ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาปัตยกรรมร่วมสมัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chanathip Phothikaew (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Chanathip Phothikaew (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
การใช้วัสดุก่อสร้างหลากหลายชนิดผสมผสานกัน การออกแบบอาคารให้มีรูปร่างไม่สมมาตร บิดงอ มีเหลี่ยมมุม สามารถสร้างทัศนียภาพที่แตกต่างตามจังหวะการโคจรของดวงอาทิตย์ ล้วนก่อให้เกิดลักษณะเด่นของอาคารร่วมสมัย
 
สถาปัตยกรรมร่วมสมัยยังตระหนักถึงการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผ่านการใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนใหญ่ในกระบวนการก่อสร้าง และการออกแบบอาคารให้ประหยัดพลังงาน อาคารร่วมสมัยส่วนมากนิยมใช้หน้าต่างขนาดใหญ่เพื่อรับแสงธรรมชาติแทนการใช้หลอดไฟ อาคารบางแห่งใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งติดตั้งอยู่เหนือหลังคาหรือดาดฟ้า
 
รูปแบบของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยมีปรากฏให้เห็นทั่วโลก จึงอาจกล่าวได้ว่าสถาปัตยกรรมร่วมสมัยมีความเป็นสากล ต่างกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่กระจุกอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบทวีปยุโรป อาคารร่วมสมัยที่มีชื่อเสียง ได้แก่ [[เซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์|เซี่ยงไฮ้ ทาวเวอร์]] (Shanghai Tower) ประเทศจีน, [[บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์]] (Burj Khalifa) ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, [[โรงอุปรากรซิดนีย์]] (Sydney Opera House) ประเทศออสเตรเลีย, [[ซีเอ็นทาวเวอร์|ซีเอ็น ทาวเวอร์]] (CN Tower) ประเทศแคนาดา