ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Biganucha (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
| พระอิสริยยศ = พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 5
| พระราชบิดา = [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
| พระมารดา = [[เจ้าจอมมารดาจันทร์ ในรัชกาลที่ 5|เจ้าจอมมารดาจันทร์]]
| พระราชสวามี =
| พระสวามี =
บรรทัด 16:
'''พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ''' (ประสูติ: 26 เมษายน พ.ศ. 2424 — สิ้นพระชนม์: 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2477) เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 34 ใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ประสูติแต่[[เจ้าจอมมารดาจันทร์ ในรัชกาลที่ 5|เจ้าจอมมารดาจันทร์]] ธิดาของ[[พระยาราชสัมภารากร (เทศ)]] ประสูติวันอังคาร เดือน 5 แรม 13 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรีศก จุลศักราช 1243 ตรงกับวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2424 เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนราชกุมารีใน[[พระบรมมหาราชวัง|พระราชวังหลวง]] ทรงศึกษาภาษาไทยและภาษาอังกฤษกับ[[พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)|พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยจางกูร)]] หลังจากนั้นได้ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เองมาตลอด ในรัชกาลที่ 6 ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระยศเป็น "พระเจ้าน้องนางเธอฯ" เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ต่อมาในรัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระยศเป็น "พระเจ้าพี่นางเธอฯ" เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2468 และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระยศเป็น "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ"
 
ในปี พ.ศ. 2472 พระองค์ได้ทรงจัดงานยิ่งใหญ่งานหนึ่งที่[[วังบางขุนพรหม]] เรียกว่า "งานสี่มะเส็ง" โดยทรงชักชวนเจ้านายพี่น้องที่ประสูติในปีมะเส็งร่วมสหชาติเดียวกันจำนวนสี่พระองค์ ประกอบด้วย[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต|จอมพล สมเด็จฯสมเด็จเจ้าฟ้าฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน|นายพลเอก กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน]] และ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์|พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์]] รวมถึงพระองค์เองด้วยเพื่อทรงร่วมบริจาคเงินสมทบทุนสร้างตึกถาวรวัตถุเป็นพระอนุสรณ์ชื่อว่า "ตึกสี่มะเส็ง" ที่สถานเสาวภาภายใน[[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]]
 
ภายหลังจากสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคต หลังปี พ.ศ. 2462 ได้ทรงย้ายที่ประทับจากตำหนักสวนภาพผู้หญิงใน[[พระราชวังดุสิต|วังสวนดุสิต]]มาประทับที่สวนสุนันทา พระองค์ทรงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ทรงใฝ่พระทัยในธรรมะ งานที่โปรดคือการเย็บปักถักร้อยและงานแกะสลัก รวมทั้งโปรดกีฬากอล์ฟและการออกแบบเสื้อผ้า สมเด็จพระพันปีหลวงถึงกับทรงมอบหมายให้ทำหน้าที่ตัดเย็บฉลองพระองค์