ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 20:
ธุรกิจของบริษัทคือการให้บริการทางพิเศษและระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้า รวมถึงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบทางพิเศษ และรถไฟฟ้า<ref name="รายงานประจำปี 2560">[http://www.set.or.th/dat/annual//A1303T17.zip รายงานประจำปี 2560]</ref> แบ่งออกเป็น 4 ธุรกิจหลัก
# ธุรกิจทางพิเศษ บริษัทและบริษัทย่อย คือ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด เป็นผู้รับสัมปทานในการก่อสร้างและ บริหารทางพิเศษประกอบด้วย [[ทางพิเศษศรีรัช]], [[ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร]] และ[[ทางพิเศษอุดรรัถยา]]
# ธุรกิจระบบราง เป็นผู้รับสัมปทานการให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ประกอบด้วยรถในโครงการ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล|โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล]] ([[สถานีหัวลำโพงหลักสอง]]-[[สถานีบางซื่อ]]) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (ช่วง[[สถานีหัวลำโพง|หัวลำโพงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]]-[[สถานีหลักสอง|หลักสอง]] และช่วงบางซื่อ-[[สถานีท่าพระ|ท่าพระ]]) จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และเป็นผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าอีกสองโครงการ คือ โครงการ[[รถไฟฟ้าสายสีม่วงมหานคร บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะสายฉลองรัชธรรม]] ช่วงบางใหญ่-เตาปูน ([[สถานีคลองบางไผ่]]-[[สถานีเตาปูน]]) จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), โครงการ[[รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน]] และ[[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] จาก บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด
# ธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์ บริษัทและบริษัทย่อย คือ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (BMN) เป็นผู้ดำเนินธุรกิจพัฒนาเชิง พาณิชย์ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ดำเนินการจัดหาหรือทำสื่อโฆษณาบริเวณรถไฟฟ้า รวมถึงให้เช่าพื้นที่ร้านค้าและให้บริการและดูแลรักษาอุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมภายในสถานีรถไฟฟ้า
# การลงทุนในบริษัทอื่น บริษัทลงทุนในธุรกิจสาธารณูปโภค ได้แก่ บริษัท [[ซีเค พาวเวอร์]] จำกัด (มหาชน), บริษัท [[ทีทีดับบลิว]] จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด และธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานทางระบบราง ได้แก่ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร