ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อดอล์ฟ ฮิตเลอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการก่อกวน
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 288:
 
=== สงครามโลกครั้งที่สองปะทุ ===
ในการประชุมส่วนตัวใน ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์อธิบายว่าอังกฤษเป็นศัตรูหลักที่จำต้องถูกพิชิต ในมุมมองของเขา การลบล้างโปแลนด์จากการเป็นชาติมีอธิปไตยเป็นการโหมโรงที่จำเป็นสู่เป้าหมายนั้น ปีกตะวันออกจำต้องได้รับการทำให้ปลอดภัย และที่ดินจะถูกเพิ่มเข้าไปในเลเบินส์เราม์ของเยอรมนี{{sfn|Weinberg|1980|pp=579–581}} ฮิตเลอร์ต้องการให้โปแลนด์เป็นรัฐบริวารของเยอรมนีหรือมิฉะนั้นก็ถูกทำให้เป็นกลางเพื่อให้ปีกทางตะวันออกของไรช์ปลอดภัย และเพื่อป้องกันการปิดล้อมของอังกฤษที่เป็นไปได้{{sfn|Messerschmidt|1990|pp=688–690}} แต่เดิม ฮิตเลอร์ชอบแนวคิดรัฐบริวาร ซึ่งถูกปฏิเสธโดยรัฐบาลโปแลนด์ ดังนั้น ฮิตเลอร์จึงตัดสินใจบุกครองโปแลนด์ ซึ่งเขาถือว่าเป็นเป้าหมายนโยบายต่างประเทศหลักของเยอรมนีใน ค.ศ. 1939{{sfn|Weinberg|1980|pp=537–539, 557–560}} ฮิตเลอร์ถูกขัดใจที่อังกฤษ "รับประกัน" เอกราชของโปแลนด์ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1939 และบอกแก่เพื่อนร่วมงานเขาว่า "ฉันจะบ่มเครื่องดื่มปิศาจให้พวกมัน"{{sfn|Maiolo|1998|p=178}} ในสุนทรพจน์ในวิลเฮล์มชาเวนเพื่อปล่อย[[เรือประจัญบานเทียร์พิตซ์เทียร์พิทซ์]]ลงน้ำเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ขู่จะบอกเลิกความตกลงนาวีอังกฤษ-เยอรมันเป็นครั้งแรก หากอังกฤษยืนกรานการรับประกันเอกราชของโปแลนด์ ซึ่งเขามองว่าเป็นนโยบาย "ตีวงล้อม"{{sfn|Maiolo|1998|p=178}} วันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์สั่งการให้ฝ่ายทหารเตรียมการสำหรับฟัลไวสส์ (Fall Weiss, "กรณีขาว") แผนการสำหรับการบุกครองของเยอรมนีในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1939{{sfn|Weinberg|1980|pp=537–539, 557–560}} ในสุนทรพจน์ต่อไรชส์ทาคเมื่อวันที่ 28 เมษายน ฮิตเลอร์บอกเลิกทั้งความตกลงนาวิกอังกฤษ-เยอรมันและ[[สนธิสัญญาไม่รุกรานเยอรมนี-เยอรมนี–โปแลนด์]] ฮิตเลอร์กล่าวแก่นายพลของเขาว่าแผนการดั้งเดิมของเขาใน ค.ศ. 1939 คือ "... จัดตั้งความสัมพันธ์ที่ยอมรับได้กับโปแลนด์เพื่อต่อสู้กับตะวันตก" เนื่องจากโปแลนด์ปฏิเสธจะเป็นบริวารของเยอรมนี ฮิตเลอร์จึงเชื่อว่าทางเลือกเดียวของเขาคือการบุกครองโปแลนด์{{sfn|Weinberg|1980|p=558}}
 
นักประวัติศาสตร์ เช่น วิลเลียม คาร์, แกร์ฮาร์ด ไวน์แบร์ก และเอียน เคอร์ชอว์ เสนอว่า สาเหตุหนึ่งที่ฮิตเลอร์เร่งทำสงคราม เพราะความกลัวผิดปกติและหมกมุ่นของเขาว่าจะตายก่อนวัยอันควร และดังนั้น จึงมีความรู้สึกว่า เขาอาจไม่มีชีวิตอยู่จนสำเร็จงานของเขาก็ได้{{sfn|Carr|1972|pp=76–77}}{{sfn|Kershaw|2000b|pp=36–37, 92}}{{sfn|Weinberg|1955}}
บรรทัด 294:
ฮิตเลอร์เดิมกังวลว่าการโจมตีทางทหารต่อโปแลนด์อาจส่งผลให้เกิดสงครามกับอังกฤษก่อนเวลาอันควร{{sfn|Messerschmidt|1990|pp=688–690}}{{sfn|Robertson|1985|p=212}} อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีต่างประเทศของฮิตเลอร์ และอดีตเอกอัครราชทูตประจำกรุงลอนดอน [[โยอาคิม ฟ็อน ริบเบินทร็อพ]] ยืนยันแก่เขาว่าทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสจะไม่เคารพการผูกมัดของพวกตนต่อโปแลนด์ และสงครามเยอรมนี-โปแลนด์จะเป็นเพียงสงครามในภูมิภาคจำกัด{{sfn|Bloch|1992|p=228}}{{sfn|Overy|1989|p=56}} ริบเบินทร็อพอ้างว่าในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1938 รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส ฌอร์ฌ บอแน (Georges Bonnet) ได้แถลงว่า ฝรั่งเศสมองว่ายุโรปตะวันออกเป็นเขตอิทธิพลจำเพาะของเยอรมนี{{sfn|Bloch|1992|pp=210, 228}} ริบเบินทร็อพได้แสดงโทรเลขภายใน (diplomatic cable) แก่ฮิตเลอร์ซึ่งสนับสนุนการวิเคราะห์ของเขา{{sfn|Craig|1983}} เอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำกรุงลอนดอน แฮร์แบร์ท ฟอน ดีร์คเซน สนับสนุนการวิเคราะห์ของริบเบินทร็อพด้วยการเดินหนังสือในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 โดยรายงานว่าเชมเบอร์เลนทราบ "โครงสร้างสังคมของอังกฤษ กระทั่งกรอบความคิดของจักรวรรดิอังกฤษ ว่าจะไม่รอดพ้นความยุ่งเหยิงของสงครามแม้จะชนะก็ตาม" และดังนั้นจึงจะยอมอ่อนตาม{{sfn|Overy|1989|p=56}} เมื่อเป็นเช่นนั้น วันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์จึงสั่งระดมพลทางทหารต่อโปแลนด์{{sfn|Overy, ''The Third Reich''|1999|p= }}
 
