ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Prem4826 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Black_hole_lensing_web.gif|thumb|200px|ภาพจำลองแอนิเมชันของ[[เลนส์ความโน้มถ่วง]]ซึ่งเกิดจาก[[การวัดของชวาทซ์ชิลท์|หลุมดำชวาทซ์ชิลท์]]ที่เคลื่อนผ่านในระนาบแนวสายตาไปยังดาราจักรพื้นหลัง ด้วยการวางตัวที่แน่นอนของเวลารอบ ๆ และที่จุดนั้น ([[ซินิจี (ดาราศาสตร์)|ซินิจี]]) ทำให้สังเกตเห็นได้ถึงการหักเหของแสงอย่างชัดเจน]]
 
'''ภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วง''' ({{lang-en|gravitational singularity}}) '''ภาวะเอกฐานของปริภูมิ-เวลา''' ({{lang-en|spacetime singularity}}) หรือ '''ซิงกูลาริตี''' ({{lang-en|singularity}}) เป็นสถานที่ใน[[ปริภูมิ-เวลา]]ที่สนาม[[ความโน้มถ่วง]]ของเทห์ฟากฟ้าถูกคาดการณ์ไว้ว่ามีค่าเป็น[[อนันต์]]โดยใช้[[ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป]]ในลักษณะที่ไม่ขึ้นกับ[[ระบบพิกัด]] กล่าวคือ ปริมาณต่าง ๆ ที่ใช้ในการวัดความเข้มของสนามความโน้มถ่วงเป็น[[Curvature invariantค่าคงที่ความโค้ง (general relativityทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป)|ค่าคงที่ความโค้งเชิงสเกลาร์]]ของปริภูมิ-เวลา ซึ่งประกอบไปด้วยการวัดความหนาแน่นของสสาร แต่เนื่องจากปริมาณที่กล่าวมามีค่าเป็นอนันต์ ณ ที่ซิงกูลาริตีภาวะเอกฐานนี้ ฉะนั้นกฎของปริภูมิ-เวลาแบบปกติจึงไม่สามารถใช้ได้<ref>{{cite web|url=http://www.physicsoftheuniverse.com/topics_blackholes_singularities.html|title=Blackholes and Wormholes}}</ref><ref>{{cite journal|url=http://www.einstein-online.info/spotlights/singularities|title=Spacetime Singularities|author=Claes Uggla|journal=Einstein Online |volume=2 |year=2006 |number=1002}}</ref>
 
ปกติแล้วภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงถือว่าเป็นเนื้อหาของ[[ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป]] (ที่ซึ่งชี้ว่า[[ความหนาแน่น]] ณ จุดศูนย์กลางของ[[หลุมดำ]]มีค่าเป็นอนันต์อย่างเด่นชัด) และยังเป็น[[ฟิสิกส์ดาราศาสตร์]]และ[[จักรวาลวิทยา]]ใน[[ภาวะเอกฐานแรกเริ่ม|ช่วงสภาวะสภาพแรกเริ่มของเอกภพ]]ขณะเกิด[[บิกแบง]] ในตอนนี้ นักฟิสิกส์ยังไม่สามารถบอกได้ว่าการคาดการณ์ถึงภาวะเอกฐานนี้นั้นจะหมายความว่าภาวะเอกฐานนี้ (หรือภาวะเอกฐานในช่วงบิกแบง) มีอยู่จริง หรืออาจเป็นเพราะความรู้ความเข้าใจในปัจจุบันนั้นยังไม่เพียงพอที่จะการสามารถอธิบายได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในสภาพความหนาแน่นยิ่งยวดนี้
 
ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปคาดไว้ว่า วัตถุใด ๆ ที่มีการยุบตัวอย่างรุนแรงเกินจุด ๆ หนึ่ง (สำหรับ[[ดาวฤกษ์]]จุดนั้นคือ [[รัศมีชวาทซ์ชิลท์]]) จะก่อตัวเป็นหลุมดำ โดยที่ภายในจะก่อให้เกิดภาวะเอกฐานขึ้น (ซึ่งมีขอบฟ้าเหตุการณ์ปกคลุมล้อมรอบ)<ref>{{cite web|url=http://plato.stanford.edu/entries/spacetime-singularities/|title=Singularities and Black Holes|last=Curiel|first=Erik|publisher=Center for the Study of Language and Information, Stanford University|author2=Peter Bokulich|last-author-amp=yes|encyclopedia=Stanford Encyclopedia of Philosophy|accessdate=26 December 2012}}</ref> [[ทฤษฎีบทภาวะเอกฐานเพนโรส-ฮอว์กิง]] นิยามภาวะเอกฐานว่ามี[[จีโอเดสิก (ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป)|จีโอเดสิก]] (geodesic) ที่ไม่สามารถขยายตัวในลักษณะ[[การปรับเรียบ|ปรับเรียบ]]ได้ (smooth manner)<ref>{{cite web |last=Moulay |first=Emmanuel |title=The universe and photons |url=http://www.fqxi.org/data/essay-contest-files/Moulay_Photon_2.pdf |publisher=FQXi Foundational Questions Institute |accessdate=26 December 2012}}</ref> ซึ่งการสิ้นสุดของจีโอเดสิกในลักษณะนี้ถือว่าเป็นภาวะเอกฐานดังกล่าว
 
ในช่วงสภาพแรกเริ่มของ[[เอกภพ]]ขณะเกิด[[บิกแบง]] ยังมีการคาดการณ์โดยใช้ทฤษฎีสมัยใหม่มากมายว่าในช่วงเวลานั้นเป็นภาวะเอกฐาน<ref>Wald, p. 99</ref> ในกรณีนี้ที่เอกภพไม่ได้ยุบตัวลงกลายเป็นหลุมดำ เนื่องมาจากการคำนวณที่ทราบในปัจจุบันและขีดจำกัดของความหนาแน่นสำหรับการยุบตัวเชิงความโน้มถ่วงนั้น (gravitational collapse) ปกติแล้วขึ้นกับวัตถุที่มีขนาดค่อนข้างคงที่ เช่น ดาวฤกษ์ และไม่จำเป็นต้องเป็นวิธีเดียวกันกับ[[การขยายตัวของเอกภพ|การขยายตัวอย่างรวดเร็วของอวกาศ]] เช่น การระเบิดของบิกแบง ในปัจจุบันนี้ทั้ง[[ทฤษฎีสัมพัทธภาพ]]และ[[กลศาสตร์ควอนตัม]]ยังไม่สามารถอธิบายถึง[[Planck epoch|การระเบิดของบิกแบงในระยะแรก]]ได้<ref>{{cite web |last=Hawking |first=Stephen |title=The Beginning of Time |url=http://www.hawking.org.uk/the-beginning-of-time.html |work=Stephen Hawking: The Official Website |publisher=[[Cambridge University]] |accessdate=26 December 2012}}</ref> อีกทั้งในทฤษฎีสัมพัทธภาพและกลศาสตร์ควอนตัมกล่าวว่า อนุภาคไม่สามารถอาศัยอยู่ในอวกาศที่มีขนาดเล็กกว่า[[ความยาวคลื่นคอมป์ตัน|ความยาวคลื่น]]ได้<ref>{{cite book |last=Zebrowski |first=Ernest |title=A History of the Circle: Mathematical Reasoning and the Physical Universe |date=2000 |publisher=[[Rutgers University Press]] |location=Piscataway NJ |isbn=978-0813528984 |page=180 |url=https://books.google.com/books?id=2twRfiUwkxYC}}</ref>
 
ข้อสังเกตของ[[ภาวะเอกฐาน]]คือ ณ จุดหนึ่งเมื่อความโค้งของอวกาศ-เวลาเกิดการระเบิดขึ้น ล้วนเป็นช่วงที่การอธิบายเป็นการจินตนาการเสียส่วนมาก อย่างไรก็ตามภาวะเอกฐานนั้นสามารถเกิดขึ้นจริงได้แม้ว่าความโค้งของอวกาศ-เวลายังคงไม่เป็นอนันต์อยู่ก็ตาม
เส้น 23 ⟶ 27:
อย่างไรก็ตาม การก่อตัวของภาวะเอกฐานอาจใช้เวลาจำกัดมากจากจุดที่ผู้สังเกตการยุบตัวของวัตถุ แต่จากจุดที่ไกลจากผู้สังเกตอาจจะใช้เวลาไม่สิ้นสุดเนื่องจากการยืดเวลาเนื่องจากความโน้มถ่วง
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:หลุมดำ]]
[[หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์]]
[[หมวดหมู่:ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป]]
{{โครงดาราศาสตร์}}