ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงชาติไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 29:
{{Spoken Wikipedia|Th-ธงชาติไทย.oga|28 กันยายน พ.ศ. 2560|35.05 เมกะ}}
 
'''ธงชาติไทย''' หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า '''ธงไตรรงค์''' มีลักษณะเป็น[[ธง]][[สี่เหลี่ยมผืนผ้า]] ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ [[สีแดง]] [[สีขาว]] และ[[สีน้ำเงินขาบ]] ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ [[ชาติ]] (สีแดง) [[ศาสนา]] (สีขาว) และ[[พระมหากษัตริย์]] (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)
 
[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย<ref name="อมรดรุณารักษ์">อมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช), จมื่น พระราชกรณียกิจสำคัญในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๖ องค์การค้าคุรุสภา ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์, ๒๕๑๒ เรื่อง "เหตุที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนธงชาติ". (บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ [http://www.t-h-a-i-l-a-n-d.org/thaiflag/newsite/detail.php?id=166 "วชิราวุธานุสรณ์ ๒๔๙๖"] พิมพ์ที่โรงพิมพ์รวมมิตรไทยเมื่อ พ.ศ. 2496)</ref> (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่า[[สยาม]]) เมื่อช่วงปลายปี [[พ.ศ. 2460]] เพื่อแก้ไขปัญหาการทำธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่[[รัชกาลที่ 4]]) ที่ทำตัวช้างเผือกไม่สวยงาม<ref>[https://www.youtube.com/watch?v=V8P_5BbDVao&t=86s หยุดเชื่อ ... หยุดสอน ... เรื่องธงช้างกลับหัว อันเป็นเหตุเปลี่ยนธงชาติไทย]</ref> และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วม[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] กับ[[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง|ฝ่ายสัมพันธมิตร]]<ref name="ฉวีงาม">ฉวีงาม มาเจริญ. ธงไทย. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๒๐. </ref>