แผนการสำหรับการทัพทางทหารในโปแลนด์ของฮิตเลอร์เมื่อปลายเดือนสิงหาคมหรือต้นเดือนกันยายนนั้นต้องอาศัยการสนับสนุนโดยปริยายของโซเวียต{{sfn|Robertson|1963|pp=181–187}} สนธิสัญญาไม่รุกราน ([[สนธิสัญญากติกาสัญญาโมโลตอฟ-โลตอฟ–ริบเบินทร็อพ]]) ระหว่างเยอรมนีกับ[[สหภาพโซเวียต]] ภายใต้การนำของ[[โจเซฟ สตาลิน]] รวมภาคผนวกลับด้วยความตกลงแบ่งโปแลนด์ระหว่างสองประเทศ ในการสนองต่อสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบินทร็อพ อังกฤษและโปแลนด์ลงนามใน[[พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์]]เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1939 ซึ่งขัดกับที่ริบเบินทร็อพพยากรณ์ไว้ว่าสนธิสัญญาที่เพิ่งก่อตั้งนี้จะตัดความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษ-โปแลนด์ พันธมิตรนี้ ร่วมกับข่าวจาก[[อิตาลี]]ที่ว่ามุสโสลินีจะไม่เคารพ[[สนธิสัญญาเหล็ก]] ทำให้ฮิตเลอร์เลื่อนการโจมตีโปแลนด์ออกไปจากวันที่ 25 สิงหาคม ไปเป็น 1 กันยายน{{sfn|Bloch|1992|pp=252–253}} ไม่กี่วันก่อนสงครามเริ่มต้น ฮิตเลอร์พยายามออกอุบายให้อังกฤษวางตัวเป็นกลางโดยเสนอการรับประกันไม่รุกรานต่อ[[จักรวรรดิอังกฤษ]]เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม และโดยให้ริบเบินทร็อพเสนอแผนสันติภาพนาทีสุดท้ายด้วยจำกัดเวลาสั้นอย่างเป็นไปไม่ได้ในความพยายามที่จะกล่าวโทษว่าสงครามเป็นผลจากความเฉื่อยชาของอังกฤษและโปแลนด์{{sfn|Weinberg|1995|pp=85–94}}{{sfn|Bloch|1992|pp=255–257}}
 
เพื่อใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการบุกครองทางทหารต่อโปแลนด์ ฮิตเลอร์จึงอ้างสิทธิเหนือนครเสรีดันท์ซิชและสิทธิในถนนนอกอาณาเขตข้ามฉนวนโปแลนด์ ซึ่งเยอรมนีได้ยกให้ภายใต้สนธิสัญญาแวร์ซาย{{sfn|Weinberg|1980|pp=561–562, 583–584}} แม้ความกังวลของฮิตเลอร์ว่าอังกฤษอาจเข้าแทรกแซง ท้ายที่สุด เขาไม่ได้ยุติเป้าหมายในอันที่จะบุกครองโปแลนด์{{sfn|Messerschmidt|1990|p=714}} และวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เยอรมนีก็ได้[[การบุกครองโปแลนด์|บุกครองโปแลนด์ทางตะวันตก]] อังกฤษและฝรั่งเศสสนองโดยประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ซึ่งได้สร้างความประหลาดใจแก่ฮิตเลอร์ ทำให้เขาหันไปหาริบเบินทร็อพและถามเขาอย่างโกรธ ๆ ว่า "ไงล่ะทีนี้"{{sfn|Bloch|1992|p=260}} ฝรั่งเศสและอังกฤษมิได้ปฏิบัติตามการประกาศของตนในทันที และเมื่อวันที่ 17 กันยายน กองทัพโซเวียตบุกครองโปแลนด์จากทางตะวันออก{{sfn|Hakim|1995}}