ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พฤษภาทมิฬ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sirakorn (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อมูลตัวเลข casualties
แก้ไขตัวอักษรย่อให้ถูกต้อง
บรรทัด 51:
'''เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ''' เป็นเหตุการณ์ที่[[การก่อการกำเริบโดยประชาชน|ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาล]]ครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองที่มีพลเอก[[สุจินดา คราประยูร]] เป็น [[นายกรัฐมนตรี]] และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ [[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] (รสช.) ระหว่างวันที่ [[17 พฤษภาคม|17]]-[[24 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2535]] ซึ่งเป็นการ[[รัฐประหาร]] รัฐบาลพลเอก[[ชาติชาย ชุณหะวัณ]] เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ [[พ.ศ. 2534]] นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก (พลเอกสุจินดาแถลงว่ามีผู้เสียชีวิต 44 คน บาดเจ็บ 1,728 คน) <ref name="ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ">[https://prachatai.com/journal/2017/05/71545 เปิดรายชื่อคนตาย พ.ค.35 และ พ.ค.53 – 7 ปี ความยุติธรรมที่ไม่ไปไหน]</ref> และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
 
เหตุการณ์ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเอก[[ชาติชาย ชุณหะวัณ]] โดยมีหัวหน้าคณะคือ พล.อ.[[สุนทร คงสมพงษ์]] [[ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] ในขณะนั้นภายหลังการรัฐประหารได้เลือกนาย [[อานันท์ ปันยารชุน]] เป็นนายกรัฐมนตรีและได้ร่างรัฐธรรมนูญจนมี[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535|การเลือกตั้ง]]ผลปรากฏว่า[[ณรงค์ วงศ์วรรณ|นายณรงค์ วงศ์วรรณ]] หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมที่ตั้งขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในคณะ คสชรสช. ได้คะแนนมากที่สุด แต่สุดท้ายไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เนื่องจากถูกรัฐบาลสหรัฐอเมริกาขึ้นบัญชีดำจากความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด<ref>[http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1_(%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.2535) สามัคคีธรรม (พ.ศ. 2535)] ,ฐานข้อมูลการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า .วันที่ 5 ต.ค. 2554</ref> ทำให้ พล.อ.สุจินดา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเป็นการตระบัดสัตย์ที่เคยกล่าวไว้ว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายา "'''เสียสัตย์เพื่อชาติ'''" จากสื่อมวลชนในเวลาต่อมา<ref>[http://www.manager.co.th/Columnist/ViewNews.aspx?NewsID=9550000105111 วาทกรรมทางการเมืองกับความหมายเชิงสัญญะ] ,ผู้จัดการ .วันที่ 27 สิงหาคม 2555</ref>
 
จากผลดังกล่าว ทำให้ประชาชนหลายส่วนไม่พอใจการขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีของพล.อ.สุจินดา ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตย จนนำไปสู่การประท้วงทั้งการอดอาหาร การเดินขบวน และการชุมนุมในสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ทำให้รัฐบาลพล.อ.สุจินดาใช้คำสั่งสลายการชุมนุม เกิดการปะทะขึ้น มีประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ในเวลาต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]ได้ทรงรับสั่งให้พลเอกสุจินดา คราประยูรและพลตรี[[จำลอง ศรีเมือง]]เข้าเฝ้า โดยทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ซึ่งได้มีการเผยแพร่ผ่าน[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]] หลังจากนั้นอีก 4 วัน พล.อ.สุจินดา จึงได้ประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และนายอานันท์ ปันยารชุน ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก่อน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535|การเลือกตั้ง]]ในเวลาต่อมา