ้านนรสิงห์]] พระราชทานแก่พระยาประสิทธิ์ศุภการ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2484 ท่านได้เสนอขายบ้านนี้ให้แก่รัฐบาล เนื่องจากไม่สามารถรับภาระการดูแลบำรุงรักษาได้ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 จอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรี เห็นว่าควรซื้อบ้านนรสิงห์เพื่อทำเป็นสถานที่รับรองแขกเมือง รัฐบาลได้ให้[[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]]เป็นผู้ซื้อบ้านหลังนี้ มอบให้[[สำนักนายกรัฐมนตรี]]เป็นผู้ดูแล ใช้เป็นสถานที่สำหรับรับรองแขกเมืองและย้ายสำนักนายกรัฐมนตรี จาก[[วังสวนกุหลาบ]] มาอยู่ที่นี่
 
บ้านนรสิงห์ เปลี่ยนชื่อเป็น "ทำเนียบสามัคคีชัย" เมื่อ พ.ศ. 2484 และต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้ซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์ จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นของสำนักนายกรัฐมนตรี และเปลี่ยนชื่อเป็น "ทำเนียบรัฐบาล"
 
ท่านเจ้าพระยา ฯเจ้าพระยาฯ ขายบ้านนรสิงห์ให้รัฐบาล และย้ายมาพำนักที่บ้านท่าเกษม ตำบลบางขุนพรหม จนถึงปี พ.ศ. 2505 ได้ขายบ้านท่าเกษมให้กับ[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]]
 
== สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม ==