ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนสาทร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 4:
==กายภาพ==
[[ภาพ:Sathon Road.jpg|thumb|250px|ถนนสาทร ราวปี พ.ศ. 2543]]
ถนนสาทร เป็นถนนที่เชื่อมระหว่าง[[ถนนพระรามที่ 4]] และเข้ากับ[[ถนนเจริญกรุง]] และเป็นเส้นทางหนึ่งที่เชื่อมกับ[[ฝั่งธนบุรี]]โดย[[สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] (สะพานสาทร) โดยแบ่งได้เป็น 2 ฝั่ง ได้แก่ซึ่งแบ่งโดยใช้[[คลองสาทร]] ได้แก่ ฝั่งเหนือคือ "ถนนสาทรเหนือ" อยู่ในแขวงสีลม เขตบางรัก และฝั่งใต้คือ "ถนนสาทรใต้" อยู่ในแขวงยานนาวาและแขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร
 
แนวเส้นทางจะเริ่มจากถนนพระรามที่ 4 บริเวณ[[แยกวิทยุ]] ต่อเนื่องจาก[[ถนนวิทยุ]] ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เลียบคลองสาทรทั้ง 2 ฝั่ง ตัดกับ[[ถนนนราธิวาสราชนครินทร์]] และไปสิ้นสุดที่ถนนเจริญกรุง บริเวณท่าเรือสาทรริม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] และยังมีสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกระดับข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปบรรจบกับ[[ถนนกรุงธนบุรี]]ที่[[เขตคลองสาน]]อีกด้วย
 
==ประวัติ==
ถนนสาทรเป็นถนนที่ตัดขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยในปี พ.ศ. 2431 คหบดีชาวจีนที่ชื่อ "เจ้าสัวยม" ได้อุทิศที่ดินระหว่าง[[ถนนสีลม]]และถนนบ้านหวายเพื่อขุดคลอง โดยจ้างกรรมการชาวจีนเพื่อทำการขุด โดยขุดจาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ฝั่งตะวันออกไปบรรจบกับคลองถนนตรงหรือคลองวัวลำพอง (ปัจจุบันถูกถมเป็น[[ถนนพระรามที่ 4]]) เรียกคลองที่ขุดขึ้นใหม่นี้ว่า "คลองเจ้าสัวยม" ([[คลองสาทร]]ในปัจจุบัน) และได้นำดินที่ขุดคลองมาทำเป็นถนนอีกด้วย ต่อมาเจ้าสัวยมได้รับบรรดาศักดิ์และราชทินนามเป็น "หลวงสาทรราชายุตก์" จึงทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนนี้ว่า "ถนนสาทรราชายุตก์" รวมถึงคลอง คือ "คลองสาทรราชายุตก์" แต่ผู้คนนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "สาทร"
 
ในอดีตถนนสาทรมีต้นมะฮอกกานี ปลูกอยู่ริมคลองสาทรทั้ง 2 ด้าน เดิมเป็นถนนเพียง 1 ช่องจราจรทั้งไปและกลับ ต่อมาขยายเป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจรทั้งไปและกลับ และขยายเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ช่องจราจรทั้งไปและกลับ โดยถนนช่องจราจรที่ 3 ได้กินพื้นที่ของคลองสาทรบางส่วนไปด้วย ทำให้คลองสาทรในปัจจุบันเล็กกว่าเดิมเกือบเท่าตัว ซึ่งการขยายถนนครั้งหลังสุดเกิดขึ้นเมื่อมีการก่อสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในช่วงปี พ.ศ. 2522 - 2525 ถนนสาทรเคยเป็นย่านเก่าแก่ของพ่อค้าชาวจีนและชาวยุโรป จึงปรากฏบ้านทรงตะวันตกหลายหลังริมถนน
เส้น 37 ⟶ 39:
 
== การเดินทาง ==
* [[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม]]: [[สถานีช่องนนทรี]], [[สถานีสุรศักดิ์]], [[สถานีสะพานตากสิน]] โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง[[สถานีศึกษาวิทยา]]บริเวณซอยสาทร 12 อีก 1 สถานี
* [[รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์]]: [[สถานีสาทร]]
* [[ขสมก.|รถโดยสารประจำทาง]]: [[รายชื่อเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ|สาย]] ปอ.พ.11, 14, ปอ.พ.17, ปอ.พ.18, 24, 25, 29, 60, 67, 76, 77, 105, 115, 116, 149, 203