ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิเต้ากวัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 29:
จักรพรรดิเต้ากวัง ขึ้นครองราชย์ภายหลังการสวรรคตอย่างกะทันหันของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ในปี [[พ.ศ. 2363]] (ค.ศ. 1820) ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานหลบร้อนไปยังเมืองเฉิงเต๋อ ซึ่งได้มีพระราชโองการแต่งตั้งไว้ในพินัยกรรม แต่เนื่องจากการที่สวรรคตในที่ห่างไกลเมืองหลวง จึงทำให้ องค์ชายสี่ เหมี่ยนซิน พระโอรสองค์เล็ก[[จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง|พระนางเสี้ยวเหอ]]ของคัดค้านว่า เป็นพินัยกรรมปลอม และเตรียมการจะก่อกบฏ พระองค์จึงทรงวางแผนโยนไปให้[[จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง|พระนางเสี้ยวเหอ]]ตัดสินและได้ขอกำลังทหารส่วนหนึ่งมาคุ้มกัน ซึ่ง[[จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง|พระนางเสี้ยวเหอ]]ได้ยอมรับว่า พินัยกรรมนั้นเป็นของจริง และได้พระราชทานอภัยโทษประหารองค์ชายเหมี่ยนซินไว้
 
ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวัง ได้ทรงหาทางกำจัดขุนนางกังฉินและบรรดาขุนนางที่ไม่เอาการเอางาน จึงทำให้เหล่าขุนนางลับหลังจะนินทาพระองค์อยู่เสมอ ๆ และทำให้ขุนนางแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่ายต่างก็สนับสนุนพระโอรสอันเกิดจากพระมารดาที่เป็นชนเผ่าเดียวกับตน แต่พระองค์ก็ได้หาทางบริหารประเทศอย่างเต็มที่ ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศเป็นปึกแผ่น ดูเหมือนเข้มแข็ง แต่ภายในอ่อนแออันเกิดจากการฉ้อราษฎร์ราฎร์บังหลวงที่เป็นระบบกันมานานแต่สมัย[[เฉียนหลง|จักรพรรดิเฉียนหลง]] ในรัชสมัยนี้พระองค์ได้ออกนโยบายให้ทุกคนในวังประหยัด โดยมีพระองค์เป็นแบบอย่าง และเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือ [[สงครามฝิ่น]]กับ[[อังกฤษ]]ในปี [[พ.ศ. 2382]] (ค.ศ. 1839) และ [[พ.ศ. 2383]] (ค.ศ. 1840) [[ยุคล่าอาณานิคม]] ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และนำมาสู่การสูญเสียเกาะ[[ฮ่องกง]]และการล่มสลายของราชวงศ์ชิงในภายหลัง
 
จักรพรรดิเต้ากวังมีอุปนิสัยส่วนพระองค์คือ โปรดปราน[[ปืน]]เป็นพิเศษ ได้สวรรคตในปี [[พ.ศ. 2393]] (ค.ศ. 1850) และผู้ครองราชย์สืบไปคือ [[จักรพรรดิเสียนเฟิง|องค์ชายอี้จู่]]ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า [[จักรพรรดิเสียนเฟิง]]