ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้ามีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 90:
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 สถานการณ์ทางการเมืองได้กดดันให้กษัตริย์มีไฮต้องทรงแต่งตั้งรัฐบาลนิยมโซเวียตนำโดย [[เปตรู กรอซา]] มาแทนรัฐบาลต่อต้านคอมมิวนิสต์ของนายพล[[นิโคไล ราเดสคู]] ราเดสคูพยายามหยุดยั้งไม่ให้พรรคคอมมิวนิสต์เข้ามามีอำนาจแต่ก็ทำไม่สำเร็จเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนียได้ระดมกำลังพลผู้สนับสนุนเดินขบวนประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ราเดสคูลาออก กษัตริย์มีไฮจึงต้องแต่งตั้งกรอซาแทน และราเดสคูลาออกจากตำแหน่ง ด้วยสถานการณ์บีบบังคับ โดยในสองปีต่อมานี้ กษัตริย์มีไฮก็ทรงทำได้ดีกว่าเป็นเพียงหุ่นเชิดเพียงเล็กน้อย ในช่วงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 ถึง มกราคม ค.ศ. 1946 เกิดเหตุการณ์[[การประท้วงของราชวงศ์โรมาเนีย]] ซึ่งเป็นเหตุการณ์วิกฤตรัฐธรรมนูญในรัฐบาลของกรอซา กล่าวคือ กษัตริย์มีไฮทรงปฏิเสธที่จะลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติที่เสนอโดยนายกรัฐมนตรีกรอซา หรือทรงปฏิเสธที่รับการเข้าเฝ้าฯจากเหล่าคณะรัฐมนตรี การประท้วงของกษัตริย์ถือเป็นการขัดขืนอย่างหนึ่ง แต่ถึงกระนั้นพระราชวงศ์ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อกรอซาปฏิเสธที่จะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำขอของกษัตริย์ ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองโรมาเนีย พระองค์ทรงกระทำตามคำแนะนำของ[[พรรคเสรีนิยมแห่งชาติ]]และ[[พรรคเกษตรกรแห่งชาติ]] และคาดว่าทรงได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรตะวันตกอย่างลับๆ การประท้วงของราชวงศ์สิ้นสุดในเดือนมกราคม ค.ศ. 1946 เมื่อนายกรัฐมนตรีกรอซาตัดสินใจยอมรับให้มีรัฐมนตรีที่มาจากตัวแทนของสองพรรคศัตรู เพื่อให้รัฐบาลของเข้าได้รับการยอมรับจากสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา<ref>[https://web.archive.org/web/20071016155029/http://ziua.ro/display.php?data=2000-08-23&id=49004 "What was done in Romania between 1945 and 1947 it has also been done since 1989"], ''Ziua'', 24 August 2000 {{ro icon}}</ref> แต่ถึงกระนั้นพวกคอมมิวนิสต์ก็มีอำนาจมากอยู่ดี จากกระแสตอบรับทางฝั่งโซเวียต อังกฤษและสหรัฐอเมริกา กษัตริย์มีไฮทรงถูกกดดันให้ยุติการดื้อแพ่งต่อต้านในการบังคับให้กรอซาลาออกจากตำแหน่ง
 
กษัตริย์มีไฮไม่ทรงพระราชทานอภัยโทษให้อดีตนายกรัฐมนตรี จอมพลอันโตเนสคู ซึ่งเขาถูกตัดสินประหารชีวิตสำหรับ "การทรยศชาวโรมาเนีย และทำเพื่อผลประโยชน์ของนาซีเยอรมนี ในการจัดการให้ระบอบเศรษฐกิจและการเมืองของโรมาเนียให้กลายเป็นของเยอรมนี รวมถึงกระทำการร่วมมือกับกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็ก ในการวางแผนสังหารนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม การสังหารหมู่พลเรือนและ[[ก่ออาชญากรรมต่อสันติภาพ]]" และกษัตริย์มีไฮเองก็ไม่สามารถช่วยผู้นำฝ่ายค้านได้ อย่าง[[อียูลิว มานิว]] อดีตนายกรัฐมนตรีและพวก[[ตระกูลบราเทียนูเตียนู]]<ref>{{ro icon}} [http://www.bbc.co.uk/romanian/news/story/2007/04/070418_sighet_istoric.shtml Brief history of Sighet prison], [[BBC]], 18 April 2007</ref> ซึ่งตกเป็นเหยือการพิจารณาคดีของพวกคอมมิวนิสต์ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ห้ามพระองค์เข้ามาแทรกแซงได้ โดยปราศจากการลงนามของรัฐมนตรีกระทรวงยุตืธรรมที่เป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ คือ [[ลูเครตีอู ปาทราสคานู]] (ซึ่งในภายหลังเขาถูกกำจัดฐานที่เป็นปรปักษ์ต่อระบอบคอมมิวนิสต์ของ[[กีออร์เก