ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปทุมเทวาภิบาล (ราชบุตร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {| class="wikitable" | |'''บทความนี้ต้องการการจัดหน้า...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:26, 23 ธันวาคม 2562

บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง

พระปทุมเทวาภิบาล (ราชบุตร) เจ้าเมืองหนองคายคนที่ ๒สืบตำแหน่งต่อจาก พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) เจ้าเมืองหนองคายคนแรก

ประวัติ

พระปทุมเทวาภิบาล (ราชบุตร) เจ้าเมืองหนองคายคนที่ ๒ ไม่ปรากฏนามเดิม เคยรับราชการเป็นกรมการเมืองยโสธร ในใบบอกเรียกว่า เจ้าราชบุตรบ้านสิงโคก ได้ตามพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) ทำราชการ ณ เมืองหนองคาย โดยได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น อุปฮาดเมืองหนองคาย

ในปี พ.ศ. ๒๓๙๕ พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) เจ้าเมืองหนองคาย ถึงแก่อนิจกรรม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๙๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระอุปฮาด ดำรงตำแหน่งเป็น พระปทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคายคนที่ ๒

ในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทร์ ระบุว่า พระอุปฮาด (ราชบุตรเมืองสิงโคก) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองหนองคาย เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ จุลศักราช ๑๒๑๖ ตรงกับปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ ความว่า

"...ศักราชได้ ๑๒๑๔ ตัว ปีเต้าไจ้ เดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำ วันอาทิตย์ มื้อฮวยเส็ด ยามกองงาย เจ้าสุวอรวงศา ผู้เป็นพระปทุมเทวาเจ้าเมืองหนองคายนิพพาน มื้อนั้นแล

ศักราชได้ ๑๒๑๕ ตัว ปีกาเป้า เดือน ๓ แรม ๔ ค่ำ วันพฤหัสบดี จึงให้เผาศพเจ้าเมืองแล

ศักราชได้ ๑๒๑๖ ปีกาบยี เดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำ วันอังคาร เจ้าราชบุตรบ้านสิงโคก ผู้เป็นอุปราชฮาด ขึ้นนั่งเมืองหนองคาย มื้อนั้น..."


ถึงแก่อนิจกรรม

พระปทุมเทวาภิบาล (ราชบุตร) เป็นเจ้าเมืองหนองคาย อยู่ ๓ ปี ได้ถึงแก่อนิจกรรมในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๐๐ ตามข้อความในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทร์ ความว่า

"...ศักราชได้ ๑๒๑๙ ตัว ปีมะเส็ง นพศก เดือน ๑๐ แรม ๗ ค่ำ เจ้าราชบุตรบ้านสิงโคกผู้เป็นพระปทุมเทวาธิบาลเจ้าเมืองหนองคายนิพพาน มื้อนั้นแล..."[1]

  1. [1]พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์, ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ โรงพิมพ์พระจันทร์ พ.ศ.2484