ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โซนาร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 10:
[[ไฟล์:Fishfinder.jpg|thumb|400px|หน้าจอแสดงผลของเครื่องค้นหาปลาที่อาศัยคลื่นโซนาร์ในการระบุตำแหน่งปลา]]
โซนาร์อาจแบ่งออกไปได้เป็น 2 แบบตามลักษณะของการส่งคลื่นเสียง คือ
 
=== 1. โซนาร์แบบส่อง (Search-light type sonar) ===
มีลักษณะการส่งคลื่นเสียงออกไปเป็นมุมจำกัด นิยมใช้กันในเรือดำน้ำเพื่อค้นหาตำแหน่งของเรือผิวน้ำ และเรือดำน้ำของข้าศึก โดยใช้การดักรับเสียงเครื่องจักร ใบพัดเรือ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โซนาร์ประเภทนี้ต้องติดตั้งบริเวณหัวเรือ เพื่อให้ห่างจากเสียงใบจักรของตนเอง ซึ่งอาจเข้ามารบกวนได้
=== 2. โซนาร์แบบกราด (Scaning type sonar) ===
 
=== 2. โซนาร์แบบกราด (Scaning type sonar) ===
มีลักษณะการส่งคลื่นเสียงกระจายออกไปรอบตัวเป็นรูปวงแหวนด้วยกำลังเท่ากันทุกทิศ นิยมใช้กับเรือผิวน้ำ ส่วนมากจะใช้ในการประมง เช่น การหาฝูงปลาใต้ทะเล หรือสิ่งมีชีวิตในน่านน้ำนั้น เครื่องโซนาร์ชนิดนี้จะต้องติดไว้ที่ท้ายเรือ โดยการหย่อนตัวเครื่องส่งสัญญาณลงไปในน้ำ
 
== คลื่นเสียงโซนาร์ ==
คลื่นเสียงที่เครื่องโซนาร์ส่งออกมานั้น เป็นคลื่นเสียงที่แปลงมาจากสัญญาณไฟฟ้า สามารถทำได้โดยการเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า และเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้ากลับเป็นคลื่นเสียง โดยต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ทรานสดิวเซอร์ (transducer) มี 2 ประเภท คือ
 
=== 1. ทรานสดิวเซอร์ที่อาศัยการเกิดคลื่นแม่เหล็ก (Transducer magneto-striction) ===
เป็นทรานสดิวเซอร์ที่เหมาะสำหรับใช้ในงานวัดระยะ ประกอบด้วยหลอดนิกเกิลรูปทรงกระบอกจำนวนมากยึดติดไว้กับแผ่นไดอะแฟรมบาง ๆ หลอดนิกเกิลทุกหลอดจะมีขดลวดพันอยู่โดยรอบ เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก ซึ่งหลอดนิกเกิลจะเกิดการยืดหดสลับกัน ตามจังหวะสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งทำให้แผ่นไดอะแฟรมเคลื่อนไหว และจะทำให้เกิดเสียงขึ้น
 
=== 2. ทรานสดิวเซอร์ที่อาศัยผลึกแร่ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เมื่อได้รับแรงดัน (Transducer piezoelectric) ===
ทรานสดิวเซอร์แบบนี้เหมาะสำหรับใช้ในการเฝ้าฟังเสียง ประกอบด้วยผลึกของแร่จำนวนมากที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เมื่อได้รับแรงดัน ติดกับแผ่นไดอะแฟรม เมื่อมีไฟฟ้าผ่านเข้าผลึก จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนเป็นเสียงขึ้น แต่มีข้อเสียที่ไม่สามารถส่งคลื่นได้แรง และผลึกอาจแตกได้ ถ้าแรงดันไฟฟ้าที่ผ่านผลึกแรงเกินไป
 
[[ไฟล์:Humpback Whale underwater shot.jpg|thumb|400px|[[วาฬหลังค่อม]] หนึ่งในสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากเสียงรบกวนใต้ทะเล]]
 
== ผลกระทบของคลื่นโซนาร์ต่อสัตว์ทะเล ==
ปัจจุบันกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ได้สร้างคลื่นเสียงรบกวนใต้ทะเล ซึ่งเพิ่มระดับความดังขึ้นทุกที ไม่ว่าจะเสียงคำรามของเครื่องยนต์เรือเดินสมุทร การสำรวจแรงสั่นสะเทือนโดยบริษัทขุดเจาะน้ำมัน หรือคลื่นโซนาร์จากกองทัพเรือ กำลังคุกคามวิถีชีวิตสัตว์ทะเลอย่างรุนแรง โดยเฉพาะ[[วาฬ]] [[โลมา]] และ[[เต่าทะเล]] ซึ่งใช้คลื่นเสียงในการสื่อสาร หาอาหาร และจับคู่ผสมพันธุ์
 
สัตว์ทะเลที่ตื่นตกใจจากเสียงรบกวนอาจได้รับความทรมานจากอาการแบบที่เกิดกับนักดำน้ำเมื่อดำน้ำลึกแล้วรีบขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันพักปรับระดับความดันตามกำหนด อีกทั้งผลกระทบที่เกิดจากเรือที่มีจำนวนมากขึ้น และมีความเร็วสูงขึ้น ทำให้มีสัตว์ทะเลถูกเรือชนเพิ่มมากขึ้นด้วย เนื่องจากใต้น้ำเต็มไปด้วยเสียงรบกวน สัตว์ทะเลจึงไม่ได้ยินเสียงเรือที่กำลังแล่นมา
 
เส้น 36 ⟶ 41:
 
[[หมวดหมู่:โซนาร์| ]]
[[หมวดหมู่:การสงครามเรือดำน้ำ]]
[[หมวดหมู่:การสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ]]
[[หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของสหราชอาณาจักร]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โซนาร์"