ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นีกอลา อาแปร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
ในปีค.ศ. 1800 [[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1|จักรพรรดินโปเลียน]]เสนอเงินรางวัล 12,000 ฟรังก์ให้ใครก็ตามที่คิดค้นวิธีถนอมอาหารแบบใหม่ได้ ในปีค.ศ. 1806 อาแปร์นำขวดแก้วบรรจุอาหารต่างๆที่เขาถนอมไว้ออกมาแสดงที่งานนิทรรศการผลิตอุตสาหกรรมฝรั่งเศส ({{lang|fr|''Exposition des produits de l'industrie française''}}) แต่กลับไม่ชนะและไม่ได้รับเงินรางวัลใดๆ{{sfn|Garcia|Adrian|2009|p=120}} ต่อมาในปีค.ศ. 1810 กระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศสเสนอเงิน 12,000 ฟรังก์ให้อาแปร์ โดยมีเงื่อนไขว่าเขาต้องเผยแพร่กรรมวิธีถนอมอาหารนี้ให้สาธารณะชน ซึ่งอาแปร์ยอมรับและตีพิมพ์หนังสือเพื่ออธิบายกรรมวิธีดังกล่าวในปีนั้นเอง หนังสือของเขามีชื่อว่า ''ศาสตร์การถนอมเนื้อสัตว์และพืชผลเกษตร'' ({{lang|fr|''L'Art de conserver les substances animales et végétales''}}) ตีพิมพ์ครั้งแรกจำนวน 200 เล่ม{{sfn|Robertson|1998|p=174}}
''ลามาซงอาแปร์'' ({{lang|fr|''La Maison Appert''}}) ในเมืองมาซีใกล้กับกรุงปารีส กลายเป็นโรงงานบรรจุอาหารลงขวดแห่งแรกในโลก<ref name='biodict'/> นับเป็นเวลาหลายปีก่อนที่[[หลุยส์ ปาสเตอร์]] จะพิสูจน์ได้ว่าความร้อนสามารถฆ่าแบคทีเรีย กรรมวิธีถนอมอาหารของอาแปร์ได้จุดประกายให้เกิดธุรกิจถนอมอาหารหลากหลายชนิดในบรรจุภัณฑ์ปิด กรรมวิธีถนอมอาหารของเขาแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งในปีค.ศ. 1810 พ่อค้าชาวอังกฤษนามว่าปีเตอร์ ดูแรนด์ (Peter Durand) ได้นำกรรมวิธีนี้ไปใช้แต่เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นกระป๋องแทน
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}