กีออร์กีอู-เดจ]]) จากพระอนุทินส่วนพระองค์ของ[[เจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนีย]] พระปิตุจฉาของกษัตริย์มีไฮ<ref>{{cite web|url=http://www.tkinter.smig.net/PrincessIleana/ILiveAgain/Chapter21.htm |title="I Live Again" by Ileana, Princess of Romania, Chapter 21 |publisher=Tkinter.smig.net |accessdate=30 July 2012}}</ref> ทรงอ้างถึงคำพูดของ[[เอมิล บ็อดนาราส]] ซึ่งเป็นบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนรักของพระองค์<ref>{{ro icon}}[http://www.jurnalul.ro/articole/18837/istoria-ca-telenovela-barfele-unui-raport-secret-iii "History as a Soap Opera – The Gossips of a Secret Report (III)"], ''[[Jurnalul Naţional]]'', 18 June 2006</ref> เขาเป็นรัฐมนตรีกลาโหมของโรมาเนียฝ่ายคอมมิวนิสต์ และเป็นสายลับโซเวียต<ref>{{cite web|url=http://lcweb2.loc.gov/cgi-bin/query/r?frd/cstdy:@field(DOCID+ro0197) |title="Development of the Romanian Armed Forces after World War II", Library of Congress Country Studies |publisher=Lcweb2.loc.gov |date=20 August 1968 |accessdate=30 July 2012}}</ref> เขาพูดว่า "ถ้ากษัตริย์ไม่ทรงลงนามในเอกสารการประหารชีวิต ผมสัญญาว่าเราจะสนับสนุนการตัดสินใจของพระองค์" เจ้าหญิงอีเลียนานั้นไม่ทรงเชื่อใจ ทรงตรัสว่า "ดูคุณรู้ดีจังเลยนะ (...) ว่ากษัตริย์จะไม่มีอิสระในการลงนามในเอกสารที่ไม่ตรงตามรัฐธรรมนูญเหล่านั้น ถ้าพระองค์ทรงยอมลงนาม เอกสารเหล่านั้นก็จะไปขึ้นอยู่กับพวกคุณ และก่อนหน้านั้นทั้งประเทศและรัฐบาลของพวกคุณจะต้องถูกประณาม แน่นอนว่าพวกคุณจะไม่อยากเสียเปรียบเพิ่มในช่วงเวลานี้หรอกนะ!"
 
สมเด็จอา หรือ พระปิตุจฉาของพระองค์นั้นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคอมมิวนิสต์ ได้แก่ [[เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ|เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย อดีตพระราชินีแห่งกรีซ]] และเจ้าหญิงอีเลียนา ในปีค.ศ. 1944 อดีตพระราชินีแห่งกรีซทรงสร้างสายสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนีย และทรงเริ่มโจมตีกษัตริย์มีไฮ ผู้เป็นพระราชนัดดา ซึ่งกษัตริย์มีไฮเองทรงมองสมเด็จอาพระองค์นี้ว่าเป็นจารชนคอมมิวนิสต์<ref>John Wimbles, Elisabeta of the Hellenes: Passionate Woman, Reluctant Queen - Part. 4: Treachery and Death , Royalty Digest, vol. 13#1, no 145, July 2003, pp. 14–15.</ref><ref>Ivor Porter, Michael of Romania: The King and the Country, Sutton Publishing Ltd, 2005, p. 152 and 155.</ref> ในต้นปีค.ศ. 1947 อดีตพระราชินีเอลิซาเบธแห่งกรีซเพิ่งได้รับถวายที่ดินบานล็อปจาก[[ยอซีป บรอซ ตีโต]] ผู้ซึ่งปลดพระนัดดาองค์หนึ่งของพระองค์ออกจากบัลลังก์คือ [[สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย]]<ref>Porter 2005, pp. 169–170.</ref> และจากคำบอกเล่าของอเล็กซานดรู สคานาวี ระบุว่า เจ้าหญิงทรงให้เงินทุนแก่กองกำลังติดอาวุธเพื่อต่อสู้กับระบอบกษัตริย์ในกรีซของพระอนุชาในอดีตพระสวามีของพระนาง คือ [[สมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ]] ส่วนสมเด็จอาอีกพระองค์คือ เจ้าหญิงอีเลียนาอาจจะทรงต่อต้านพระราชนัดดาน้อยกว่าอดีตพระราชินีแห่งกรีซ ผู้เป็นพระเชษฐภคินี แต่พระองค์ก็ทรงหวังว่าพรรคคอมมิวนิสต์จะให้[[อาร์กดยุกสเตฟานแห่งออสเตรีย]] พระโอรสของพระองค์ขึ้นครองบัลลังก์โรมาเนียแทนกษัตริย์มีไฮที่ 1 ด้วยเหตุนี้เจ้าหญิงทั้งสองจึงได้ฉายาว่า "สมเด็จอาฝ่ายแดง" ของกษัตริย์มีไฮ<ref>Jean-Paul Besse, Ileana: l'archiduchesse voilée, Versailles, Via Romana, 2010, pp. 117–118.</ref>